รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมสถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร : 5007-2017

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
20.00

0 / 0
2
50.00

0 / 0
3
800.00

0 / 0
4
100.00

0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ในช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคมที่ผ่านมา ได้ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติงานตามโครงการ แผนปฏิบัติงานโครงการกรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัยในพื้นที่เขตดุสิต

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

1. ปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงานโครงการ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - มีนาคม 2566 มีสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย จำนวน 187 แห่ง จากสถานประกอบการอาหาร จำนวน 370 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 50.54 2. จัดประชุมเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน ระดับเขต เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

- เดือนเมษายน ปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงานโครงการ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - เมษายน 2566 มีสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย จำนวน 243 แห่ง จากสถานประกอบการอาหาร จำนวน 370 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 65.68 - เดือนพฤษภาคม 1. ปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงานโครงการ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - พฤษภาคม 2566 มีสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย จำนวน 278 แห่ง จากสถานประกอบการอาหาร จำนวน 370 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 75.14 2. ตรวจประเมินสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน จำนวน 13 แห่ง เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด - เดือนมิถุนายน 1. ปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงานโครงการ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - มิถุนายน 2566 มีสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย จำนวน 314 แห่ง จากสถานประกอบการอาหาร จำนวน 370 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 84.86 2. ตรวจประเมินสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน จำนวน 26 แห่ง เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด 3. ดำเนินกิจกรรมพัฒนาสุขาภิบาลริมบาทวิถี วันที่ 19 มิถุนายน 2566 4. ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย วันที่ 22 มิถุนายน 2566

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

- เดือนกรกฎาคม 1. ปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงานโครงการ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - กรกฎาคม 2566 มีสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย จำนวน 350 แห่ง จากสถานประกอบการอาหาร จำนวน 370 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 94.59 2. ตรวจประเมินสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน จำนวน 46 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด - เดือนสิงหาคม 1. ปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงานโครงการ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - สิงหาคม 2566 มีสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย จำนวน 357 แห่ง จากสถานประกอบการอาหาร จำนวน 357 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด 2. ตรวจประเมินสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน จำนวน 46 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด สรุปผลการดำเนินงานรายงานผู้บริหารทราบ

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1. สถานประกอบการอาหาร หมายถึง ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท ในพื้นที่เขต 2. เกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ดังนี้ 1) ด้านสุขลักษณะทางกายภาพ อาคารสถานที่ (Place) ต้องผ่านเกณฑ์ด้านความสะอาดและสุขลักษณะของสถานที่ตามประเภทของสถานประกอบการอาหาร และการควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายและบริโภคอาหาร 2) ด้านคุณภาพอาหาร (Food) ต้องผ่านเกณฑ์ด้านความปลอดภัย อาหารและวัตถุดิบ สุ่มตรวจด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test kit) โดยไม่พบการปนเปื้อนของสารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว สารกันรา สีสังเคราะห์ กรดแร่อิสระ ยาฆ่าแมลง สารไอโอเดท สารโพลาร์ วัตถุกันเสีย ซาลโมเนลา และโคลิฟอร์มแบคทีเรีย 3) ด้านบุคลากร ผู้สัมผัสอาหาร (Food Handler) ต้องผ่านการอบรมหรือการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านการสุขาภิบาลอาหาร

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

(จำนวนสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร/จำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่เขต) x คูณด้วย 100

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

ฝ่ายที่รับผิดชอบรายงานผลการดำเนินงานรายเดือนเป็นหน่วยร้อยละ และรายละเอียดของการดำเนินงาน

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง