รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละความสำเร็จของคลองในพื้นที่ีกรุงเทพมหานครได้รับการปรับภูมิทัศน์เพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้กับพื้นที่ (ตัวชี้วัดเจรจา ปี 2566 องค์ประกอบที่ 1) : 5013-6553

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
5.00

0 / 0
3
20.00

0 / 0
4
100.00

0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่รหว่างรอหน่วยงานหลักกำหนดรายละเอียดการดำเนินงาน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ฝ่ายโยธา สำนักงานเขตมีนบุรี เข้าร่วมประชุมตัวชี้วัดเจรจาตกลงการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในวันจันทร์ ที่ 27 มีนาคม 2566 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 8 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ โดยการตัดแต่งกิ่งไม้ เก็บขยะ วัชพืช และบำรุงรักษาจุดเช็คอิน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

1. การเข้าร่วมประชุมและร่วมกิจกรรมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด 1.1 การเข้าร่วมประชุม จำนวน 1 ครั้ง (Output) เมื่อวันจันทร์ที่ 27 มีนาคม 2566 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 8 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง 1.2 จัดทำโครงการพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์คลองสายหลักในพื้นที่เขตมีนบุรี 2. จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองในส่วนภารกิจของสำนักงานเขตมีนบุรี - จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ส่งให้สำนักการระบายน้ำ ทาง E-Mail : Ccannal2565@gmail.com เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2566 3. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการปฏิบัติการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองสายหลักในพื้นที่เขตมีนบุรี ดังนี้ 3.1 ตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์และสถานที่ในความรับผิดชอบบริเวณสถานที่พักผ่อนริมคลอง จุดชมวิวทิวทัศน์/จุดเช็คอิน (Check in) ดังนี้ 3.1.1 บริเวณสะพานข้ามคลองสองต้นนุ่น ซอยร่มเกล้า 6 ถนนร่มเกล้า โดยการทาสีสะพาน ราวสะพาน ทาสีรั้วเหล็กบริเวณริมคลอง 3.1.2 บริเวณสวนเฉลิมพระเกียรติ ร9 ถนนสีหบุรานุกิจ โดยการเพิ่มสถานที่พักผ่อนริมคลอง จุดชมวิวทิวทัศน์/จุดเช็คอิน ตกแต่งพื้นที่ให้มีความสวยงาม โดดเด่น น่าเยี่ยมชม พักผ่อน และถ่ายภาพ ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์เป็นจุดพักผ่อน ชมวิว จุดเช็คอิน สามารถใช้เป็นพื้นที่ออกกำลังกายได้ 3.1.3 ซ่อมแซมสะพาน ราวกันตกทางเดินเลียบคลอง สำรวจไฟฟ้าส่องสว่างริมคลองให้พร้อมใช้งาน 3.1.4 ปรับปรุงภูมิทัศน์ โดยตัดแต่งกิ่งไม้ ตกแต่งไม้ดอกไม้ประดับ เก็บขยะริมคลอง 4. คัดเลือกสวนเฉลิมพระเกียรติ ร 9 ถนนสีหบุรานุกิจ เป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่น และพัฒนาเป็นสถานที่พักผ่อนริมคลอง เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ จุดเช็คอิน (Check in) โดยการเพิ่มสถานที่พักผ่อนริมคลอง จุดชมวิวทิวทัศน์/จุดเช็คอิน ตกแต่งพื้นที่ให้มีความสวยงาม โดดเด่น น่าเยี่ยมชม พักผ่อน และถ่ายภาพ ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์เป็นจุดพักผ่อน ชมวิว จุดเช็คอิน สามารถใช้เป็นพื้นที่ออกกำลังกายได้ 5. บริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบในพื้นที่ตามแนวคลองเพื่อไม่ให้ประชาชนทิ้งขยะลงคลอง เช่น การกำหนดจุดทิ้งขยะ นัดทิ้ง - นัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ การเก็บขนขยะ และการตั้งจุด “ทิ้ง จับ ปรับ” เป็นต้น 5.1 กำหนดจุดทิ้งขยะ โดยชุมชนจะเป็นผู้กำหนดรวบรวมขยะ ซึ่งจะมีจุดที่รถเก็บขนมูลฝอยสามารถเข้าจัดเก็บได้ และโดยเรือหากชุมชนริมคลองใดที่รถเก็บขยะไม่สามารถเข้าถึงได้ 5.2 การจัดการขยะชิ้นใหญ่ โดยการจัดทำแผนและแจกประชาสัมพันธ์ เพื่อนัดหมายชุมชนเข้าดำเนินการจัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ โดยหมุนเวียนเดือนละ 1 คลอง 5.3 การเก็บขนขยะ จัดทำประกาศสำนักงานเขตมีนบุรี เรื่อง การจัดกิจกรรมพัฒนาทำความสะอาดและทิ้งของเหลือใช้ชุมชน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีโอกาสทำความสะอาดบ้านเรือน ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และประชาสัมพันธ์ แผนการจัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ ก่อนเข้าดำเนินการอย่างน้อย 3 วัน 6. รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ ความเข้าใจและสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและสถานประกอบการในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามแนวคลอง โดยการลงพื้นที่รณรงค์ประชาสัมพันธ์ (Output) จำนวน 5 ครั้ง ได้แก่ ชุมชน- มีนบุรีอุปภัมถ์ , ชุมชนเคหะรามคำแหง (2 ครั้ง) , ชุมชนอัตตั๊กวา , ชุมชนนูรุ้ลพัฒนา และโรงเรียนในพื้นที่เขตมีนบุรี ดังนี้ 6.1 การคัดแยกขยะมูลฝอยตามแนวทาง “ไม่เทรวม” 6.2 การนำขยะเศษอาหารทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ 6.3 การนำสิ่งของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (Reuse and Recycle) 6.4 การจัดการน้ำเสียชุมชน 6.5 การกำจัดไขมันก่อนทิ้งลงท่อระบายน้ำ 6.6 การสร้างความเข้าใจในการเตรียมการจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสียและค่าธรรมเนียมการเก็บขนมูลฝอย 7. สร้างภาคีเครือข่าย จำนวน 1 เครือข่าย ได้แก่ กลุ่มไลน์พัฒนาคลองเขตมีนบุรี ผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) 8. จัดทำรายงานผลการดำเนินงานการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองสายหลักในพื้นที่ เขตมีนบุรี ส่งให้สำนักการระบายน้ำ ทาง E-Mail : Ccannal2565@gmail.com เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 และมีหนังสือที่ กท 5203/6379 ลงวันที่ 13 กันยายน 2566

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

การปรับภูมิทัศน์คลอง หมายถึง การฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ตลอดแนวคลองเป้าหมายโดยมีเป้าหมายให้คลองและพื้นที่ริมคลองมีความสวยงาม สะอาด ปลอดภัย สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ สร้างความโดดเด่นเป็นอัตลักษณ์ ทั้งภูมิทัศน์ที่เป็นแหล่งธรรมชาติหรือสถานที่ที่ถูกสร้างขึ้น รวมถึงการบำรุงรักษาให้เกิดความยั่งยืนและพัฒนาต่อยอดเชิงพื้นที่เพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน อัตลักษณ์ หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่โดดเด่น ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่รู้จักหรือจำได้ (สามารถสร้างใหม่หรือเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาให้ดีขึ้นได้) เช่น การประดับ ตกแต่งต่าง ๆ สร้างพื้นที่ให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์สอดคล้องกับแต่ละพื้นที่โดยใช้แนวทางการพัฒนาในรูปแบบ Tactical Urbanism, Urban Renewal เป็นต้น คลองเป้าหมาย หมายถึง คลองเป้าหมายตามบัญชีคลองของกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ 50 เขต Tactical Urbanism หมายถึง การพัฒนาเมืองหรือชุมชนโดยการเปลี่ยนแปลงบริเวณรกร้างหรือมีบรรยากาศแห้งแล้งเช่น ถนน ทางเท้า กำแพง สนามเด็กเล่น แหล่งเสื่อมโทรม ให้กลายเป็นพื้นที่หรือย่านสร้างสรรค์ มีชีวิตชีวา และน่าอยู่มากขึ้นโดยการตกแต่งหรือก่อสร้างในต้นทุนต่ำ เน้นการมีส่วนร่วมและใช้แรงงานสองมือของคนในชุมชนเป็นหลัก การฟื้นฟูเมือง (Urban Renewal) เป็นการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองหรือส่วน ของเมืองที่เสื่อมโทรมด้วยกาลเวลาหรือปัจจัยอื่นให้มีชีวิตชีวาขึ้นใหม่โดยดำเนินการด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม ให้สอดคล้องกัน ซึ่งการดำเนินการ มีผลต่อการสร้างงานและทำให้สภาพแวดล้อมของเมืองดีขึ้นทั้งนี้ขอบเขตการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

นับจากผลรวมของความสำเร็จการดำเนินงานตามภารกิจ ส่วนที่ 1 - 2 โดยแบ่งเป็น 1. ภารกิจส่วนที่ 1 คะแนนร้อยละ 80 2. ภารกิจส่วนที่ 2 คะแนนร้อยละ 20 รวม คะแนนร้อยละ 100 (ยกเว้น สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองวัดผลฯ เฉพาะส่วนภารกิจที่ 1 เท่านั้น)

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. แผนการปรับภูมิทัศน์คลองภาพรวมของกรุงเทพมหานคร ๒. Action Plan ของแต่ละหน่วยงาน ๓. รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม ๔. รายงานผลการดำเนินงานปรับภูมิทัศน์คลองภาพรวมของกรุงเทพมหานคร 5. รายงานผลการดำเนินงานปรับภูมิทัศน์คลองของแต่ละหน่วยงาน ๕. ผลสรุปคะแนนรายหน่วยงานและคะแนนภาพรวม 6. รายละเอียดและข้อเสนอการพัฒนาเพิ่มเติมของแต่ละหน่วยงาน

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****%
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง