ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 0
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
รอสำนักการระบาบน้ำกำหนดแนวทางการดำเนินงานตามตัวชี้วัด
1.สำนักการระบายน้ำเชิญประชุมทุกส่วนราชการเพื่อให้หน่วยงานดำเนินการตามตัวชี้วัด เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 2.สำนักงานเขตจัดส่งแผนปฏิบัติการพัฒนาคลองลาดพร้าวในพื้นที่เขตให้สำนักการระบายน้ำ ในวันที่ 10 เมษายน 2566 เรียบร้อยแล้ว
นิยาม การปรับภูมิทัศน์คลอง หมายถึง การปรับภูมิทัศน์ของพื้นที่ ตลอดแนวคลองเป้าหมายให้มีความสวยงาม สะอาด ปลอดภัย สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของพื้นที่ และมีความโดดเด่นเป็นอัตลักษณ์ ทั้งภูมิทัศน์ที่เป็นแหล่งธรรมชาติและสถานที่ที่ถูกสร้างขึ้น และบำรุงรักษาให้เกิดความยั่งยืน รวมถึงการพัฒนาต่อยอด เชิงพื้นที่หรือย่านที่สำคัญตามแนวคลอง เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ เอกลักษณ์ หมายถึง ลักษณะเด่นของท้องถิ่น/พื้นที่ที่แสดงให้เห็น ความแตกต่างจากท้องถิ่นอื่น ขึ้นอยู่กับสภาพตามธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เศรษฐกิจ และสังคม (เป็นสิ่งตายตัวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้) เช่น สภาพภูมิศาสตร์ พืชพันธุ์ไม้ สัตว์ ภาษาถิ่น ประเพณีท้องถิ่นศิลปะหัตถกรรม อาหาร การกิน เทคโนโลยี แฟชั่น ฯลฯ อัตลักษณ์ หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใด สิ่งหนึ่งที่โดดเด่น ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่รู้จักหรือจำได้ (สามารถ สร้างใหม่หรือเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาให้ดีขึ้นได้) เช่น การประดับ ตกแต่งต่าง ๆ สร้างพื้นที่ย่านให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์สอดคล้อง กับแต่ละพื้นที่โดยใช้แนวทางการพัฒนาในรูปแบบ Tactical Urbanism, Urban Renewal เป็นต้น ภารกิจของหน่วยงาน/ส่วนราชการฯ ที่เกี่ยวข้อง ภารกิจส่วนที่ 1 จัดทำแผนการปรับภูมิทัศน์คลองของหน่วยงาน และดำเนินงานตามแผนฯ (คะแนนร้อยละ 40) 1. สำนักการระบายน้ำ 1.1 บริหารจัดการภาพรวมกระบวนการขับเคลื่อนตัวชี้วัด 1) จัดประชุมหารือร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างช่องทางการประสานงานสำหรับผู้รับผิดชอบหลัก/ผู้แทนของ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2) จัดทำแผนปฏิบัติการปรับภูมิทัศน์คลองของ กรุงเทพมหานคร ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ตามภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1.2 คัดเลือกพื้นที่หรือย่านสำคัญตามแนวคลองเป้าหมาย ดำเนินการพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและยกระดับ คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ 1.3 ตรวจสอบและบำรุงรักษาสภาพคลอง 1.4 จัดทำหลักเกณฑ์การประเมินผลและให้คะแนน ในภาพรวมตามตัวชี้วัดที่กำหนด และสรุปผลการดำเนินงาน ส่งสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล และรายงานนำเรียนผู้บริหาร กรุงเทพมหานครทราบ 1.5 ถอดบทเรียนจากการดำเนินงาน/กิจกรรม การปรับภูมิทัศน์คลองของกรุงเทพมหานคร อย่างน้อยครอบคลุม 3 ด้าน คือ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม 2. สำนักสิ่งแวดล้อม 2.1 ร่วมกิจกรรมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด 2.2 บริหารจัดการการพัฒนาพื้นที่สีเขียวตามแนวคลอง ในพื้นที่เป้าหมายที่ตกลงร่วมกัน โดยกำหนดหลักเกณฑ์การประเมิน ความสำเร็จและสนับสนุนด้านการวางแผนภาพรวม องค์ความรู้ การออกแบบ เครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการปลูกต้นไม้หรือตกแต่งไม้ดอกไม้ประดับ และกำหนดแผนการบำรุงรักษาเพื่อความยั่งยืน 2.3 บริหารจัดการขยะในภาพรวม โดยกำหนดหลักเกณฑ์ การประเมินความสำเร็จและสนับสนุนด้านการวางแผนภาพรวม องค์ความรู้ การออกแบบ เครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ เครื่องจักรกลและยานพาหนะสำหรับการเก็บขนมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและไขมัน ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. สำนักการโยธา 3.1 ร่วมกิจกรรมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด 3.2 บริหารจัดการภาพรวมดำเนินการในพื้นที่เป้าหมาย โดยกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินความสำเร็จและสนับสนุน การสำรวจและออกแบบตามหลักอารยสถาปัตย์ (Universal Design) และจัดสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว ตามแนวคลอง พื้นที่หรือย่านริมคลอง และสะพานข้ามคลอง 3.3 ดำเนินโครงการตาม ข้อ 3.2 กรณีได้รับงบประมาณ กรณีที่ไม่ได้รับงบประมาณ ให้ของบประมาณเพื่อดำเนินการ ต่อในปีถัดไป 3.4 ตรวจสอบและบำรุงรักษาสะพานข้ามคลองให้อยู่ในสภาพ พร้อมใช้งาน กรณีใช้งบประมาณให้ระบุโครงการ/กิจกรรมพร้อม รายละเอียดของรูปแบบและแบบประมาณราคาเตรียมขอจัดสรร งบประมาณ 3.5 ติดตามประเมินผลและสรุปผลความก้าวหน้าต่อผู้บริหาร กรุงเทพมหานคร ในกรณีการปรับปรุงแก้ไข ตามข้อ 3.2 ทั้งในส่วนของสำนักการโยธาและสำนักงานเขต 4. สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง 4.1 ร่วมกิจกรรมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด 4.2 ศึกษา พิจารณาคัดเลือกย่านที่มีความสำคัญ ตามแนวคลองเป้าหมายที่กำหนด โดยเลือกพื้นที่เป้าหมาย เพื่อวัตถุประสงค์นำไปใช้ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ หรือพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและ เกษตรกรรม และจัดทำข้อเสนอแนะการนำพื้นที่ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น คลองขุนราชพินิจใจ คลองเฉลิมชัยพัฒนา คลองบางมด โดยมีชายทะเลบางขุนเทียนเป็น จุดมุ่งหมายสำคัญ ฯลฯ 4.3 จัดทำรายละเอียดแผนที่มรดกทางวัฒนธรรมในย่าน ที่สำคัญตามที่ได้รับการศึกษา เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้พัฒนา ต่อยอดในการจัดกิจกรรมการพัฒนาเมืองต่อไป 5. สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว 5.1 ร่วมกิจกรรมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด 5.2 จัดให้มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว นันทนาการ และการกีฬา ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตคลอง ตามที่กำหนดไว้ ในรายงานการศึกษาในแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 6. สำนักการจราจรและขนส่ง 6.1 ร่วมกิจกรรมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด 6.2 ดำเนินการตามแผนพัฒนาที่กำหนดไว้เมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประกอบด้วย 6.2.1 เส้นทางการสัญจร 6.2.2 จุดเชื่อมต่อการเดินทาง 6.2.3 ติดตั้งระบบกล้อง CCTV ป้ายบอกทาง และเครื่องหมายจราจร 6.3 จัดทำแผนพัฒนาเส้นทางการสัญจร และจุดเชื่อมต่อ การเดินทางที่เหมาะสม และแผนติดตั้งกล้อง CCTV ในคลองเป้าหมายที่กำหนดเพิ่มเติม กรณีใช้งบประมาณ ให้ระบุโครงการ/กิจกรรมพร้อมรายละเอียดของรูปแบบ และแบบประมาณราคาเตรียมขอจัดสรรงบประมาณ 6.4 ตรวจสอบ และบำรุงรักษาอุปกรณ์ในความรับผิดชอบ (สายสาธารณูปโภค กล้อง CCTV และป้ายบอกทาง) บริเวณท่าเทียบเทียบเรือ ทางจักรยานและทางเดินริมคลอง ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 6.5 ติดตามประเมินผลและสรุปผลความก้าวหน้าต่อผู้บริหาร กรุงเทพมหานคร ในกรณีการปรับปรุงแก้ไข ตามข้อ 6.2 7. สำนักเทศกิจ 7.1 ร่วมกิจกรรมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด 7.2 บริหารจัดการด้านความปลอดภัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยกำหนดเกณฑ์การประเมินความสำเร็จ และสนับสนุนด้านวางแผน ภาพรวม องค์ความรู้ การออกแบบ เครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ให้กับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริเวณเส้นทางสัญจรริมคลองและท่าเทียบเรือ 8. สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร 8.1 ร่วมกิจกรรมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด 8.2 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น YouTube, Facebook เป็นต้น เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับ การปรับภูมิทัศน์คลองให้ประชาชนรับรู้การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานครเป็นรายพื้นที่เป้าหมาย 8.3 ประเมินผลความพึงพอใจของประชาชนต่อผลของกิจกรรม ในพื้นที่เป้าหมายในรูปแบบออนไลน์ และสรุปผล ส่งให้สำนักการระบายน้ำ ภายในระยะเวลาที่กำหนด 9. สำนักพัฒนาสังคม 9.1 ร่วมกิจกรรมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด 9.2 สร้างภาคีเครือข่าย และส่งเสริมกิจกรรมให้ประชาชน ในพื้นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาคลอง ผ่านระบบเครือข่ายสังคม ออนไลน์ (Social Network) 10. สำนักงานเขต 10.1 ร่วมกิจกรรมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด 10.2 บำรุงรักษาอุปกรณ์และสถานที่ในความรับผิดชอบ บริเวณสถานที่พักผ่อนริมคลอง จุดชมวิวทิวทัศน์/จุดเช็คอิน (Check in) บริเวณสะพานข้ามคลอง ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เช่น ป้ายอำนวยความสะดวก (ชื่อแหล่งน้ำ, ประวัติศาสตร์พื้นที่ ฯลฯ) ป้ายประดับต่าง ๆ ไม้ดอกไม้ประดับ ไฟฟ้าส่องสว่าง ราวกันตกริมคลอง และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 10.3 คัดเลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสร้างอัตลักษณ์ให้โดดเด่น โดยการตกแต่งประดับสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ บริเวณที่สาธารณะริมคลอง สะพานข้ามคลอง หรือพัฒนาในรูปแบบ ที่เหมาะสม เช่น Tactical Urbanism เป็นต้น 10.4 บริหารจัดเก็บขยะอย่างเป็นระบบในพื้นที่ตามแนวคลอง เพื่อไม่ให้ประชาชนทิ้งขยะลงคลอง เช่น การกำหนดจุดทิ้งขยะ นัดทิ้ง-นัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ และการเก็บขนขยะ เป็นต้น 10.5 รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การคัดแยกขยะมูลฝอย การจัดการน้ำเสีย การกำจัดไขมันก่อนทิ้ง ลงท่อระบายน้ำให้กับประชาชนและสถานประกอบการ รวมถึง การสร้างความเข้าใจในการเตรียมการจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสีย เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและให้เกิดการมีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย 10.6 ให้การสนับสนุนงานภาพรวมในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่เป้าหมายตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด ภารกิจส่วนที่ 2 จัดทำข้อเสนอแนะฯ (คะแนนร้อยละ 1๐) ทุกหน่วยงานจัดทำข้อเสนอแนะการพัฒนาเพิ่มเติมจากการ ดำเนินงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมในส่วนภารกิจที่รับผิดชอบ และจัดทำโครงการ/กิจกรรมในรูปแบบที่พร้อมขอจัดสรร งบประมาณในปีถัดไปส่งให้สำนักการระบายน้ำภายในกำหนด ภารกิจส่วนที่ 3 ผลการประเมินภาพรวม (คะแนนร้อยละ 50) สำนักการระบายน้ำประเมินผลภาพรวม ประกอบด้วย - ผลการประเมินตามหลักเกณฑ์ภาพรวมการปรับภูมิทัศน์คลอง ของกรุงเทพมหานคร (ร้อยละ 20) - ผลคะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อการปรับภูมิทัศน์คลอง ของกรุงเทพมหานคร จากแบบสอบถามออนไลน์ ซึ่งจัดทำโดย สำนักงานประชาสัมพันธ์ (ร้อยละ 30)
วิธีคำนวณ/วัดผลการดำเนินงาน/สูตรคำนวณ นับจากผลรวมของความสำเร็จการดำเนินงานตามภารกิจ ของทุกหน่วยงานตามภารกิจที่ 1 - 3 โดยแบ่งเป็น 1. ภารกิจส่วนที่ 1 คะแนนร้อยละ 40 2. ภารกิจส่วนที่ 2 คะแนนร้อยละ 10 3. ภารกิจส่วนที่ 3 คะแนนร้อยละ 50 รวม คะแนนร้อยละ 100
วิธีเก็บข้อมูล/หลักฐาน 1. แผนการปรับภูมิทัศน์คลองของกรุงเทพมหานคร ๒. แผนปฏิบัติการปรับภูมิทัศน์คลองของแต่ละหน่วยงาน ๓. รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม ๔. รายงานผลการดำเนินงานปรับภูมิทัศน์คลองของ กรุงเทพมหานคร 5. ผลสรุปคะแนนรายด้านและคะแนนภาพรวม 6. รายละเอียดและข้อเสนอการพัฒนาเพิ่มเติมของแต่ละหน่วยงาน
:ยุทธศาสตร์ที่ ๔ –การเชื่อมโยงเมืองที่มีความคล่องตัวและระบบบริการสาธารณะแบบบูรณาการ |
:๔.๓ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีรูปแบบการจัดการภูมิทัศน์เมืองอย่างยั่งยืน |
:๔.๓.๑ กรุงเทพมหานครมีการปรับปรุงองค์ประกอบทางภูมิทัศน์เมืองและส่งเสริมอัตลักษณ์และทัศนียภาพในการรับร% |
:๔.๓.๑.๓ อนุรักษ์และฟื้นฟูย่าน (Districts) ตามผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะที่สอดคล้องกับผังเมืองรวม หรือพิจารณาเพิ่มเติมในอนาคตที่มีอัตลักษณ์และ พัฒนาพื้นที่ชุมชนอันมีความเป็นเอกลักษณ์ของในพื้นที่กรุงเทพมหานคร |