รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูล : 5004-0851

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
20.00
100
100 / 100
2
40.00
100
100 / 100
3
80.00
100
100 / 100
4
100.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

- วิเคราะห์ข้อมูลหรือฐานข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน นำไปประกอบการตัดสินใจพัฒนาเป็นฐานข้อมูลตามตัวชี้วัด - ทบทวนสถานะข้อมูลที่จำเป็นต่อการพัฒนาเป็นฐานข้อมูล - นำข้อมูลจำเป็นตามภารกิจหลักมาจัดลำดับความสำคัญ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

- ได้จัดทำแผนพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงานและส่งให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล เรียบร้อยแล้ว

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

- จัดเก็บข้อมูลและนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่เขตในระบบบันทึกฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัด 4.1 ตามบัญชีรายการข้อมูลเชิงพื้นที่จำนวน 9 รายการ - ปรับปรุงแก้ไขข้อมูลในระบบบริหารจัดการพื้นที่เขตในกรุงเทพมหานคร (District Catalog)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

- นำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่เขตในระบบบันทึกฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัด 4.1 ตามบัญชีรายการข้อมูลเชิงพื้นที่ ปรับปรุงแก้ไขข้อมูลในระบบบริหารจัดการพื้นที่เขตในกรุงเทพมหานคร (District Catalog)

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และได้มีการรวบรวมเก็บไว้ในรูปแบบต่างๆ ในสื่อต่างๆ ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ โดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยไม่ได้บังคับว่าข้อมูลทั้งหมดนี้จะต้องเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูล (Data file) เดียวกันหรือแยกเก็บหลายๆ แฟ้มข้อมูล (Data file) ความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูล หมายถึง การจัดการฐานข้อมูล (Database) โดยการนำเข้าข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว ทันสมัย และมีการแบ่งปันการใช้งานข้อมูล ตามแผนการพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงาน และเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน และภาพรวมของกรุงเทพมหานคร

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

พิจารณาจากกระบวนการในการดำเนินงาน ทั้งการทบทวนระบบข้อมูลที่ต้องการในการปฏิบัติงานและ ติดตามผลการดำเนินงาน การวิเคราะห์และจัดทำรายละเอียดของข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ การจัดทำแผนพัฒนาระบบข้อมูล การพัฒนาฐานข้อมูล และการนำเข้าข้อมูลของหน่วยงาน โดยมีวิธีการดำเนินการทั้งหมด 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 หน่วยงานทบทวนสถานะข้อมูลที่จำเป็นต่อการพัฒนาเป็นฐานข้อมูล หรือฐานข้อมูลที่มีอยู่ (10 คะแนน) ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่นำไปประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร โดยพิจารณาจากนโยบาย แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร มาตรฐานบริการสาธารณะของกรุงเทพมหานคร เป็นต้น ขั้นตอนที่ 2 (10 คะแนน) หน่วยงานนำข้อมูลตามขั้นตอนที่ 1 ซึ่งเป็นข้อมูลจำเป็นตามภารกิจหลักมาจัดลำดับความสำคัญ และพิจารณาคัดเลือกภารกิจหลัก ที่จะดำเนินการพัฒนาเป็นฐานข้อมูล จำนวน 1 ฐานข้อมูล ขั้นตอนที่ 3 (20 คะแนน) เมื่อผ่านการพิจารณาจากสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลแล้ว หน่วยงานต้องจัดทำแผนพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงาน และส่งให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลภายในเดือนมกราคม 2563 โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้ 3.1 จัดทำรายละเอียดขอบเขตของข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ 3.2 กำหนดแหล่งข้อมูลในการจัดเก็บรวบรวม 3.3 ออกแบบการจัดเก็บข้อมูล 3.4 กำหนดผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลของหน่วยงาน 3.5 กำหนดเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูล 3.6 จัดทำปฏิทินการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด ขั้นตอนที่ 4 หน่วยงานดำเนินการพัฒนาฐานข้อมูล ซึ่งสามารถเชื่อมโยงการระบบสารสนเทศกรุงเทพมหานครที่สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลกำหนด ภายในเดือนพฤษภาคม 2563 (20 คะแนน) ขั้นตอนที่ 5 (40 คะแนน) หน่วยงานนำเข้าข้อมูลในฐานข้อมูลตามขั้นตอนที่ 4 โดยเริ่มนำข้อมูลเข้าครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 2563 ซึ่งการดำเนินงานตามตัวชี้วัดร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูลต้องเป็นไปตามแนวทางและปฏิทินที่สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลกำหนด และต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอนโดยไม่ข้ามขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง คะแนนรวม = ขั้นตอนที่ 1 + ขั้นตอนที่ 2 + ขั้นตอนที่ 3 + ขั้นตอนที่ 4 + ขั้นตอนที่ 5

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลตรวจสอบและประเมินผลตัวชี้วัดร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงาน ดังนี้ 1. แผนพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงานตามรูปแบบที่สำนักยุทธศาสตร์กำหนด 2. การนำเข้าข้อมูลในฐานข้อมูลของหน่วยงาน 3. การรายงานผลการดำเนินการพัฒนาฐานข้อมูลจากระบบติดตามและประเมินผลแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (Daily plans) และ BMA Monitor Application ซึ่งหน่วยงานผู้รับการประเมินต้องดำเนินการ ดังนี้ 3.1 มีการกำหนดโครงการ/กิจกรรมรองรับการดำเนินการพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงาน และรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามขั้นตอนของโครงการ/กิจกรรมที่กำหนด บันทึกเข้าสู่ระบบติดตามและประเมินผลแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (Daily plans) เป็นประจำทุกเดือน 3.2 รายงานผลตัวชี้วัดร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูลเข้าสู่ระบบติดตามและประเมินผลแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (Daily plans) อย่างต่อเนื่อง เป็นรายไตรมาส 3.3 ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด โครงการ/กิจกรรมของหน่วยงานที่รายงานเข้าสู่ระบบติดตามและประเมินผลแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (Daily plans) ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 ถือว่าเป็นข้อมูลผลดำเนินงานตามตัวชี้วัดร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูลที่สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงาน 4. กรณีระบบติดตามและประเมินผลแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (Daily plans) ขัดข้องไม่สามารถ เข้ารายงานความก้าวหน้าและผลการดำเนินการตามตัวชี้วัดโครงการ/ กิจกรรมได้ ขอให้หน่วยงานผู้รับการประเมินผลดำเนินการดังนี้ 4.1 ประสานเจ้าหน้าที่สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลทราบทันทีเพื่อให้ผู้รับการประเมินและผู้ประเมินรับทราบข้อมูลและมีหลักฐานที่ตรงกัน 4.2 คัดลอกหน้าจอช่วงที่ระบบขัดข้องเพื่อเป็นหลักฐาน และทำหนังสือรายงานผู้บริหารหน่วยงานทราบ และสำเนาแจ้งสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล พร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง 4.3 รายงานผลการดำเนินงานของตัวชี้วัด โครงการ กิจกรรมของรอบที่มีการขัดข้องทันทีที่ระบบสามารถใช้งานได้

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๕ - เทคโนโลยีสารสนเทศ
:๗.๕.๑ กรุงเทพมหานครให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส โดยประยุกต์%
:๗.๕.๑.๒ มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง