รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี : 5003-921

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
15.00

0 / 0
2
45.00

0 / 0
3
50.00

0 / 0
4
100.00

0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

-จัดทำสรุปผลการดำเนินงานเสนอผู้บริหาร-จัดทำโครงการพร้อมขออนุมัติโครงการเรียบร้อยแล้ว -จัดทำคำสั่งสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ เรื่อง มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการสุขาภิบาลอาหาร การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร และตวจสอบกรณีเหตุฉุกเฉินหรือมีการร้องเรียนด้านอาหาร -จัดทำแผนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในการออกตรวจประเมินด้านกายภาพสถานประกอบการจำหน่ายอาหาร จำนวน 20 ครั้ง และแผนปฏิบัติงานค่าตอบแทนบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขในการออกตรวจสอบหาสารปนเปื้อนในอาหาร โดยเก็บตัวอย่างอาหารและส่งตรวจ พร้อมทั้งแนะนำด้านสุขลักษณะของสถานประกอบการ จำนวน 4 ครั้ง -ออกดำเนินตรวจแนะนำด้านกายภาพตามเกณฑ์ด้านสุขลักษณะของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ.2545 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ.2545 -ตรวจสอบคุณภาพอาหารด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

- ตรวจแนะนำด้านกายภาพตามเกณฑ์ด้านสุขลักษณะของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ.2545 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ.2545 จำนวน 29 ร้าน - ตรวจสอบคุณภาพอาหารด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น - ตรวจสอบหาสารปนเปื้อนในอาหาร โดยเก็บตัวอย่างอาหารและส่งตรวจ ในพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

- ตรวจแนะนำด้านกายภาพตามเกณฑ์ด้านสุขลักษณะของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ.2545 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ.2545 จำนวน 134 ร้าน - ตรวจสอบคุณภาพอาหารด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น - ตรวจสอบหาสารปนเปื้อนในอาหาร โดยเก็บตัวอย่างอาหารและส่งตรวจ ในพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

- ตรวจแนะนำด้านกายภาพตามเกณฑ์ด้านสุขลักษณะของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ.2545 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ.2545 จำนวน 136 ร้าน - ตรวจสอบคุณภาพอาหารด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น - ตรวจสอบหาสารปนเปื้อนในอาหาร โดยเก็บตัวอย่างอาหารและส่งตรวจ ในพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ - ดำเนินการเบิกค่าอาหารทำการนอกเวลาราชการ จำนวน 10 วัน เป็นเงิน 10,000 บาท

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1. สถานประกอบการอาหาร หมายถึง ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี ตลาด ซูเปอร์- มาร์เก็ต และมินิมาร์ท ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 50 เขต 2. เกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย หมายถึง เกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ดังนี้ 2.1 ด้านสุขลักษณะทางกายภาพ อาคารสถานที่ (Place) ต้องผ่านเกณฑ์ด้านความสะอาดและสุขลักษณะของสถานที่ตามประเภทของสถานประกอบการอาหารนั้น 2.2 ด้านคุณภาพอาหาร (Food) ต้องผ่านเกณฑ์ ด้านความปลอดภัยของอาหาร ได้แก่ (1) อาหารและวัตถุดิบ สุ่มตรวจด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (test kit) ทางด้านเคมี อยู่ในเกณฑ์คุณภาพอาหารที่กำหนด ดังนี้ - ต้องไม่พบการปนเปื้อนของสารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว และสารกันรา - ต้องไม่พบสีสังเคราะห์ในอาหารที่ห้ามการใช้สี - ต้องไม่พบกรดแร่อิสระในน้ำส้มสายชู - ต้องไม่พบยาฆ่าแมลง และสารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหาร เกินเกณฑ์คุณภาพอาหารที่กำหนด (2) ตรวจความสะอาดของอาหารพร้อมบริโภค ภาชนะ อุปกรณ์ มือผู้สัมผัสอาหาร โดยใช้ชุดตรวจหา โคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น (SI-2) พบการปนเปื้อน ไม่เกินร้อยละ 10 (จำนวนตัวอย่างที่สุ่มตรวจให้เป็นไปตามแนวทางการเก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ของแต่ละประเภทสถานประกอบการอาหาร) 2.3 ด้านบุคลากร ผู้สัมผัสอาหาร (Food Handler) ต้องผ่านการอบรมหรือการเรียนรู้ด้วยตนเองตามหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหาร 3. บริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Service) หมายถึง สถานประกอบการอาหารมีการให้บริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างน้อย 4 ข้อ โดยต้องผ่าน ข้อมาตรฐานหลักทุกข้อ ดังนี้ (1) ไม่มีเหตุรำคาญจากการประกอบกิจการ (ข้อมาตรฐานหลัก) (2) ไม่ใช้ภาชนะที่ทำจากโฟม (ข้อมาตรฐานหลัก) (3) เลือกใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือได้รับการรับรองมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ (4) มีการคัดแยกขยะ เช่น ขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไปและขยะอันตราย เป็นต้น (5) มีการนำขยะอาหาร วัตถุดิบเหลือใช้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ (6) เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด หรือการกำจัดแมลงสัตว์นำโรคที่มีวิธีหรือส่วนประกอบจากธรรมชาติ (7) มีนโยบายให้ลูกค้านำภาชนะมาใส่อาหารเองได้ 4. มาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโรนา 2019(โควิด 19) ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข หมายถึง มาตรการของสถานประกอบการอาหารในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ประกอบด้วย (D-M-H-T-T-A) 4.1 Distancing จัดให้มีการเว้นระยะห่างในการเข้ารับบริการ 4.2 Mask wearing ผู้ประกอบกิจการ ผู้สัมผัสอาหาร ผู้เข้ารับบริการ ต้องสวมหน้ากากอนามัย 4.3 Hand washing จัดให้มีอุปกรณ์สำหรับล้างมือ สำหรับผู้ประกอบกิจการและผู้รับบริการ 4.4 Temperature จัดให้มีการวัดอุณหภูมิคัดกรอง ผู้ประกอบกิจการ ผู้เข้ารับบริการ 4.5 Testing จัดให้มีการตรวจหาเชื้อโควิด 19 (COVID-19) ในผู้ประกอบกิจการและพนักงานโดยใช้ชุดทดสอบอย่างง่าย 4.6 Application จัดให้มีการใช้แอปพลิเคชัน ทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามที่ทางราชการกำหนด เช่น ไทยชนะ หรือมีการลงบันทึกข้อมูลของผู้ประกอบกิจการและผู้รับบริการ 5. สถานประกอบการอาหารได้มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครมีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (โควิด 19) ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข หมายถึง สถานประกอบการอาหารมีการจัดตั้งสถานที่ที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบปรุง ผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ในการเตรียมประกอบปรุงและจำหน่ายอาหารที่สะอาด ปลอดภัยจากสารเคมีและเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค รวมทั้งมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19)

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

1. ร้อยละของสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครมีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คำนวณจากจำนวนสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครมีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งหมด หารด้วย จำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมด คูณ 100 2. ร้อยละของสถานประกอบการอาหารมีมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข คำนวณจากจำนวนสถานประกอบการอาหารที่มีมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขทั้งหมด หารด้วยจำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมด คูณ 100

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัยปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 2. ข้อมูลจำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3. ข้อมูลจำนวนสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครมีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 4. ข้อมูลจำนวนสถานประกอบการอาหารที่มีมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข 5. ระบบสารสนเทศงานสุขาภิบาลอาหาร และ BKK Food Safety Application

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง