รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ระดับความสำเร็จในการเสนอนวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน : 2300-864

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 95

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
95
95 / 100
2
50.00
0
0 / 0
3
60.00
0
0 / 0
4
100.00
95
0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่ระหว่างดำเนินการดังนี้ 1. มอบหมายให้ทุกส่วนราชการจัดทำความคิดเห็นในการพัฒนา/ปรับปรุงการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงานตามแบบฟอร์ม 1 2. อยู่ระหว่างเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการและคณะทำงานพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

1. ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการและคณะทำงานพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ตามคำสั่งสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวที่ 380/2563 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2563 2. จัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการและคณะทำงานพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2564 เวลา 13.00 น.ณ ห้องประชุมชั้น 8 อาคารธานีนพรัตน์ โดยที่ประชุมคัดเลือกความคิดเห็นตามแบบฟอร์มที่ 1 จำนวน 22 ชุด มีมติเลือกนวัตกรรมการจัดทำบรรณนิทัศน์ออนไลน์ของส่วนห้องสมุดและการเรียนรู้ 3. แต่งตั้งคณะทำงานโครงการบรรณนิทัศน์ออนไลน์ ฯ ตามคำสั่งสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ที่ 38/2564 ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูล และจัดทำบรรณนิทัศน์ออนไลน์ 4. ส่งโครงการนวัตกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงานของสำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 "โครงการบรรณนิทัศน์ออนไลน์" เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2564 โดยดำเนินการเพิ่มตัวชี้วัดโครงการบรรณนิทัศน์ออนไลน์ ให้เป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของโครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 5 จัดประชุมคณะทำงานโครงการบรรณิทัศน์ออนไลน์ จำนวน 2 ครั้ง - ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 และครั้งที่ 2/2564 ที่ประชุม ได้มีมติให้จัดตั้งกลุ่มไลน์ย่อยเพิ่มจำนวน 7 กลุ่ม (1 กลุ่ม จะประกอบไปด้วยห้องสมุดจำนวน 5 – 6 ห้อง) เพื่อกำกับดูแล ตอบข้อซักถาม และตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนตามต้นแบบของบรรณนิทัศน์ออนไลน์ที่กำหนด และจัดเตรียมขั้นตอนและเนื้อหาประกอบการอบรมโครงการบรรณนิทัศออนไลน์ - ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2564 ที่ประชุมได้มีมติให้ดำเนินการรวมถึงติดตามการดำเนินงาน ดังนี้ - กำหนดวันแสดงผลบรรณนิทัศน์ออนไลน์บนเว็บไซต์ส่วนกลาง โดยเริ่มในเดือนพฤษภาคมทุกวันพฤหัสบดี และวันศุกร์ วันแรกที่แสดงผลบนเว็บไซต์ส่วนกลาง คือ วันพฤหัสบดีที่ 6 เดือนพฤษภาคม 2564 โดยทำต่อเนื่องตลอดปีงบประมาณ มีบรรณนิทัศน์จำนวน 360 เรื่อง - การติดตามงาน ทำการติดตามงานผ่านกลุ่มไลน์ย่อยที่แบ่งไว้ทั้งหมดจำนวน 7 กลุ่ม - การส่งรายงานสถิติบรรณนิทัศน์ออนไลน์ประจำเดือนไม่เกินวันที่ 5 ของเดือน 6. จัดการอบรมโครงการบรรณนิทัศน์ออนไลน์ฯ เมื่อวันที่ 23, 25 กุมภาพันธ์ และ 3 – 4 มีนาคม 2564 ณ หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร จำนวน 4 ครั้ง ให้แก่บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่จากห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 63 คน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

1. ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ทั้ง ๓๖ แห่ง ดำเนินการจัดทำบรรณนิทัศน์ออนไลน์ ดังนี้ - เดือนพฤษภาคม 2564 จำนวน 180 ชื่อเรื่อง - เดือนมิถุนายน 2564 จำนวน 144 ชื่อเรื่อง รวมจำนวนบรรณนิทัศน์ออนไลน์ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม – มิถุนายน จำนวน 324 ชื่อเรื่อง 2. คณะทำงานจัดทำแบบสอบถาม สำหรับประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเกี่ยวกับการเข้าใช้ บรรณนิทัศน์ออนไลน์บนเว็บไซต์ เพื่อนำไปประเมินผลปลายปีงบประมาณ โดยจะเริ่มแจกแบบสอบถามตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป โดยเก็บแบบสอบถามจำนวน 20 ชุด/ห้องสมุด 3. ประชาสัมพันธ์ ทำการประชาสัมพันธ์ในเชิงรุก ทั้งการประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว (http://www.bangkok.go.th/cstd) แอปพลิเคชัน BKK Connect เว็บไซต์ของห้องสมุดทั้ง 36 แห่ง และการประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียล มีเดีย (Social Media) ของห้องสมุด เช่น เฟซบุ๊ก (Facebook) ไลน์ (Line) เป็นต้น

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

- ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ทั้ง ๓๖ แห่ง จัดทำบรรณนิทัศน์ออนไลน์ ประจำเดือนกันยายน จำนวน 180 ชื่อเรื่อง - ส่วนห้องสมุดและการเรียนรู้ ดำเนินการประชาสัมพันธ์บรรณานิทัศน์ออนไลน์ประจำเดือนกันยายน เล่ม 1 –4 ผ่านทางเว็บไซต์ - รวมจำนวนบรรณนิทัศน์ออนไลน์ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม – กันยายน จำนวน 828 ชื่อเรื่อง สรุปผลการดำเนินโครงการ 1. เกิดระบบบรรณนิทัศน์ออนไลน์ที่ให้บริการผ่านเว็บไซต์ของห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้กรุงเทพมหานคร ทั้ง 36 แห่ง โดยให้บริการตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา โดยจัดทำและผลิตบรรณนิทัศน์ออนไลน์ จำนวน 828 ชื่อเรื่อง(นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน ๒๕๖๔) 2. กลุ่มผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์จากระบบบรรณนิทัศน์ออนไลน์ ดังนี้ 2.1 กลุ่มผู้ใช้บริการมีเครื่องมือที่ช่วยตัดสินใจในการเลือกใช้สารสนเทศได้ตรงกับความต้องการเพิ่มมากขึ้น 2.2 กลุ่มผู้ใช้บริการมีทางเลือกเพิ่มมากขึ้นที่สามารถเข้าถึงบรรณนิทัศน์ออนไลน์ได้สะดวก รวดเร็ว ทุกที่ทุกเวลา สอดคล้องตามสถานการณ์โควิด-19 ช่วยลดการสัมผัส หลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของโรค 2.3 กลุ่มผู้ใช้บริการได้รับความพึงพอใจการใช้งานบรรณนิทัศน์ออนไลน์ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.42 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์พึงพอใจมาก และมียอดสถิติการเข้าชมบรรณนิทัศน์ออนไลน์ นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนสิงหาคม เป็นจำนวน 316,259 ครั้ง 3. จากปัญหาการแพร่ระบาดของสถานการณ์โรคโควิด-19 ทำให้ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้กรุงเทพมหานครทั้ง 36 แห่ง ปิดให้บริการชั่วคราว ซึ่งระบบบรรณนิทัศน์ออนไลน์ได้เข้ามาเป็นทางเลือกที่เหมาะสมมากที่สุด สำหรับการใช้บริการสารสนเทศของห้องสมุด เพราะกลุ่มผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงบรรณนิทัศน์ออนไลน์ได้ โดยปราศจากการสัมผัส สะดวกสบาย เป็นตัวช่วยในการเลือกสารสนเทศที่ต้องการ ตอบโจทย์การอยู่บ้าน ก็สามารถอ่านหนังสือได้ อีกทั้งทางห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการยืม – คืน หนังสือผ่านทางระบบนัดหมายทางโทรศัพท์และระบบสนทนาทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ จึงทำให้บรรณนิทัศน์ออนไลน์กลายเป็นบริการเชิงรุกที่ตอบโจทย์อย่างแท้จริง

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

การประเมินการเสนอนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน พิจารณาจาก ระดับความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมของแต่ละหน่วยงาน ตามขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ - ขั้นตอนที่ 1. เป็นขั้นตอนการค้นหา และรวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหา หรือ ความต้องการที่จะพัฒนางาน โดยเสนอแนวคิดภายใต้รูปแบบที่กำหนดตามแบบฟอร์มการมีส่วนร่วมแสดง ความคิดเห็นในการพัฒนา/ปรับปรุงการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน (แบบฟอร์ม 1) โดยกำหนดจำนวนแบบฟอร์มที่หน่วยงานที่รับการประเมินต้องส่งให้สำนักงาน ก.ก. ดังนี้ 1. หน่วยงานระดับสำนัก จำนวนไม่น้อยกว่า 20 ชุด 2. สำนักงานเขต จำนวนไม่น้อยกว่า 15 ชุด 3. ส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเลขานุการ สภากรุงเทพมหานคร และสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำนวนไม่น้อยกว่า 10 ชุด - ขั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นตอนการคัดเลือกความคิดเห็นจากขั้นตอนที่ 1 โดยคณะผู้บริหาร/คณะทำงาน ของแต่ละหน่วยงาน กำหนดให้แต่ละหน่วยงานพิจารณาเลือกเพียง 1 ความคิดเห็น เพื่อนำมาพัฒนา หรือปรับปรุงการทำงานของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ โดยให้ระบุรายละเอียดของแนวคิดที่ได้รับการคัดเลือกในแบบสรุปผลการคัดเลือกความคิดเห็นในการเสนอนวัตกรรมฯ (แบบฟอร์ม 2) - ขั้นตอนที่ 3 เป็นขั้นตอนการนำเสนอโครงการ โดยหน่วยงานนำแนวคิดที่ได้รับการคัดเลือกตาม ขั้นตอนที่ 2 มาจัดทำโครงการนวัตกรรมฯ 1 โครงการ (แบบฟอร์ม 3) พร้อมจัดทำแบบฟอร์มนำเสนอโครงการ พัฒนานวัตกรรมฯ (แบบฟอร์ม 4) เพื่อเสนอคณะกรรมการนวัตกรรมกรุงเทพมหานครพิจารณาต่อไป ทั้งนี้โครงการพัฒนานวัตกรรมฯ ที่นำเสนอไม่จำเป็นต้องดำเนินการแล้วเสร็จภายในปีงบประมาณเดียว สามารถนำเสนอโครงการฯ ระยะยาวที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องได้ โดยกำหนดเป้าหมายโครงการ แต่ละปีงบประมาณให้ชัดเจน - ขั้นตอนที่ 4 เป็นขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมฯ ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการฯ โดยหน่วยงานดำเนินโครงการพัฒนานวัตกรรมฯ ตามแนวทาง/กิจกรรมที่กำหนดไว้ในโครงการ เพื่อให้บรรลุ เป้าหมาย ตามตัวชี้วัดที่กำหนด และส่งเอกสาร หลักฐานให้สำนักงาน ก.ก. พิจารณาภายในระยะเวลาที่กำหนด - ขั้นตอนที่ 5 เป็นขั้นตอนการจัดทำแบบสำรวจผลการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์โดยให้หน่วยงานจัดทำตาม (แบบฟอร์ม 5) และนำเสนอต่อผู้บริหารหน่วยงาน/ส่วนราชการฯ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

การประเมินการเสนอนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน พิจารณาจาก ระดับความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมของแต่ละหน่วยงาน ตามขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ - ขั้นตอนที่ 1. เป็นขั้นตอนการค้นหา และรวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหา หรือ ความต้องการที่จะพัฒนางาน โดยเสนอแนวคิดภายใต้รูปแบบที่กำหนดตามแบบฟอร์มการมีส่วนร่วมแสดง ความคิดเห็นในการพัฒนา/ปรับปรุงการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน (แบบฟอร์ม 1) โดยกำหนดจำนวนแบบฟอร์มที่หน่วยงานที่รับการประเมินต้องส่งให้สำนักงาน ก.ก. ดังนี้ 1. หน่วยงานระดับสำนัก จำนวนไม่น้อยกว่า 20 ชุด 2. สำนักงานเขต จำนวนไม่น้อยกว่า 15 ชุด 3. ส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเลขานุการ สภากรุงเทพมหานคร และสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำนวนไม่น้อยกว่า 10 ชุด - ขั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นตอนการคัดเลือกความคิดเห็นจากขั้นตอนที่ 1 โดยคณะผู้บริหาร/คณะทำงาน ของแต่ละหน่วยงาน กำหนดให้แต่ละหน่วยงานพิจารณาเลือกเพียง 1 ความคิดเห็น เพื่อนำมาพัฒนา หรือปรับปรุงการทำงานของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ โดยให้ระบุรายละเอียดของแนวคิดที่ได้รับการคัดเลือกในแบบสรุปผลการคัดเลือกความคิดเห็นในการเสนอนวัตกรรมฯ (แบบฟอร์ม 2) - ขั้นตอนที่ 3 เป็นขั้นตอนการนำเสนอโครงการ โดยหน่วยงานนำแนวคิดที่ได้รับการคัดเลือกตาม ขั้นตอนที่ 2 มาจัดทำโครงการนวัตกรรมฯ 1 โครงการ (แบบฟอร์ม 3) พร้อมจัดทำแบบฟอร์มนำเสนอโครงการ พัฒนานวัตกรรมฯ (แบบฟอร์ม 4) เพื่อเสนอคณะกรรมการนวัตกรรมกรุงเทพมหานครพิจารณาต่อไป ทั้งนี้โครงการพัฒนานวัตกรรมฯ ที่นำเสนอไม่จำเป็นต้องดำเนินการแล้วเสร็จภายในปีงบประมาณเดียว สามารถนำเสนอโครงการฯ ระยะยาวที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องได้ โดยกำหนดเป้าหมายโครงการ แต่ละปีงบประมาณให้ชัดเจน - ขั้นตอนที่ 4 เป็นขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมฯ ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการฯ โดยหน่วยงานดำเนินโครงการพัฒนานวัตกรรมฯ ตามแนวทาง/กิจกรรมที่กำหนดไว้ในโครงการ เพื่อให้บรรลุ เป้าหมาย ตามตัวชี้วัดที่กำหนด และส่งเอกสาร หลักฐานให้สำนักงาน ก.ก. พิจารณาภายในระยะเวลาที่กำหนด - ขั้นตอนที่ 5 เป็นขั้นตอนการจัดทำแบบสำรวจผลการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์โดยให้หน่วยงานจัดทำตาม (แบบฟอร์ม 5) และนำเสนอต่อผู้บริหารหน่วยงาน/ส่วนราชการฯ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๒ - การบริหารแผนและประเมินผล
:๗.๒.๑ กรุงเทพมหานครมีระบบการติดตามและรายงานความก้าวหน้าผลการดำาเนินงานตามแผนพัฒนากรุงเทพ%
:๗.๒.๑.๑ พัฒนาระบบการติดตามและรายงานความก้าวหน้าตามแผนพัฒนา

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง