รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

2.2 ระดับความสำเร็จในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่กรุงเทพมหานคร : 2300-853

ค่าเป้าหมาย ระดับความสำเร็จ : 5

ผลงานที่ทำได้ ระดับความสำเร็จ : 5

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ระดับความสำเร็จ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
100
100 / 100
2
0.00
0
0 / 0
3
0.00
0
0 / 0
4
5.00
100
0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

การดำเนินการตามตัวชี้วัด ระดับความสำเร็จในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จะต้องมีการดำเนินงานตามเกณฑ์ครบทั้ง ๓ องค์ประกอบย่อย ๑. มีการสนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว จำนวน ๘ ครั้ง (อย่างน้อยกลุ่มเขตละ ๑ ครั้ง) ๒. มีจำนวนแหล่งท่องเที่ยว ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และผลิตภัณฑ์ประจำท้องถิ่นที่นำมาแสดง และจำหน่ายในแต่ละกลุ่มเขต จำนวนอย่างน้อย ๗๐ รายการ ๓. มีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมแต่ละครั้งไม่น้อยกว่า ๕๐๐ คน และมีการจัดเก็บข้อมูลรายได้ของภาคเอกชน และหน่วยงานราชการที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยมีกิจกรรมสนับสนุนตัวชี้วัดนี้ จำนวน 1 กิจกรรม คือ กิจกรรมสนับสนุนการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 1 (ตุลาคม 2563 – ธันวาคม 2563) 1. ประสานรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับกองนโยบายและแผนงาน สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว เพื่อเป็นแนวทางในการขออนุมัติดำเนินการโครงการ/กิจกรรม 2. ดำเนินการขออนุมัติกิจกรรม/โครงการต่อผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว 3. ประสานประธานกลุ่มการปฏิบัติงานของทั้ง ๖ กลุ่มเขต ขอให้ส่งข้อมูลการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่ เพื่อจะได้เตรียมการจัดทำแผนการส่งเสริมการท่องเที่ยว 4. กำหนดจัดกิจกรรมประชุมเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 14 มกราคม 2564 ณ โรงแรมปริ๊นพาเลซ มหานาค กรุงเทพมหานคร

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัดนี้คือกิจกรรมสนับสนุนการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 2 (1 ต.ค. 2563 – 31 มี.ค. 2564) ๑. หัวหน้าหน่วยงานอนุมัติกิจกรรมสนับสนุนการส่งเสริมการท่องเที่ยวฯ ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ๒. ประสานประธานกลุ่มการปฏิบัติงานของ ๖ กลุ่มเขต เพื่อให้แนวทางและจัดส่งข้อมูล/แผนการจัดกิจกรรมด้าน การท่องเที่ยวในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ๓. ดำเนินการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ต่าง ๆ โดยคัดเลือกจากกิจกรรมของสำนักงานเขตที่น่าสนใจ และสามารถตอบสนองตัวชี้วัดได้ โดยมีรายละเอียดการจัดงานที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจในระดับฐานราก ส่งเสริม สืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่หน่วยงานสามารถเข้าร่วมให้การสนับสนุนส่งเสริมการจัดกิจกรรมนั้น ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางเว็บไซต์หรือสื่อสังคมออนไลน์ของหน่วยงาน การสนับสนุนการจัดนิทรรศการการท่องเที่ยวหรือชุดการแสดงดนตรีและศิลปวัฒนธรรมภายในงาน ๔. ดำเนินการขออุทธรณ์การปฏิบัติราชการของหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564โดยมีรายละเอียดการขออุทธรณ์ตัวชี้วัด ได้แก่ ๑) คงตัวชี้วัดเดิม ๒) ปรับค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด ๓) ปรับวิธีการคำนวณและวิธีเก็บข้อมูล/หลักฐาน และ ๔) กำหนดเกณฑ์การให้คะแนนหรือผลคะแนนและผลการดำเนินการของตัวชี้วัดใหม่ โดยวัดจากจำนวนแหล่งท่องเที่ยว จำนวนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ (ครั้ง) และจำนวนผู้เข้าชม (จำนวนการกด Like)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 3 (1 ต.ค. 2563 –30 มิ.ย. 2564) 1. หัวหน้าหน่วยงานอนุมัติกิจกรรมสนับสนุนการส่งเสริมการท่องเที่ยวฯ ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ๒. ประสานประธานกลุ่มการปฏิบัติงานของ ๖ กลุ่มเขต เพื่อให้แนวทางและจัดส่งข้อมูล/แผนการจัดกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ๓. สำนักงานเขตทั้ง 6 กลุ่มเขต ได้จัดส่งแผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มาให้แล้ว 4. ดำเนินการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ต่าง ๆ โดยคัดเลือกจากกิจกรรมของสำนักงานเขตที่น่าสนใจ และสามารถตอบสนองตัวชี้วัดได้ โดยมีรายละเอียดการจัดงานที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจในระดับฐานราก ส่งเสริม สืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่หน่วยงานสามารถเข้าร่วมให้การสนับสนุนส่งเสริมการจัดกิจกรรมนั้น ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางเว็บไซต์หรือสื่อสังคมออนไลน์ของหน่วยงาน การสนับสนุนการจัดนิทรรศการการท่องเที่ยวหรือชุดการแสดงดนตรีและศิลปวัฒนธรรมภายในงาน 5.. การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ ส่งผลให้สำนักงานเขตชะลอการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวตามแผนฯ ทั้งนี้ สำนักงาน ก.ก. ให้หน่วยงานส่งคำขออุทธรณ์การปฏิบัติราชการของหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร รอบที่ 1 และสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวได้ขออุทธรณ์การปรับเกณฑ์การให้คะแนน และวิธีการคำนวณในรูปแบบที่สามารถดำเนินการเองได้ โดยมีรายละเอียดการขออุทธรณ์ตัวชี้วัด ได้แก่ ๑) คงตัวชี้วัดเดิม ๒) ปรับค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด ๓) ปรับวิธีการคำนวณและวิธีเก็บข้อมูล/หลักฐาน และ ๔) กำหนดเกณฑ์การให้คะแนนหรือผลคะแนนและผลการดำเนินการของตัวชี้วัดใหม่ โดยวัดจากจำนวนแหล่งท่องเที่ยว จำนวนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และจำนวนผู้เข้าชม 6. คณะกรรมการฯ พิจารณายกอุทธรณ์ โดยให้ดำเนินการตัวชี้วัดเดิม เนื่องจากเห็นว่ารัฐบาลเริ่มมีการผ่อนคลายให้สามารถจัดกิจกรรมได้ ทั้งนี้การพิจารณาเกิดขึ้นก่อนการระบาดระลอกล่าสุดที่ระบาดอย่างรุนแรง ขณะนี้จึงดำเนินการตามรายละเอียดที่ขออุทธรณ์ไว้ไปพลาง เพื่อจะได้นำเสนอประกอบกับการขออุทธรณ์ตัวชี้วัดอีกครั้งในรอบที่ 2 เดือนกรกฎาคม 2564 7. เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างต่อเนื่อง สำนักงานเขตจึงไม่สามารถจัดกิจกรรมฯได้ ขณะนี้จึงได้ดำเนินการตามรายละเอียดที่ขออุทธรณ์ไว้ไปพลาง ก่อนเพื่อจะได้นำเสนอประกอบกับการขออุทธรณ์ตัวชี้วัดอีกครั้งในรอบที่ 2 เดือนกรกฎาคม 2564 8. จัดทำรายละเอียดเพื่อเตรียมยื่นขออุทธรณ์รอบที่ 2 เดือนกรกฎาคม 2564 โดยคงตัวชี้วัดเดิม แต่ปรับรูปแบบการดำเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นการจัดทำข้อมูลเพื่อประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ โดยการจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยว แนะนำแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและน่าสนใจ ผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยว ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยขอปรับลดค่าเป้าหมาย วิธีการคำนวณ และขอปรับเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้ - มีการจัดทำข้อมูลส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อแนะนำเส้นทางการท่องเที่ยวในรูปแบบออนไลน์ โดยเผยแพร่ผ่านทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ Bangkok Tourism Division ภายในพื้นที่ ๖ กลุ่มเขต จำนวนอย่างน้อย 6 เส้นทาง คิดเป็นร้อยละ ๕๐ - นับจำนวนแหล่งท่องเที่ยว ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ผลิตภัณฑ์ประจำชุมชน จำนวนอย่างน้อย 60 รายการ (เส้นทางละ ๑๐ รายการ) คิดเป็นร้อยละ ๓๐ - มีจำนวนผู้เข้าถึงโพสต์ที่ทำการเผยแพร่ผ่านทางเฟซบุ๊ก แฟนเพจฯ ไม่น้อยกว่า ๓๐๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๐

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 4 (ต.ค.2563-ก.ย.2564) สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว จัดทำข้อมูลเส้นทางการท่องเที่ยวในรูปแบบออนไลน์ โดยเผยแพร่ผ่านทางเฟซบุ๊คแฟนเพจ Bangkok Tourism Division ได้ตามเกณฑ์ครบทั้ง 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) จัดทำข้อมูลเส้นทางการท่องเที่ยวในรูปแบบออนไลน์ โดยเผยแพร่ผ่านทางเฟซบุ๊คแฟนเพจ Bangkok Tourism Division ภายในพื้นที่ 6 กลุ่มเขต จำนวน 8 เส้นทาง 2) มีจำนวนแหล่งท่องเที่ยว ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ผลิตภัณฑ์ประจำชุมชน จำนวน 70 รายการ 3) มีจำนวนผู้เข้าถึงโพสต์ที่ทำการเผยแพร่ผ่านทางเฟซบุ๊ก แฟนเพจฯ 6,844 คน - ดำเนินการได้ครบถ้วนทั้ง 3 องค์ประกอบ ตามที่ได้ขอ อุทธรณ์ฯ คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีรายละเอียดครบทั้ง 3 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1. เส้นทางการท่องเที่ยวกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง (จำนวน 3 เส้นทาง) 1) “เที่ยววัด เรียนรู้พิพิธภัณฑ์/ภูมิปัญญาโบราณ ชิมของอร่อยในย่านพระนคร พายเรือชมคลอง ครบจบวันเดียว!” เผยแพร่เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 มีผู้เข้าถึงโพสต์ 623 คน ประกอบด้วย - วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร - คุณแดงก๋วยจั๊บญวน - KARIM ROTI MATABA - วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร - โลหะปราสาท (วัดราชนัดดารามวรวิหาร) - กลุ่มอนุรักษ์บาตรไทยและ ภูมิปัญญา - วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร - ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ป้าเพียร - คลองโอ่งอ่าง 2) เดินเที่ยวย่านทรงวาด ชมตึกเก่าอายุ 100 ปี เผยแพร่เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2564 - ร้านเอฟวี - ศาลเจ้าเล่าปูนเถ้ากง - มัสยิดหลวงโกชา อิศหาก - ร้านก๋วยเตี๋ยวเนื้อทรงวาด - ร้านซุ้ยล้ง (จำหน่ายถังไม้) - พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกทม. เขตสัมพันธวงศ์ 3) เส้นทางเขตดุสิต เผยแพร่เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2564 - วัดเทวราชกุญชร - วัดราชาธิวาส - บ้านอาจารย์ศิลป์ พีระศรี - วัดโบสถ์ (สามเสน) - Cafe de Bombay (ผลิตภัณฑ์Bangkok brand) - ร้านขนมครก เข้าวัง - ร้านหอยทอดอยู่ในตลาดราชวัตร 4) เส้นทางการท่องเที่ยวกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ “ชวนไปดู 6 วัดสวยฝั่งธนฯ เดิน เที่ยวกิน” เผยแพร่เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 มีผู้เข้าถึงโพสต์ 966 คน ประกอบด้วย - วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร - ขันลงหิน ชุมชนบ้านบุ - โรงรถจักรธนบุรี - สายไหม บะหมี่เกี๊ยวกุ้ง - N10 Café - วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร - วัดนาคกลางวรวิหาร - วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร - วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร - วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร 5) เส้นทางการท่องเที่ยวกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก “ใกล้ที่นั่น เที่ยวที่นั่น 10 จุดเช็คอินย่านกรุงเทพตะวันออก”เผยแพร่เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2564 มีผู้เข้าถึงโพสต์ 1,193 คน ประกอบด้วย - มัสยิดยามีอุ้ลอิบาดะห์ (สุเหร่าทางควาย) - วัดกระทุ่มเสือปลา - ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง - ร้านอาหาร EatFit - วัดลานบุญ - วัดลาดกระบัง - วัดสุทธาโภชน์ - พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพฯ เขตลาดกระบัง - ตลาดเก่าริมน้ำหัวตะเข้ - ร้านกลิ่นฝัน smell dream 6) เส้นทางการท่องเที่ยวกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ “Pray & Picture One Day Trip” เผยแพร่เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2564 มีผู้เข้าถึงโพสต์ 1,013 คน ประกอบด้วย - วัดยานนาวา - ศาลเจ้าเจียวเองเบี้ยว - วัดสวนพลู - โจ๊กปริ๊นซ์ บางรัก - อาสนวิหารอัสสัมชัญ - อาคารไปรษณีย์กลางบางรัก - Street art เจริญกรุง - เฮยจีบางกอก - พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก - ห้องสมุดเนียลสัน เฮย์ส 7) กลุ่มเขตกรุงธนใต้ “ชวนชาวราษฎร์บูรณะ – ทุ่งครุ เที่ยวใกล้บ้าน ไม่ต้องไปไหนไกล” เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2564 มีผู้เข้าถึงโพสต์ 1,637 คน ประกอบด้วย - ร้านเจ๊ณี เกาเหลาเลือดหมู - ร้าน Bake A Wish - วัดราษฎร์บูรณะ - วัดประเสริฐสุทธาวาส - พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพฯ เขตราษฎร์บูรณะ - ร้านเกาเหลาเนื้อตุ๋น ตรงข้ามวัดประเสริฐ - วัดสน - วัดพุทธบูชา - ร้าน The M Cafe - ตลาดมดตะนอย 8) เส้นทางการท่องเที่ยวกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ “เที่ยว 4 พิพิธภัณฑ์ในวันเดียว! แวะไหว้พระ/ จิบกาแฟ” เผยแพร่เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2564 มีผู้เข้าถึงโพสต์ 860 คน ประกอบด้วย - พิพิธภัณฑ์ศาลไทยและหอจดหมายเหตุ - พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย - พิพิธภัณฑ์ดิน กรมพัฒนาที่ดิน - ร้านอาหารครัวสา รสจัด - ตำหนักพระแม่กวนอิม โชคชัย 4 - คาเฟ่ Slole Café & Garden - วัดสิริกมลาวาส - บ้านบางเขน - พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ - คาเฟ่ As Soon As Possible

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว หมายถึง การสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่มีการประชาสัมพันธ์หรือจัดแสดงข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประจำท้องถิ่นในพื้นที่เขตให้แก่ประชาชนทั่วไป

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

๑. มีการสนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างน้อย ๘ ครั้ง (อย่างน้อยกลุ่มเขตละ ๑ ครั้ง) คิดเป็นร้อยละ ๕๐ ๒. นับจำนวนแหล่งท่องเที่ยว ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และผลิตภัณฑ์ประจำท้องถิ่นที่นำมาแสดงและจำหน่ายในแต่ละครั้ง ไม่น้อยกว่า ๗๐ รายการ คิดเป็นร้อยละ ๒๕ ๓. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละครั้งไม่น้อยกว่า ๕๐๐ คนและมีการจัดเก็บข้อมูลรายได้ของภาคเอกชน และหน่วยงานราชการ ที่เข้าร่วมกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ ๒๕ วิธีเก็บข้อมูล/หลักฐาน ๑. เอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการประสานงานเพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวกับกลุ่มเขต หรือสำนักงานเขต รวมถึงหน่วยงานและ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ๒. ภาพถ่ายการจัดกิจกรรม และภาพถ่ายแหล่งท่องเที่ยว ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือผลิตภัณฑ์ประจำท้องถิ่นที่นำมาจัดกิจกรรรม ๓. บัญชีรายชื่อแหล่งท่องเที่ยว ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือผลิตภัณฑ์ประจำท้องถิ่นที่นำมาจัดกิจกรรม ๔. รายงานข้อมูลรายได้ของภาคเอกชนและหน่วยงานราชการที่เข้าร่วมกิจกรรมฯ ระดับความสำเร็จ ๕ / ร้อยละ ๑๐๐ / คะแนน ๑๐ คะแนน มีการดำเนินงานตามเกณฑ์ครบทั้ง ๓ องค์ประกอบย่อย ได้แก่ ๑. มีการสนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว จำนวน ๘ ครั้ง (อย่างน้อยกลุ่มเขตละ ๑ ครั้ง) ๒. มีจำนวนแหล่งท่องเที่ยว ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และผลิตภัณฑ์ประจำท้องถิ่นที่นำมาแสดง และจำหน่ายในแต่ละกลุ่มเขต จำนวนอย่างน้อย ๗๐ รายการ ๓. มีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมแต่ละครั้งไม่น้อยกว่า ๕๐๐ คน และมีการจัดเก็บข้อมูลรายได้ของภาคเอกชน และหน่วยงานราชการที่เข้าร่วมกิจกรรม - ระดับความสำเร็จ ๔ / ร้อยละ ๙๐ / คะแนนที่ได้รับ ๙ คะแนน มีการดำเนินงานตามเกณฑ์ครบทั้ง ๓ องค์ประกอบย่อย ได้แก่ ๑. มีการสนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว จำนวน ๗ ครั้ง (อย่างน้อยกลุ่มเขตละ ๑ ครั้ง) ๒. มีจำนวนแหล่งท่องเที่ยว ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และผลิตภัณฑ์ประจำท้องถิ่นที่นำมาแสดง และจำหน่ายในแต่ละกลุ่มเขต จำนวนอย่างน้อย ๖๓ – ๖๙ รายการ ๓. มีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมแต่ละครั้งไม่น้อยกว่า ๔๕๐ – ๔๙๙ คน และมีการจัดเก็บข้อมูลรายได้ของภาคเอกชน และหน่วยงานราชการที่เข้าร่วมกิจกรรม - ระดับความสำเร็จ ๓ / ร้อยละ ๘๐ / คะแนนที่ได้รับ ๘ คะแนน มีการดำเนินงานตามเกณฑ์ครบทั้ง ๓ องค์ประกอบย่อย ได้แก่ ๑. มีการสนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว จำนวน ๖ ครั้ง (อย่างน้อยกลุ่มเขตละ ๑ ครั้ง) ๒. มีจำนวนแหล่งท่องเที่ยว ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และผลิตภัณฑ์ประจำท้องถิ่นที่นำมาแสดง และจำหน่ายในแต่ละกลุ่มเขต จำนวนอย่างน้อย ๕๖ – ๖๒ รายการ ๓. มีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมแต่ละครั้งไม่น้อยกว่า ๔๐๐ – ๔๔๙ คน และมีการจัดเก็บข้อมูลรายได้ของภาคเอกชน และหน่วยงานราชการที่เข้าร่วมกิจกรรม - ระดับความสำเร็จ ๒ / ร้อยละ ๗๐ / คะแนนที่ได้รับ ๗ คะแนน มีการดำเนินงานตามเกณฑ์ครบทั้ง ๓ องค์ประกอบย่อย ได้แก่ ๑. มีการสนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว จำนวน ๕ ครั้ง (อย่างน้อย ๕ กลุ่มเขตละ ๑ ครั้ง) ๒. มีจำนวนแหล่งท่องเที่ยว ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และผลิตภัณฑ์ประจำท้องถิ่นที่นำมาแสดง และจำหน่ายในแต่ละกลุ่มเขต จำนวนอย่างน้อย ๔๙ – ๕๕ รายการ ๓. มีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมแต่ละครั้งไม่น้อยกว่า ๓๕๐ – ๓๙๙ คน และมีการจัดเก็บข้อมูลรายได้ของภาคเอกชน และหน่วยงานราชการที่เข้าร่วมกิจกรรม - ระดับความสำเร็จ ๑ / ร้อยละ ๖๐ / คะแนนที่ได้รับ ๖ คะแนน กำหนดพื้นที่และจัดทำแผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

เก็บข้อมูลจากกิจกรรมสนับสนุนการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๖ – มหานครแห่งเศรษฐกิจและการเรียนรู้ : Bangkok as an Economic and Learning Centre
:๖.๒ - เมืองแห่งนักท่องเที่ยวระดับโลก
:๖.๒.๑ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่น่าท่องเที่ยวระดับโลก%
:๖.๒.๑.๖ การส่งเสริมประชาสัมพันธ์องค์กร (Corporate Branding) และการส่งเสริม

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง