ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
เตรียมจัดประชุมทบทวนสถานะข้อมูล
ทบทวนสถานะข้อมูล จัดลำดับความสำคัญ และจัดทำแผนพัฒนาฐานข้อมูลตามแบบฟอร์มที่สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลกำหนดและส่งให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 เรียบร้อยแล้ว
ดำเนินการส่งเอกสารหน้าแรกของตารางการจัดเก็บข้อมูล (CSV File) ภายในระยะเวลาที่กำหนด (29 พฤษภาคม 2563) และนำเข้าข้อมูล (CSV File) ในฐานข้อมูลระบบบันทึกฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัด 4.1 ภายในระยะเวลาที่กำหนดเรียบร้อยแล้ว (15 มิถุนายน 2563)
บันทึกข้อมูล (CSV File) ในฐานข้อมูลระบบบันทึกฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัด 4.1 ภายในระยะเวลาที่กำหนดทุกเดือน
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และได้มีการรวบรวมเก็บไว้ในรูปแบบต่างๆ ในสื่อต่างๆ ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ โดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยไม่ได้บังคับว่าข้อมูลทั้งหมดนี้จะต้องเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูล (Data File) เดียวกัน หรือแยกเก็บหลายๆแฟ้มข้อมูล ความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูล หมายถึง การจัดการฐานข้อมูล (Database) โดยการนำเข้าข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว ทันสมัย และมีการแบ่งปันการใช้งานข้อมูล ตามแผนการพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงาน และเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน และภาพรวมของกรุงเทพมหานคร แนวทางการประเมินผล พิจารณาจากกระบวนการในการดำเนินงาน ทั้งการทบทวนระบบข้อมูลที่ต้องการในการปฏิบัติงานและติดตามผลการดำเนินงาน การวิเคราะห์และจัดทำรายละเอียดของข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ การจัดทำแผนพัฒนาระบบข้อมูล การพัฒนาฐานข้อมูล และการนำเข้าข้อมูลของหน่วยงาน โดยมีวิธีการดำเนินการทั้งหมด 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 หน่วยงานทบทวนสถานะข้อมูลที่จำเป็นต่อการพัฒนาเป็นฐานข้อมูล หรือ ฐานข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่นำไปประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร โดยพิจารณาจากนโยบาย แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร มาตรฐานบริการสาธารณะของกรุงเทพมหานคร เป็นต้น ขั้นตอนที่ 2 หน่วยงานนำข้อมูลตามขั้นตอนที่ 1 ซึ่งเป็นข้อมูลจำเป็นตามภารกิจหลักมาจัดลำดับความสำคัญ และพิจารณาคัดเลือกภารกิจหลัก ที่จะดำเนินการพัฒนาเป็นฐานข้อมูล จำนวน 1 ฐานข้อมูล ขั้นตอนที่ 3 เมื่อผ่านการพิจารณาจากสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลแล้ว หน่วยงานต้องจัดทำแผนพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงาน และส่งให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลภายในเดือนมกราคม 2563 โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้ 1.1 จัดทำรายละเอียดขอบเขตของข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ 1.2 กำหนดแหล่งข้อมูลในการจัดเก็บรวบรวม 1.3 ออกแบบการจัดเก็บข้อมูล 1.4 กำหนดผู้รับผดชอบในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลของหน่วยงาน 1.5 กำหนดเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูล 1.6 จัดทำปฏิทินการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด ขั้นตอนที่ 4 หน่วยงานดำเนินการพัฒนาฐานข้อมูล ซึ่งสามารถเชื่อมโยงการระบบสารสนเทศกรุงเทพมหานครที่ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลกำหนด ภายในเดือนพฤษภาคม 2563 ขั้นตอนที่ 5 หน่วยงานนำเข้าข้อมูลในฐานข้อมูลตามขั้นตอนที่ 4 โดยเริ่มนำข้อมูลเข้าครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 2563 ซึ่งการดำเนินงานตามตัวชี้วัดร้อยละความสำเร็จขิงการพัฒนาฐานข้อมูลต้องเป็นไปตามแนวทางและปฏิทินที่สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลกำหนด และต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอนโดยไม่ข้ามขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง เกณฑ์การให้คะแนน การประเมินใช้รายละเอียดประเด็นการประเมินเชิงประจักษ์ในการพัฒนาฐานข้อมูลตามที่สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลกำหนด ทั้ง 5 ขั้นตอน โดยกำหนดร้อยละความสำเร็จในการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน ดังนี้ ความสำเร็จของผลการดำเนินการ ขั้นตอนที่ 1 คะแนนที่ได้รับ 10 ความสำเร็จของผลการดำเนินการ ขั้นตอนที่ 2 คะแนนที่ได้รับ 10 ความสำเร็จของผลการดำเนินการ ขั้นตอนที่ 3 คะแนนที่ได้รับ 20 ความสำเร็จของผลการดำเนินการ ขั้นตอนที่ 4 คะแนนที่ได้รับ 20 ความสำเร็จของผลการดำเนินการ ขั้นตอนที่ 5 คะแนนที่ได้รับ 40 ความสำเร็จของการดำเนินการแต่ละขั้นตอน เป็นไปตามเกณฑ์ของคณะกรรมการพัฒนาฐานข้อมูลที่สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลกำหนด ทั้งนี้ ในกรณีที่ดำเนินการในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งไม่แล้วเสร็จ จะคิดร้อยละความสำเร็จรวมจากขั้นตอนก่อนหน้าที่ดำเนินการแล้วเสร็จ
คะแนนรวม = ขั้นตอนที่ 1 + ขั้นตอนที่ 2 + ขั้นตอนที่ 3 + ขั้นตอนที่ 4 + ขั้นตอนที่ 5
1. แผนพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงานตามรูปแบบที่สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลกำหนด 2. การนำเข้าข้อมูลในฐานข้อมูลของหน่วยงาน 3. การรายงานผลการดำเนินการพัฒนาฐานข้อมูลจากระบบติดตามและประเมินผลแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (Daily plans) และ BMA Monitor Application
:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
:๗.๕ - เทคโนโลยีสารสนเทศ |
:๗.๕.๑ กรุงเทพมหานครให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส โดยประยุกต์% |
:๗.๕.๑.๒ มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน |