ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ :
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
1. สถานประกอบการอาหาร หมายถึง ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 50 เขต 2. เกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย หมายถึง เกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ดังนี้ 2.1 ด้านสุขลักษณะทางกายภาพ อาคารสถานที่ (Place) ต้องผ่านเกณฑ์ด้านความสะอาดและสุขลักษณะของสถานที่ตามประเภทของสถานประกอบการอาหาร และการควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายและบริโภคอาหาร 2.2 ด้านคุณภาพอาหาร (Food) ต้องผ่านเกณฑ์ด้านความปลอดภัย ได้แก่ (1) อาหารและวัตถุดิบ สุ่มตรวจด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test kit) ทางด้านเคมี อยู่ในเกณฑ์คุณภาพอาหารที่กำหนด ดังนี้ - ต้องไม่พบการปนเปื้อนของสารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว และสารกันรา - ต้องไม่พบกรดแร่อิสระในน้ำส้มสายชู - ต้องไม่พบยาฆ่าแมลง และสารโพลาร์ เกินเกณฑ์คุณภาพอาหารที่กำหนด (2) ตรวจความสะอาดของอาหารพร้อมบริโภค ภาชนะอุปกรณ์ มือผู้สัมผัสอาหาร โดยใช้ชุดตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น (SI - 2) พบการปนเปื้อน ไม่เกินร้อยละ 10 2.3 ด้านบุคลากร ผู้สัมผัสอาหาร (Food Handler) ต้องผ่านการอบรมหรือการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านการสุขาภิบาลอาหาร 2.4 ด้านบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Service) หมายถึง สถานประกอบการอาหารมีการให้บริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสถานประกอบการอาหารที่จะผ่านเกณฑ์ด้านบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ต้องมีการดำเนินการตามเกณฑ์ฯ อย่างน้อย 4 ข้อ โดยต้องผ่านข้อมาตรฐานหลักทุกข้อ ดังนี้ (1) ไม่มีเหตุรำคาญจากการประกอบกิจการ (ข้อมาตรฐานหลัก) (2) ไม่ใช้ภาชนะที่ทำจากโฟม (ข้อมาตรฐานหลัก) (3) เลือกใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือได้รับการรับรองมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ (4) มีการคัดแยกขยะ เช่น ขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไปและขยะอันตราย เป็นต้น (5) มีการนำขยะอาหาร วัตถุดิบเหลือใช้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ (6) เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด หรือการกำจัดแมลงสัตว์นำโรคที่มีวิธีหรือส่วนประกอบจากธรรมชาติ (7) มีนโยบายให้ลูกค้านำภาชนะมาใส่อาหารเองได้ 3. เกณฑ์การประเมินสถานประกอบการอาหารเพื่อให้การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ดังนี้ 3.1 ระดับดี / เกรด C (ระดับ 3 ดาว) ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินตามองค์ประกอบที่ 1 – 3 3.2 ระดับดีมาก / เกรด B (ระดับ 4 ดาว / Green Service) ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินครบทั้ง 4 องค์ประกอบ โดยด้านการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ต้องผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 4 ข้อ และต้องผ่านข้อมาตรฐานหลักทุกข้อ 3.3 ระดับดีเลิศ / เกรด A (ระดับ 5 ดาว / Green Service Plus) ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินครบทั้ง 4 องค์ประกอบ และต้องผ่านเกณฑ์ด้านบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้ง 7 ข้อ
1. ร้อยละของสถานประกอบการอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร 1.1 ระดับดี / เกรด C (ระดับ 3 ดาว) คำนวณจากจำนวนสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี / เกรด C (ระดับ 3 ดาว) หารด้วย จำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมด คูณ 100 1.2 ระดับดีมาก / เกรด B (ระดับ 4 ดาว / Green Service) คำนวณจากจำนวนสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดีมาก / เกรด B (ระดับ 4 ดาว / Green Service) หารด้วยจำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมด คูณ 100 1.3 ระดับดีเลิศ / เกรด A (ระดับ 5 ดาว / Green Service Plus) คำนวณจากจำนวนสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดีเลิศ / เกรด A (ระดับ 5 ดาว / Green Service Plus) หารด้วยจำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมด คูณ 100
1. ร้อยละของสถานประกอบการอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร 1.1 ระดับดี / เกรด C (ระดับ 3 ดาว) คำนวณจากจำนวนสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี / เกรด C (ระดับ 3 ดาว) หารด้วย จำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมด คูณ 100 1.2 ระดับดีมาก / เกรด B (ระดับ 4 ดาว / Green Service) คำนวณจากจำนวนสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดีมาก / เกรด B (ระดับ 4 ดาว / Green Service) หารด้วยจำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมด คูณ 100 1.3 ระดับดีเลิศ / เกรด A (ระดับ 5 ดาว / Green Service Plus) คำนวณจากจำนวนสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดีเลิศ / เกรด A (ระดับ 5 ดาว / Green Service Plus) หารด้วยจำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมด คูณ 100