รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละความสำเร็จของผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรมได้รับความรู้หรือพัฒนาทักษะที่จำเป็น/ต้องการได้ (ผลลัพธ์) : 2400-1159

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 1

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
0.00

0 / 0
3
0.00

0 / 0
4
1.00

0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร 10 แห่ง เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นให้กับประชาชนทั่วไป โดยปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ฝึกอบรมวิชาชีพให้ประชาชนทั่วไป ภาคเรียนที่ 2/2565 (ระหว่างวันที่ 4 ก.ย. – 15 ธ.ค.2565) จำนวน 1,780 คน ภาคเรียนที่ 3/2565 (ระหว่างวันที่ 20 ธ.ค.2565 – 31 มี.ค.2566) จำนวน 2,027 คน ภาคเรียนที่ 1/2566 (ระหว่างวันที่ 16 พ.ค. – 25 ส.ค.2566) จำนวน 2,173 คน ศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานครสังกัดสำนักพัฒนาสังคม 5 แห่ง จำนวน 50 คน จัดเก็บฐานข้อมูลผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรมประจำปี พ.ศ.2566 จำนวน 6,030 คน หมายเหตุ ข้อมูล ณ วันที่ 27 ก.ย.66

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรม หมายถึง ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรมหรือพัฒนาทักษะด้านอาชีพที่จำเป็น/ต้องการได้ ตามหลักสูตรที่ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกรุงเทพมหานครกำหนด หลักสูตรที่ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกรุงเทพมหานครกำหนด หมายถึง การสร้างหลักสูตรใหม่อย่างน้อย 1 หลักสูตร และเปิดสอนในศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุฯ โดยจัดทำกิจกรรมสร้างความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย เช่น หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน มูลนิธิ สถาบันวิชาการ ฯลฯ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดหลักสูตร เนื้อหา องค์ความรู้และทักษะที่จำเป็น ความรู้หรือพัฒนาทักษะที่จำเป็น/ต้องการ หมายถึง การส่งเสริมความรู้หรือพัฒนาทักษะให้แก่ผู้สูงอายุตามหลักสูตรของศูนย์ฯ ที่ตรงตามความต้องการของผู้สูงอายุหรือตลาดแรงงานและสามารถนำไป ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน สร้างอาชีพ มีรายได้เสริม หรือลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ตรวจสอบจากผลการดำเนินงานเปรียบเทียบกับ เกณฑ์ร้อยละความสำเร็จ

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. มีแผนการดำเนินงาน 2. หลักสูตรใหม่ที่กำหนดของศูนย์ส่งเสริมฯ อย่างน้อย 1 หลักสูตร 3. จำนวนผู้สูงอายุที่ผ่านหลักสูตรใหม่ทั้งหมด 4. จำนวนผู้สูงอายุที่ผ่านหลักสูตรใหม่สามารถนำความรู้ไปใช้ 5. เกณฑ์การประเมินผลของหลักสูตรที่กำหนดฯ 6. แบบประเมิน Pre-test/Post-test

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง