ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
1. ดำเนินการประชุมเจ้าหน้าที่สายตรวจรับทราบนโยบายซักซ้อมแนวทางปฏิบัติแล้ว คิดเป็น 8 เปอร์เซ็นต์ 2. สำรวจผู้ค้าในจุดทำการค้าที่ รอประกาศกรุงเทพมหานคร จำนวน 4 จุด ได้แก่ หน้าอาคารโรเล็กซ์,ถนนสารสิน,ถนนหลังสวน,หน้าวัดดวงแข ผู้ค้าทั้งสิ้น 106 ราย คิดเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ สำรวจผู้ค้านอกจุดทำการค้า จำนวนว 28 จุด ผู้ค้า 577 ราย คิดเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ 3. จัดทำบัญชีผู้ค้าในจุดที่เสนอเป็นพื้นที่การค้า (รอประกาศกรุงเทพมหานคร) จำนวน 106 ราย คิดเป็น 7.2 เปอร์เซ็นต์ จัดทำบัญชีผู้ค้านอกจุดผ่อนผันบัญชีรายชื่อ 577 ราย คิดเป็น 7.2 เปอร์เซ็นต์ 4. กวดขันจัดระเบียบผู้ค้าให้ปฏิบัติตามพรบ.รักษาความสะอาดฯ และประกาศกรุงเทพมหานครฯ กฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ในจุดทำการค้ารอประกาศกรุงเทพมหานคร 4 จุด นอกจุดทำการค้าบัญชีรายชื่อ 28 จุดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คิดเป็น 12 เปอร์เซ็นต์ (เดือนตุลาคม 2565-ธันวาคม 2565) รวมผลดำเนินการทั้งสิ้น 54.4 เปอร์เซ็นต์
1. จัดทำบัญชีรายชื่อข้อมูลผู้ค้าในจุดทำการค้าที่รอประกาศกรุงเทพมหานคร จำนวน 4 จุด ผู้ค้า 108 ราย เสนอสำนักเทศกิจและได้รับ QR CODE เพื่อเป็นหลักฐานข้อมูลในการตรวจสอบครบทุกราย คิดเป็น 12 เปอร์เซ็นต์ 2. จัดทำบัญชีรายชื่อข้อมูลผู้ค้านอกจุดทำการค้า จำนวนว 28 จุด ผู้ค้า 577 ราย เสนอสำนักเทศกิจครบถ้วนทุกราย คิดเป็น 12 เปอร์เซ็นต์ 3. ตรวจพื้นที่กวดขันจัดระเบียบผู้ค้าในจุดทำการค้ารอประกาศกรุงเทพมหานคร จำนวน 4 จุด และนอกจุดทำการค้าบัญชีรายชื่อ 28 จุด อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง (เดือนมกราคม 2566-มีนาคม 2566) ความคืบหน้าคิดเป็น 12 เปอร์เซ็นต์ ผลดำเนินการครั้งที่ 2 มีความคืบหน้าเพิ่มขึ้นจำนวน 36 เปอร์เซ็นต์
ดำเนินการกวดขันจัดระเบียบผู้ค้าให้ปฏิบัติตามพรบ.รักษาความสะอาดฯ และประกาศกรุงเทพมหานครฯ กฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ในจุดทำการค้าที่รอประกาศกรุงเทพมหานคร จำนวน 4 จุด นอกจุดทำการค้าบัญชีรายชื่อ จำนวน 28 จุด อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง (เดือนเมษายน 2566-มิถุนายน 2566) ความคืบหน้าคิดเป็น 12 เปอร์เซ็นต์ ผลดำเนินการในไตรมาสที่ 3 มีความคืบหน้าคิดเป็น 88 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ รายละเอียดปรากฏตามตารางแผนปฏิบัติการแนบท้าย และได้ยกเลิกผู้ค้านอกจุดทำการค้าบัญชีรายชื่อถนนอังรีดูนังต์ ฝั่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และฝั่งราชกรีฑาสโมสร จำนวน 2 จุด ผู้ค้า 46 ราย คงเหลือ 26 จุด ผู้ค้า 531 ราย (ยกเลิกวันที่ 3 มิถุนายน 2566)
ดำเนินการกวดขันจัดระเบียบผู้ค้าให้ปฏิบัติตามพรบ.รักษาความสะอาดฯ และประกาศกรุงเทพมหานครฯ กฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องในจุดทำการค้า (รอประกาศกรุงเทพมหานคร) จำนวน 4 จุด นอกจุดทำการค้าบัญชีรายชื่อ จำนวน 26 จุด อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง (เดือนกรกฎาคม 2566-กันยายน 2566) ความคืบหน้าคิดเป็น 12 เปอร์เซ็นต์ ผลดำเนินการในไตรมาสที่ 4 มีความคืบหน้าคิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินการ รายละเอียดปรากฏตามตารางแผนปฏิบัติการแนบท้าย และได้ยกเลิกผู้ค้าตลาดโบ๊เบ๊ สะพาน 1-4 และตลาดโบ๊เบ๊ริมคลองรวม 5 จุด ผู้ค้า 110 ราย คงเหลือ 21 จุด ผู้ค้า 421 ราย
1. บัญชีข้อมูล หมายถึง 1. บัญชีข้อมูลจุดทำการค้าหาบเร่-แผงลอยที่อนุญาตให้ทำการค้าตามประกาศกรุงเทพมหานคร 2. บัญชีผู้ค้าหาบเร่-แผงลอยที่ได้รับอนุญาตให้ทำการค้า ณ จุดทำการค้าหาบเร่-แผงลอยตามประกาศกรุงเทพมหานคร 3. บัญชีข้อมูลจุดทำการค้าหาบเร่-แผงลอย นอกจุดอนุญาตให้ทำการค้าตามประกาศกรุงเทพมหานคร ตามข้อ 1 4. บัญชีผู้ค้าหาบเร่-แผงลอย นอกจุดอนุญาตให้ทำการค้าตามประกาศกรุงเทพมหานคร ตามข้อ 3 2. พื้นที่ทำการค้าหาบเร่-แผงลอย หมายถึง 1. พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการค้าตามประกาศกรุงเทพมหานคร และ/หรือ 2. พื้นที่ที่ไม่รับอนุญาตตามประกาศกรุงเทพมหานคร แต่กำหนดให้เป็นพื้นที่ผ่อนผันทำการค้าชั่วคราว 3. ระดับความสำเร็จ หมายถึง ความสำเร็จในการดำเนินการตามภารกิจของหน่วยงานครบตามขั้นตอนที่กำหนดไว้
ผลการดำเนินงานที่ทำได้เทียบกับระดับความสำเร็จ
เก็บข้อมูลจากแผน/รายงานการดำเนินงานแต่ละขั้นตอน 1. บัญชีข้อมูล 2. ประกาศกรุงเทพมหานคร 3. แผนงาน (Roadmap)/แนวทางการปฏิบัติของสำนักเทศกิจ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินงาน การกำหนดรูปแบบและวิธีการรายงานผลการดำเนินงานของหน่วยงานและการตรวจสอบผลการดำเนินงาน 4. รายงานการปฏิบัติงาน/ดำเนินการตามแผนฯ 5. รายงานการตรวจตรา ควบคุม กวดขัน กำกับการปฏิบัติงาน 6. รายงานการประเมินผลเชิงปริมาณรายเดือน และเชิงคุณภาพรายไตรมาส 7. เอกสารอื่น ๆ เช่น แหล่งข้อมูลแสดงการเผยแพร่การดำเนินโครงการ รูปถ่าย VDO ฯลฯ
:ยุทธศาสตร์ที่ ๔ –การเชื่อมโยงเมืองที่มีความคล่องตัวและระบบบริการสาธารณะแบบบูรณาการ |
:๔.๓ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีรูปแบบการจัดการภูมิทัศน์เมืองอย่างยั่งยืน |
:๔.๓.๑ กรุงเทพมหานครมีการปรับปรุงองค์ประกอบทางภูมิทัศน์เมืองและส่งเสริมอัตลักษณ์และทัศนียภาพในการรับร% |
:๔.๓.๑.๒ ปรับปรุงบริเวณสำคัญตามที่ผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะที่สอดคล้องกับผังเมืองรวม หรือพิจารณาเพิ่มเติมในอนาคต ให้มีองค์ประกอบทาง ภูมิทัศน์เมืองเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์และทัศนียภาพในการรับรู้ของเมือง |