ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
ในช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม ได้จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจกวดขันและบังคับใช้กฎหมายไม่ให้ประชาชนฝ่าฝืนนำรถยนต์มาจอดกีดขวางการจราจร นำสิ่งของมาตั้ง วาง กองบนถนนในลักษณะกีดขวางการจราจร เบียดบังทางสาธารณะเพื่อประโยชน์ส่วนตัว และบดบังทัศนียภาพของเมือง อย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง/ถนน รวมถึงสอดส่องดูแลความเรียบร้อยพื้นที่ และ ดูแลทำความสะอาดผิวถนนเป้าหมาย อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
- กวดขันและบังคับใช้กฎหมายไม่ให้ประชาชนฝ่าฝืนนำรถยนต์มาจอดกีดขวางการจราจร นำสิ่งของมาตั้ง วาง กองบนถนนในลักษณะกีดขวางการจราจร เบียดบังทางสาธารณะเพื่อประโยชน์ส่วนตัว และบดบังทัศนียภาพของเมือง อย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง/ถนน สรุป ตรวจตั้งแต่วันที่ 1 -31 ธันวาคม 2565 รวม 744 ครั้ง ซ่อมแซมพื้นผิวจราจรชำรุด 4 ครั้ง ล้างทำความสะอาดถนน 12 ครั้ง - เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทศกิจดำเนินการตามแผน ตรวจตราความเป็นระเบียบเรียบร้อยของผิวถนนเป้าหมาย วันละ 2 ครั้ง/ถนน ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 20 มีนาคม 2566 รวม 48 วัน คิดเป็น 96 ครั้ง/ถนน (ถนนเป้าหมาย 12 ถนน รวม 1152 ครั้ง) 1.จัดเจ้าหน้าที่ตรวจตรางและประชาสัมพันธ์มิให้ประชาชน ตั้ง วาง หรือกองวัตถุใดๆ บนถนน วันละ 2 ครั้ง/ถนน 2.กรณีพบผู้ฝ่ายฝืนให้ดำเนินการเปรียบเทียบปรับ ผลการดำเนินการไม่พบผู้กระทำความผิด
ฝ่ายเทศกิจตรวจตราถนนในพื้นที่เขตดุสิต จำนวน 12 ถนน ดังนี้ 1. ตรวจตราวันละ 2 ครั้ง/ถนน กวดขันมิให้มีการตั้งวางหรือกองวัตถุใดๆ บนถนน หรือผิวจราจร 2. พบกรณีถนนชำรุดได้ดำเนินการแจ้งฝ่ายโยธาเพื่อดำเนินการแก้ไข จำนวน 2 เรื่อง
ฝ่ายเทศกิจดำเนินการตามโครงการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 ถึง เดือนกันยายน 2566 รวมผลการตรวจตราถนนเป้าหมายทั้งหมด 12 ถนน ดังนี้ 1. ตรวจตราวันละ 2 ครั้ง/ถนน รวมตรวจตราทั้งสิ้น 8016 ครั้ง 2. พกป้ายโฆษณาที่ผิดกฎหมาย 29 ป้า ดำเนินการแก้ไขเรียบร้อย 3. พบฝาท่อ ทางเท้าชำรุด ต่างๆ รวม 22 ครั้ง ฝ่ายโยธาดำเนินการแก้ไขเรียบร้อย
- ผู้เสียชีวิต หมายถึง ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ทั้งการเสียชีวิตที่จุดเกิดเหตุ ระหว่างนำส่งจนถึงโรงพยาบาล และที่โรงพยาบาล - อัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่อประชากรแสนคน หมายถึง จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนหารด้วยจำนวนประชากรกลางปีตามทะเบียนราษฎร์กรุงเทพมหานครรายปีปัจจุบัน+ด้วยประชากรแฝง และคูณด้วย 100,000 คน - Heat Map คือ แผนที่แสดงความหนาแน่นของจุดหรือบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุบนแผนที่ Longdo Map ซึ่งดูได้จาก https://mapdemo.longdo.com/bkk-accidents-clusters/ โดยข้อมูลใน Heat Map เก็บรวบรวมจาก มูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยไทย (iTic) และบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด (ThaiRSC) - Risk Map คือ แผนที่แสดงจุดหรือบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุ และมีผู้บาดเจ็บ (หมุดสีส้ม) ผู้เสียชีวิต(หมุดสีแดง) ดูได้จาก http://www.ThaiRSC.com ข้อมูลใน Risk Map เก็บรวบรวมจากบริษัทประกันภัย,สำนักงานตำรวจแห่งชาติ,โรงพยาบาล และมูลนิธิช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่าง ๆ - จุดเสี่ยงอุบัติเหตุ หมายถึง จุดเกิดอุบัติเหตุที่มีความถี่ การเกิดไม่น้อยกว่า 3 ครั้งในรอบ 1 ปี โดยมีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยพิจารณาคัดเลือกจุดเสี่ยงจากฐานข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุ กำหนดให้เป็นจุดดำเนินการในปีงบประมาณที่ประเมิน ดังนี้ 1.จุดเสี่ยงอุบัติเหตุจาก Heat Map ใน 100 ลำดับแรกของคลัสเตอร์ตามความหนาแน่นของจุดเกิดอุบัติเหตุ โดยใช้ข้อมูลของ ThaiRSC และ iTIC ประกอบกัน (จำนวน100 จุด) 2.จุดเสี่ยงอุบัติเหตุ ในสำนักงานเขตที่ไม่อยู่ใน 100 คลัสเตอร์ จำนวน 15 เขต โดยกำหนดจุดเสี่ยงจากข้อมูลจุดเสี่ยงของสำนักงานเขตที่เคยส่งในตัวชี้วัดเจรจาตกลงฯ ประจำปีงบประมาณ 2565 ที่ยังไม่ได้ดำเนินการ สำนักงานเขตละ 1 จุด (จำนวน 15 จุด) - จุดดำเนินการ หมายถึง จุดเสี่ยงอุบัติเหตุที่กำหนดก่อนดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุง ในปีงบประมาณที่ประเมิน - แผนปฏิบัติการ (Action Plan) หมายถึง แผน ซึ่งหน่วยงาน จัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานหรือกิจกรรมที่ส่งผลต่อความสำเร็จของตัวชี้วัด โดยบรรจุรายละเอียดถึงกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ พร้อมระยะเวลาดำเนินการแต่ละขั้นตอน ทั้งนี้ให้หมายรวมถึง แผนที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนกวดขันวินัยจราจรและ/หรืออำนวยการจราจรและผู้สัญจร เป็นต้น - บันทึกส่งมอบผลผลิต หมายถึง เอกสารที่กำหนดให้หน่วยงานร่วมจะต้องดำเนินการส่งผลผลิตสนับสนุนตัวชี้วัด ตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ - ผลผลิต หมายถึง หน่วยผลผลิตที่เกิดขึ้นจากกระบวนการและกิจกรรมตามภารกิจของหน่วยงานซึ่งได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ เพื่อสนับสนุนตัวชี้วัดนี้ - หน่วยงาน หมายรวมถึง ดังนี้ • หน่วยงานหลัก หมายถึง หน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานครที่เป็นเจ้าของตัวชี้วัด และมีอำนาจในการบริหารจัดการในภาพรวม ได้แก่ สำนักการจราจรและขนส่ง • หน่วยงานรอง หมายถึง หน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานครที่มีภารกิจและตัวชี้วัดเฉพาะ ที่สนับสนุนการขับเคลื่อนตัวชี้วัดนี้ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ ในที่นี้ หมายถึง สำนักการโยธา สำนักเทศกิจ สำนักงานเขต สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร • หน่วยงานสนับสนุน หมายถึง หน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่ไม่ได้นำตัวชี้วัดนี้ไปประเมินผลการปฏิบัติราชการ แต่มีภารกิจสนับสนุนการดำเนินงานตัวชี้วัด • หน่วยงานอื่น หมายถึง หน่วยงานที่ไม่ได้สังกัดกรุงเทพมหานคร แต่มีภารกิจที่ต้องสนับสนุนการขับเคลื่อนตัวชี้วัดนี้ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ เช่น ตำรวจ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท บริษัทกลาง มูลนิธิต่าง ๆ เป็นต้น - คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน หมายถึงคณะอนุกรรมการ/คณะทำงานที่ถูกจัดตั้งขึ้นขับเคลื่อนให้เป็นไปตามตัวชี้วัดนี้
วัดผลจากร้อยละความสำเร็จในการดำเนินการตามภารกิจตามที่หน่วยงานหลัก/หน่วยงานรองระดับสำนักมอบหมาย โดยคำนวณจาก จำนวนกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานหลักฯและรอง ดำเนินการสำเร็จหารด้วยจำนวนกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงาน ทั้งหมดคูณด้วย 100 จากนั้นนำไปเทียบกับเกณฑ์วัดผลความสำเร็จ
1) รายงานการประชุม ศปถ.เขต 2) เอกสารที่แสดงถึงภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานระดับสำนัก 3) หลักฐานที่แสดงถึงการปฏิบัติตามการมอบหมายจากหน่วยงานระดับสำนัก เช่น เอกสาร ภาพถ่าย เป็นต้น 4) หลักฐานการประสานงานกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) 5) รายงานผลการดำเนินงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานระดับสำนัก
:ยุทธศาสตร์ที่ ๑ –การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ |
:๑.๒ - ปลอดอุบัติเหตุ |
:๑.๒.๒ ลดอุบัติเหตุทางถนน% |
:๑.๒.๒.๒ การตรวจสอบสภาพถนนและปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย (Black Spot) |