ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 0
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
อยู่ระหว่างสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลพิจารณากำหนดคำอธิบาย วีธีคำนวณและเกณฑ์การให้คะแนน และแนวทางการประเมินผลของตัวชี้วัด
1. เดือนมีนาคม 2566 : เข้าร่วมประชุมกับสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566 เพื่อรับทราบแนวทางการดำเนินการตามตัวชี้วัดเจรจาตกลง ปี 2566 2. เดือนเมษายน 2566 : จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองในส่วนภารกิจของสำนักงานเขตหนองจอก ส่งสำนักการระบายน้ำทาง e - mail เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2566
1. ตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์และสถานที่ในความรับผิดชอบ บริเวณสถานที่พักผ่อนริมคลอง จุดชมวิวทิวทัศน์/จุดเช็คอิน (Check in) บริเวณสะพานข้ามคลอง ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 2. คัดเลือกพื้นที่บริเวณท่าน้ำ วัดทรัพย์สโมสรนิกรเกษม เพื่อดำเนินการพัฒนาให้เกิดความเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นและพัฒนาเป็นสถานที่พักผ่อนริมคลอง จุดชมวิวทิวทัศน์ จุดเช็คอิน (Check in) 3. บริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบในพื้นที่ตามแนวคลองเพื่อไม่ให้ประชาชนทิ้งขยะลงคลอง โดยการกำหนดจุดทิ้งขยะ นัดทิ้ง - นัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ การเก็บขนขยะ และการตั้งจุด “ทิ้ง จับ ปรับ”
1. รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและสถานประกอบการในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามแนวคลอง ดังนี้ 1) การคัดแยกขยะมูลฝอย ตามแนวทาง “ไม่เทรวม” 2) การนำขยะเศษอาหารทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ 3) การกำจัดไขมันโดยติดตั้ง ถังดักไขมันก่อนปล่อยน้ำทิ้งลงคลองแสนแสบ 2. สร้างภาคีเครือข่าย และส่งเสริมกิจกรรมให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาคลอง ผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) จำนวน 1 เครือข่าย ได้แก่ กลุ่มไลน์ (Line Group) มีสมาชิกเครือข่าย จำนวน 27 ราย 3. จัดทำข้อเสนอแนะการพัฒนาเพิ่มเติมจากการดำเนินงาน พร้อมเสนอโครงการ/กิจกรรมเพื่อการพัฒนาในส่วนภารกิจที่รับผิดชอบ และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานการปรับภูมิทัศน์คลองตามภารกิจที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ส่งให้สำนักการระบายน้ำ เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566
:ยุทธศาสตร์ที่ ๔ –การเชื่อมโยงเมืองที่มีความคล่องตัวและระบบบริการสาธารณะแบบบูรณาการ |
:๔.๓ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีรูปแบบการจัดการภูมิทัศน์เมืองอย่างยั่งยืน |
:๔.๓.๑ กรุงเทพมหานครมีการปรับปรุงองค์ประกอบทางภูมิทัศน์เมืองและส่งเสริมอัตลักษณ์และทัศนียภาพในการรับร% |
:๔.๓.๑.๓ อนุรักษ์และฟื้นฟูย่าน (Districts) ตามผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะที่สอดคล้องกับผังเมืองรวม หรือพิจารณาเพิ่มเติมในอนาคตที่มีอัตลักษณ์และ พัฒนาพื้นที่ชุมชนอันมีความเป็นเอกลักษณ์ของในพื้นที่กรุงเทพมหานคร |