ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
ส่งเอกสาร (คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน แผนพัฒนาฐานข้อมูล บัญชีรายการข้อมูล ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เกี่ยวข้อง และการพัฒนาฐานข้อมูลใหม่ จำนวน 1 เรื่อง) การดำเนินการตามขั้นตอนที่ 1 ดำเนินการตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2563 เรียบร้อยแล้ว
จัดทำคำอธิบายข้อมูล (metadata) และพจนานุกรมข้อมูล (data dictionary) ส่งสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลตามระยะเวลาที่กำหนด
นำเข้าข้อมูลและปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ทั้งข้อมูลที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และข้อมูลใหม่ (ข้อมูลผู้ป่วยติดเตียง) และอยู่ระหว่างดำเนินการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน และเตรียมส่งหลักฐานการดำเนินการให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมิน
ขั้นตอนที่ 1 1. แต่งตั้งคณะทำงานกำกับติดตามข้อมูลระดับหน่วยงาน และจัดทำแผนพัฒนาฐานข้อมูล 2. จัดทำบัญชีรายการข้อมูลของหน่วยงาน (data catalog) และกำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูลของหน่วยงาน 3. พัฒนาฐานข้อมูลใหม่หรือปรับปรุงฐานข้อมูลที่มีอยู่เดิมให้มีขอบเขตการใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางขึ้น จำนวน 1 เรื่อง มาพัฒนาเป็นฐานข้อมูลของหน่วยงาน ขั้นตอนที่ 2 1. จัดทำพจนานุกรมข้อมูลของหน่วยงาน (data dictionary) 2. จัดทำคำอธิบายข้อมูลของหน่วยงาน (metadata) ขั้นตอนที่ 3 ปรับปรุงข้อมูลให้มีคุณภาพและเป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ ตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ อย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง ดังนี้ 1. รักษาสถานภาพฐานข้อมูลของหน่วยงานที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยสำนักงานเขตดำเนินการนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่ของเขตในระบบการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลตามตัวชี้วัดที่ 5.2 และระบบบริหารจัดการพื้นที่เขตในกรุงเทพมหานคร (District Catalog) 2. พัฒนาฐานข้อมูลใหม่หรือปรับปรุงฐานข้อมูลที่มีอยู่เดิมและจะต้องนำเข้าข้อมูลตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน 2564 ขั้นตอนที่ 4 การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน โดยมีหลักฐานเป็นที่ประจักษ์และสามารถตรวจสอบได้อย่างเป็นรูปธรรม ขั้นตอนที่ 5 การให้บริการหรือเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของกรุงเทพมหานครและ/หรือหน่วยงานภายนอกด้วยระบบออนไลน์ และ/หรือมีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ
ข้อมูล หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริงหรือเรื่องอื่นใด ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใด ๆ และไม่ว่าจะได้จัดทำไว้ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพถ่ายดาวเทียมฟิล์ม การบันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องมือตรวจวัด การสํารวจระยะไกล หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฏได้ ชุดข้อมูล หมายความว่า การนําข้อมูลจากหลายแหล่งมารวบรวม เพื่อจัดเป็นชุดให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูล บัญชีรายการข้อมูล หมายความว่า เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จําแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงาน ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ โดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยไม่ได้บังคับว่าข้อมูลทั้งหมดนี้จะต้องเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูล (Data file) เดียวกันหรือแยกเก็บหลายๆแฟ้มข้อมูล (Data file) คำอธิบายข้อมูล หรือ เมทาดาตา (Metadata) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้อธิบายข้อมูล โดยระบุรายละเอียดแหล่งข้อมูล หรือคำอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ซึ่งจัดทำให้ผู้ใช้ข้อมูลทราบว่าข้อมูลมาจากแหล่งใด มีรูปแบบอย่างไร เพื่อช่วยอํานวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล และใช้ประโยชน์ในการจัดทำบัญชีรายการข้อมูล (Data Catalog) ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐระดับหน่วยงาน ประกอบด้วย 1) การกำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการข้อมูลของหน่วยงาน 2) การวางแผนการดําเนินงาน การปฏิบัติตามแผนการดําเนินงาน การตรวจสอบและการรายงานผลการดําเนินงาน และการปรับปรุงแผนการดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ระบบบริหารและกระบวนการจัดการข้อมูลมีประสิทธิภาพสามารถเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และบูรณาการข้อมูลระหว่างกันทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน และคุ้มครองข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ 3) การกำหนดมาตรการควบคุมและพัฒนาคุณภาพข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน มั่นคงปลอดภัย และไม่ถูกละเมิดความเป็นส่วนบุคคล รวมทั้งสามารถเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน บูรณาการ และใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4) การวัดผลการบริหารจัดการข้อมูล โดยอย่างน้อยประกอบด้วย การประเมินความพร้อมของธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐในระดับหน่วยงาน การประเมินคุณภาพข้อมูล และการประเมินความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล 5) การจําแนกหมวดหมู่ของข้อมูล เพื่อกำหนดนโยบายข้อมูลหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับผู้มีส่วนได้เสีย ผู้มีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลต่าง ๆ ภายในหน่วยงาน สำหรับให้ผู้ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามนโยบายหรือกฎเกณฑ์ได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอันจะนําไปสู่การบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐอย่างเป็นระบบ 6) การจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐ และบัญชีข้อมูลให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน ความสำเร็จในการพัฒนาฐานข้อมูล หมายถึง การพัฒนาและการจัดการฐานข้อมูล โดยการนําเข้าข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว ทันสมัย และมีการแบ่งปันการใช้งานข้อมูล ตามแผนการพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงานและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน และภาพรวมของกรุงเทพมหานคร โดยสอดคล้องกับมาตรฐานและกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ) แบ่งเป็น 2 ส่วน (ร้อยละ 100) ส่วนที่ 1 รักษาสถานภาพฐานข้อมูลของหน่วยงานที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ส่วนที่ 2 พัฒนาและจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงาน หรือการให้บริการ
1. เกณฑ์การให้คะแนน แนวทางการประเมินผลพิจารณาการดําเนินงานของหน่วยงาน แบ่งเป็น 2 ส่วนประกอบด้วย ส่วนที่ 1 การรักษาสถานภาพฐานข้อมูลของหน่วยงานปี พ.ศ. 2563 คือ ความสมบูรณ์ของ การนําเข้าข้อมูล และเชื่อมโยงระบบย่อยของหน่วยงาน 1.1 ความครบถ้วนและความถูกต้องในการนําเข้าข้อมูล 1.2 การนําเข้าข้อมูลในระบบภายในกำหนด ส่วนที่ 2 พัฒนาและจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ การพิจารณาให้คะแนนจะพิจารณาจากผลการดําเนินงานทั้งส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 รวมกัน โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณาและให้คะแนน ดังนี้ 2. การคํานวณคะแนนตามกรอบการประเมิน คะแนนที่จะได้รับ = น้ำหนักคะแนน x ร้อยละของคะแนนที่ได้รับ /100
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลใช้ข้อมูลผลการดำเนินการตามตัวชี้วัดจากระบบการบริหารจัดการแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (BMA Digital Plans) และ BMA Monitor Application ในการประกอบการพิจารณาการประเมินผล โดยหน่วยงานผู้รับการประเมินต้องรายงานข้อมูลอย่างชัดเจน พร้อมทั้งตรวจเอกสารและหลักฐานที่ใช้ประกอบของโครงการ/กิจกรรม และตัวชี้วัดในการประเมินผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานปลายปีงบประมาณ
:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
:๗.๕ - เทคโนโลยีสารสนเทศ |
:๗.๕.๑ กรุงเทพมหานครให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส โดยประยุกต์% |
:๗.๕.๑.๑ มีระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์สำหรับให้บริการประชาชน และ/หรือ มีการเชื่อม |