ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
อยู่ระหว่างสรุปการตรวจสอบกล้อง CCTV ประจำเดือนธันวาคม 2560
- อยู่ระหว่างขั้นตอนการตรวจสอบและรายงานผลประจำเดือนมีนาคม 2561
-อยู่ระหว่างขั้นตอน 1.ชุดสายตรวจออกปฏิบัติหน้าที่ตรวจตราดูแลความสงบเรียบร้อยความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนพร้อมทั้งรับเรื่องราวร้องเรียนต่าง ๆ 2.การตรวจสอบและรายงานผลประจำเดือนมิถุนายน 2561 ของกล้อง CCTV 3.ตรวจสอบไฟฟ้าส่องสว่างเพื่อความปลอดภัยของประชาชน
-คิดเป็นร้อยละ 100 1. เจ้าหน้าที่ชุดสายตรวจลงลายมือชื่อตรวจจุดเสี่ยงภัยจำนวน 2 ครั้ง/วัน/จุด จำนวน 12 จุดเสี่ยง รวม 8,214 ครั้ง (ข้อมูล 12 ก.ย. 61) โดยหัวหน้าฝ่ายเทศกิจ หรือหัวหน้างานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน และมีการรายงานการปฏิบัติหน้าที่การให้บริการและสรุปแบบสำรวจความพึงพอใจเสนอผู้บังคับบัญชาทราบทุกเดือน 2.การตรวจสอบและรายงานผลประจำเดือนของกล้อง CCTV 3.ตรวจสอบไฟฟ้าส่องสว่างเพื่อความปลอดภัยของประชาชน
- จุดเสี่ยงภัย หมายถึง จุดที่กรุงเทพมหานครสำรวจว่าเป็นจุดเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม (รวมกับจุดที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลสำรวจ) จุดเสี่ยงต่อ ความปลอดภัยทางถนน และท่าเทียบเรือ - การเฝ้าระวังและตรวจตรา หมายถึง สำนักเทศกิจ และสำนักงานเขต มีการดำเนินการเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยจากอาชญากรรม ความปลอดภัยทางถนน และท่าเทียบเรือ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดังนี้ 1. จุดเสี่ยงภัยได้รับการตรวจตรา และตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของกล้องวงจรปิด (CCTV) 2. จุดเสี่ยงภัยได้รับการปรับสภาพแวดล้อม ด้วยการตัดต้นไม้ที่รกทึบ ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง ติดป้ายประชาสัมพันธ์ป้องกันอาชญากรรม ทำความสะอาดป้ายรถประจำทาง 3. ดำเนินการเฝ้าระวังความปลอดภัยจากอาชญากรรมและความปลอดภัยทางถนน เช่น กลับบ้านปลอดภัยไปกับเทศกิจ การจัดกิจกรรมเทศกิจอาสาจราจรพาน้องข้ามถนน ฯลฯ 4. ดำเนินการตรวจตราความปลอดภัยบริเวณท่าเทียบเรือ การวัดผลสัมฤทธิ์ของตัวชี้วัด 1. สำนักเทศกิจ มีข้อมูลจุดเสี่ยงภัยของสำนักงานเขต จำนวน 1 ชุด 2. สำนักงานเขต มีการจัดทำแผนเฝ้าระวังและตรวจตรา จุดเสี่ยงภัย ดังนี้ 2.1 จุดเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม มีการตรวจตรา 2 ครั้ง/วัน/จุด (ฝ่ายเทศกิจ) 2.2 จุดเสี่ยงภัยที่ติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) มีการตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของกล้องวงจรปิด (CCTV) 1 ครั้ง/วัน/จุด หากพบว่ามีการชำรุดให้จัดทำหนังสือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไข (ฝ่ายเทศกิจ) 2.3 จุดเสี่ยงภัยได้รับการปรับสภาพแวดล้อมด้วย การดูแลตัดต้นไม้ ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง ติดป้ายประชาสัมพันธ์ ป้องกันอาชญากรรม ทำความสะอาดบริเวณป้ายรถประจำทาง ฯลฯ (ฝ่ายเทศกิจ ฝ่ายรักษาฯ ฝ่ายโยธา) 2.4 ปฏิบัติหน้าที่อำนวยความสะดวกด้านการจราจร ตามโครงการอาสาพาน้องข้ามถนนและอาสาจราจร จำนวน 2 ครั้ง/วัน/จุด (ฝ่ายเทศกิจ) 3. สำนักงานเทศกิจ มีการจัดทำแผนเฝ้าระวังและตรวจตราจุดเสี่ยงภัย 3.1 จุดเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม มีการตรวจตรา 1 ครั้ง/เดือน/จุด 3.2 จุดเสี่ยงภัยที่ติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) มีการตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงาน 1 ครั้ง/เดือน/จุด หากพบว่ามีการชำรุดให้จัดทำหนังสือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไข 3.3 ปฏิบัติหน้าที่อำนวยความสะดวกด้านการจราจร ตามโครงการอาสาพาน้องข้ามถนนและอาสาจราจร 2 ครั้ง/วัน/จุด 3.4 ท่าเทียบเรือ (ตั้งแต่สะพานซังฮี้ – สะพานกรุงเทพ) มีการตรวจตราความปลอดภัย จำนวน 2 ครั้ง/วัน- 4. สำนักเทศกิจ และสำนักงานเขต ดำเนินการตามแผนการเฝ้าระวังและตรวจตราจุดเสี่ยงภัย พร้อมรายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บริหารหน่วยงานทราบเป็นประจำทุกเดือน 5. สำนักเทศกิจ ติดตามผลการดำเนินงานตามแผน การเฝ้าระวังและตรวจตราจุดเสี่ยงภัยของทุกสำนักงานเขต และสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมรายไตรมาส ให้ผู้บริหารกรุงเทพมหานครทราบ
จำนวนจุดเสี่ยงภัย (จุดเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม จุดเสี่ยงต่อความปลอดภัยทางถนน และท่าเทียบเรือ) ทุกจุด ในพื้นที่ที่รับผิดชอบได้รับการเฝ้าระวังและตรวจตรา
สำนักเทศกิจ ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการเฝ้าระวังและตรวจตราจุดเสี่ยงภัยของทุกสำนักงานเขต และสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมรายไตรมาส ให้ผู้บริหารกรุงเทพมหานครทราบ
:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
:๑.๒ - ปลอดอาชญากรรมและยาเสพติด |
:๑.๒.๑ ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน% |
:๑.๒.๑.๑ เสริมสร้างความปลอดภัยเพื่อลดความล่อแหลมของสภาพแวดล้อมต่อการก่อ อาชญากรรม |