ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
ประชุมร่วมกับสจส กำหนดจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ จำนวน 1 จุด คือ แยกอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
จัดทำแผนและโครงการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ
ดำเนินการตามแผน ดังนี้ - จัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกด้านการจราจรและดูแลความปลอดภัยในการข้ามทางม้าลาย - ประสานสน.สำราญราษฎร์กวดขันเรื่องการฝ่าฝืนวินัยจราจร - ประสานสำนักการจราจรและขนส่งติดตั้งไฟสัญญาณคนข้ามทางม้าลายแบบเคาท์ดาวน์ - ล้างทำความสะอาดเส้นจราจรทุกสัปดาห์ - ปรับปรุงภูมิทัศน์ตัดแต่งกิ่งไม้ไม่ให้บดบังทัศนวิสัยการมองเห็นป้ายและสัญลักษณ์จราจร - รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้รถใช้ถนนปฏิบัติตามกฎหมาย และวินัยจราจร
- จัดประชุม ศปถ.เขตพระนคร - จัดทำรายงานความก้าวหน้าและผลการดำเนินการการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ
- ผู้เสียชีวิต หมายถึง ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ทั้งการเสียชีวิตที่จุดเกิดเหตุ ระหว่างนำส่งจนถึงโรงพยาบาล และที่โรงพยาบาล - อัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่อประชากรแสนคน หมายถึง จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนหารด้วยจำนวนประชากรกลางปีตามทะเบียนราษฎร์กรุงเทพมหานครรายปีปัจจุบันและประชากรแฝง และคูณด้วย 100,000 คน - Heat Map คือ แผนที่แสดงความหนาแน่นของจุดหรือบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุบนแผนที่ Longdo Map ซึ่งดูได้จากhttps://mapdemo.longdo.com/bkk-accidents-clusters/ โดยข้อมูลใน Heat Map เก็บรวบรวมจาก มูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยไทย (iTic) และบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด (ThaiRSC) - Risk Map คือ แผนที่แสดงจุดหรือบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุ และมีผู้บาดเจ็บ (หมุดสีส้ม) ผู้เสียชีวิต(หมุดสีแดง) ดูได้จาก http://www.ThaiRSC.com ข้อมูลใน Risk Map เก็บรวบรวมจากบริษัทประกันภัย,สำนักงานตำรวจแห่งชาติ,โรงพยาบาล และมูลนิธิช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่าง ๆ - จุดเสี่ยงอุบัติเหตุ หมายถึง จุดเกิดอุบัติเหตุที่มีความถี่การเกิดไม่น้อยกว่า 3 ครั้งในรอบ 1 ปี โดยมีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยพิจารณาคัดเลือกจุดเสี่ยงจากฐานข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุ กำหนดให้เป็นจุดดำเนินการในปีงบประมาณที่ประเมิน ดังนี้ 1.จุดเสี่ยงอุบัติเหตุจาก Heat Map ใน 100 ลำดับแรกของคลัสเตอร์ตามความหนาแน่นของจุดเกิดอุบัติเหตุ โดยใช้ข้อมูลของ ThaiRSC และ iTIC ประกอบกัน (จำนวน 100 จุด) 2.จุดเสี่ยงอุบัติเหตุ ในสำนักงานเขตที่ไม่อยู่ใน 100 คลัสเตอร์ จำนวน 15 เขต โดยกำหนดจุดเสี่ยงจากข้อมูลจุดเสี่ยงของสำนักงานเขตที่เคยส่งในตัวชี้วัดเจรจาตกลงฯ ประจำปีงบประมาณ 2565 ที่ยังไม่ได้ดำเนินการ สำนักงานเขตละ 1 จุด (จำนวน 15 จุด) - จุดดำเนินการ หมายถึง จุดเสี่ยงอุบัติเหตุที่กำหนดก่อนดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุง ในปีงบประมาณที่ประเมิน - แผนปฏิบัติการ (Action Plan) หมายถึง แผนซึ่งหน่วยงานจัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานหรือกิจกรรมที่ส่งผลต่อความสำเร็จของตัวชี้วัด โดยบรรจุรายละเอียดถึงกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ พร้อมระยะเวลาดำเนินการแต่ละขั้นตอน ทั้งนี้ให้หมายรวมถึง แผนที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนกวดขันวินัยจราจรและ/หรืออำนวยการจราจรและผู้สัญจร เป็นต้น - บันทึกส่งมอบผลผลิต หมายถึง เอกสารที่กำหนดให้หน่วยงานร่วมจะต้องดำเนินการส่งผลผลิตสนับสนุนตัวชี้วัด ตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ - ผลผลิต หมายถึง หน่วยผลผลิตที่เกิดขึ้นจากกระบวนการและกิจกรรมตามภารกิจของหน่วยงานซึ่งได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ เพื่อสนับสนุนตัวชี้วัดนี้ - หน่วยงาน หมายรวมถึง ดังนี้ • หน่วยงานหลัก หมายถึง หน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานครที่เป็นเจ้าของตัวชี้วัด และมีอำนาจในการบริหารจัดการในภาพรวม ได้แก่ สำนักการจราจรและขนส่ง หน่วยงานรอง หมายถึง หน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานครที่มีภารกิจและตัวชี้วัดเฉพาะที่สนับสนุน • การขับเคลื่อนตัวชี้วัดนี้ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ ในที่นี้ หมายถึง สำนักการโยธา สำนักเทศกิจ สำนักงานเขต สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร • หน่วยงานสนับสนุน หมายถึง หน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่ไม่ได้นำตัวชี้วัดนี้ไปประเมินผลการปฏิบัติราชการ แต่มีภารกิจสนับสนุนการดำเนินงานตัวชี้วัด • หน่วยงานอื่น หมายถึง หน่วยงานที่ไม่ได้สังกัดกรุงเทพมหานคร แต่มีภารกิจที่ต้องสนับสนุนการขับเคลื่อนตัวชี้วัดนี้ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ เช่น ตำรวจ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท บริษัทกลาง มูลนิธิต่าง ๆ เป็นต้น - คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน หมายถึง คณะอนุกรรมการ/คณะทำงานที่ถูกจัดตั้งขึ้นขับเคลื่อนให้เป็นไปตามตัวชี้วัดนี้ กฎเกณฑ์โดยทั่วไป 1) หน่วยงานหลัก มีหน้าที่ในการบริหารจัดการภาพรวมของกระบวนการดำเนินการตามตัวชี้วัดและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบริหารจัดการสู่ความสำเร็จในตัวชี้วัดนี้ 2) หน่วยงานรอง และหน่วยงานอื่น จะต้องทำหน้าที่ในการสนับสนุน ตามขอบเขตอำนาจหน้าที่และภารกิจของตนเองเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามผลผลิตที่กำหนดร่วมกันกับหน่วยงานหลัก 3) หน่วยงานรองระดับสำนัก ที่ต้องทำงานร่วมกับสำนักงานเขต จะต้องจัดส่งเอกสารการมอบหมายงานให้สำนักการจราจรและขนส่ง เพื่อสำนักการจราจรและขนส่ง จะได้รวบรวมให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลทราบ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 4) สำนักงานเขต จะต้องจัดทำบันทึกได้รับมอบหมายจากหน่วยงานระดับสำนัก ภารกิจของหน่วยงาน 1. สำนักการจราจรและขนส่ง มีภารกิจที่ต้องดำเนินการ ดังนี้ 1.1 กำหนดเป้าหมายผลผลิตและจัดทำบัญชีจุดเสี่ยงฯ 1.2 จัดการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดภารกิจร่วมกัน ตกลงค่าเป้าหมายของผลผลิต และขับเคลื่อนตัวชี้วัดสู่ผลสัมฤทธิ์ ภายใน 15 กุมภาพันธ์ 2565 1.3 จัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินการ 1.4 รวบรวมแผนปฏิบัติการ (Action Plan) และจัดทำแผนปฏิบัติการในภาพรวม ทั้งนี้ หากแผนปฏิบัติการ มีระยะเวลาในการดำเนินการตามแผนฯ มากกว่า 1 ปีงบประมาณ ไม่ต้องจัดทำแผนปฏิบัติการฉบับใหม่ แต่ให้แก้ไขปรับปรุงแผนปฏิบัติการที่มีแต่เดิมโดยอนุโลม 1.5 รายงานความคืบหน้าการบริหารจัดการตัวชี้วัดนี้ ครึ่งปีงบประมาณ ให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลเพื่อทราบ 1.6 รวบรวม และประมวลผลสถิติจำนวนผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน จากบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด หรือแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 1.7 ตรวจสอบความถูกต้อง ประเมินผล และสรุปผลการดำเนินงานและผลผลิตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสถิติจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามข้อ 1.6 พร้อมทั้งจัดส่งสรุปผลให้กับสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ภายในวันที่ 15 กันยายน ของปีงบประมาณที่ประเมิน 1.8 สำนักการจราจรและขนส่ง ประมวลผลในภาพรวม และสรุปผลการดำเนินงานของตัวชี้วัดเพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารกรุงเทพมหานคร 1.9 นำจุดเสี่ยงฯ ที่กำหนด มาวิเคราะห์ สาเหตุ และออกแบบ แนวทางแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยง 1.10 ดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงฯ ในส่วนที่รับผิดชอบ เช่น - ติดตั้ง/รื้อย้าย/ถอดถอน/บำรุงรักษาเครื่องหมายจราจร อุปกรณ์วิศวกรรมจราจร ระบบสัญญาณไฟจราจร และอุปกรณ์ความปลอดภัยต่อผู้สัญจร - ดำเนินการมาตรการสยบการจราจร (Traffic Calming Measures) ในส่วนที่รับผิดชอบ เช่น การทาสีพื้นผิวจราจร การใช้ Rumble Strip การติดตั้งคันชะลอความเร็ว การติดตั้งสัญลักษณ์ต่าง ๆ อันนำไปสู่การชะลอความเร็วยานพาหนะ ฯลฯ - แก้ไข/ปรับปรุงทัศนวิสัยการขับขี่ยานพาหนะ เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ เช่น การติดตั้ง/รื้อย้าย/ถอดถอน ป้ายสัญลักษณ์จราจร อุปกรณ์ Street furniture ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ - กรณีจุดเสี่ยงฯ จุดใดได้ดำเนินการ ตามข้อ1.9 เรียบร้อยแล้ว แต่ไม่มีงบประมาณดำเนินการ ให้ระบุรายละเอียดลงในแผนปฏิบัติการ พร้อมทั้งจัดทำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรมเพื่อของบประมาณในปีต่อไป 2. สำนักการโยธา มีภารกิจที่ต้องดำเนินการ ดังนี้ 2.1 เข้าร่วมประชุมตามข้อ 1.2 2.2 ให้ส่งแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ภายในระยะเวลาที่สำนักการจราจรและขนส่งกำหนด 2.3 ดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงฯ ในส่วนที่รับผิดชอบ เช่น - บูรณะ/ปรับปรุง/ซ่อมแซม และบำรุงรักษาทาง พื้นผิวจราจร ไหล่ทาง เกาะกลาง ทางเท้า และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้สัญจร - ดำเนินการมาตรการสยบการจราจร (Traffic Calming Measures) ในส่วนที่รับผิดชอบ เช่น การยกระดับพื้นผิวจราจร การปรับปรุงทางเพื่อชะลอความเร็วยานพาหนะ ฯลฯ - แก้ไข/ปรับปรุงทัศนวิสัยขับขี่ยานพาหนะเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การติดตั้ง/ซ่อมแซม/ซ่อมบำรุงไฟฟ้าส่องสว่าง ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างอัจฉริยะ (Smart Light) การควบคุมการติดตั้งป้ายต่าง ๆ ในส่วนที่รับผิดชอบ ฯลฯ - กรณีจุดเสี่ยงฯ จุดใดได้ดำเนินการ ตามข้อ 1.9 เรียบร้อยแล้ว แต่ไม่มีงบประมาณดำเนินการ ให้ระบุรายละเอียดลงในแผนปฏิบัติการ พร้อมทั้งจัดทำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรมเพื่อของบประมาณในปีต่อไป - อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ระบุในแผนฯ ตามข้อ 2.3 2.4 รายงานผลการดำเนินงานการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงฯ ภายในระยะเวลาตามที่สำนักการจราจรและขนส่งกำหนด ทั้งนี้หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้เป็นไปตามสำนักการจราจรและขนส่งกำหนด 3. สำนักงานเขต มีภารกิจที่ต้องดำเนินการ ดังนี้ 3.1 เข้าร่วมประชุมข้อ 1.2 3.2 จัดประชุม ศปถ.เขต ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือในการลดอุบัติเหตุในพื้นที่ ทั้งทางกายภาพและพฤติกรรม 3.3 จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ในการลดอุบัติเหตุตามบัญชีจุดเสี่ยงและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่สำนักการจราจรและขนส่งได้กำหนด และจัดส่งให้ สจส. และหน่วยงานรอง (ถ้ามี) ภายในระยะเวลาที่กำหนดก่อนการดำเนินการแก้ไขปัญหา 3.4 ดำเนินการตามแผนในข้อ 3.3 ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ พร้อมเก็บหลักฐาน ภาพถ่าย ก่อน - หลัง และผลการดำเนินงาน 3.5 จัดทำรายงานความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานตามข้อ 3.4 ตามกรอบแนวทาง แบบฟอร์ม และระยะเวลา โดยจัดส่งให้สำนักการจราจรและขนส่งภายในระยะเวลาที่กำหนด 3.6 ดำเนินการตามภารกิจอื่น ๆ ตามที่หน่วยงานรองระดับสำนักในตัวชี้วัดนี้ร้องขอ
1) สำนักการจราจรและขนส่ง และสำนักการโยธา - วัดผลการดำเนินการเทียบกับเกณฑ์วัดผลความสำเร็จของแต่ละหน่วยงาน 2) สำนักงานเขต - วัดผลจากร้อยละความสำเร็จในการดำเนินการตามภารกิจตามที่หน่วยงานหลัก/หน่วยงานรองระดับสำนักมอบหมาย โดยคำนวณจาก จำนวนกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานหลักฯและรอง ดำเนินการสำเร็จ หารด้วยจำนวนกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงาน ทั้งหมดคูณด้วย 100 จากนั้นนำไปเทียบกับเกณฑ์วัดผลความสำเร็จ 3) การปรับลดคะแนนในส่วนของการบริหารจัดการระหว่างหน่วยงานหลักและหน่วยงานรอง มีรายละเอียดดังนี้ - ไม่เข้าร่วมกิจกรรมตามที่หน่วยงานหลักกำหนด เช่น ไม่เข้าร่วมประชุม ไม่เข้าร่วมสำรวจพื้นที่ - ไม่ดำเนินการจัดทำ/ปรับปรุงแผนปฏิบัติการ/แผนงาน/บันทึกส่งมอบผลผลิต - ไม่ดำเนินการส่งรายงานผลการดำเนินงาน - จัดส่งแผนปฏิบัติการ/แผนงาน/บันทึกส่งมอบผลผลิต/รายงานไม่ตรงตามเวลาที่สำนักการจราจรและขนส่งกำหนดไว้ ทั้งนี้ ให้สำนักการจราจรและขนส่งเป็นผู้ปรับลดคะแนนหน่วยงานรอง ข้อละไม่เกินร้อยละ ๕ ของคะแนนที่ได้รับ (หลังจากประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว)
สำนักงานเขต 1) รายงานการประชุม ศปถ.เขต 2) เอกสารที่แสดงถึงภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานระดับสำนัก 3) หลักฐานที่แสดงถึงการปฏิบัติตามการมอบหมายจากหน่วยงานระดับสำนัก เช่น เอกสาร ภาพถ่าย เป็นต้น 4) หลักฐานการประสานงานกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) 5) รายงานผลการดำเนินงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานระดับสำนัก
:ยุทธศาสตร์ที่ ๑ –การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ |
:๑.๒ - ปลอดอุบัติเหตุ |
:๑.๒.๒ ลดอุบัติเหตุทางถนน% |
:๑.๒.๒.๒ การตรวจสอบสภาพถนนและปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย (Black Spot) |