รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

(26) ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการให้บริการที่ดีที่สุด (Best Service)(3.2) : 5016-0685

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
30.00
100
100 / 100
2
60.00
100
100 / 100
3
75.00
100
100 / 100
4
100.00
100
0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

โครงการที่จะรักษารอบ ดำเนินการดังนี้ ในเดือน ตุลาคม 2559 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และแต่งตั้งคณะทำงาน วางแผนการดำเนินงานและร่วมกำหนดรูปแบบกระบวนงานใหม่ ในเดือนพฤศจิกายน 2559 ประธานชุมชนวัดประดิษฐารามยื่นคำร้องขอปรับปรุงข้อมูลทะเบียนบ้านในชุมชน ในเดือนธันวาคม 2559 สถานีตำรวจนครบางยี่เรือ ขอตรวจสอบข้อมูลชุมชน ในพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 6 ชุมชน ประกอบด้วย 1.ชุมชนสี่แยกบ้านแขก 2.ชุมชนประสานมิตร 3.ชุมชนศรีภูมิ 4.ชุมชนตรอกเทวดา 5.ชุมชนพัฒนาบ้านล่าง 6.ชุมชนตากสินสัมพันธ์

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

โครงการรักษารอบ ในเดือนมกราคม 2560 ได้รับข้อมูลบ้านเลขที่ของชุมชนจากฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ แก้ไขข้อมูลชุมชน 2 ชุมชน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2560เจ้าหน้าที่ เข้าตรวจสอบบ้าน ที่อยู่ในพื้นที่ทับซ้อน ตามฝังของชุมชน โรงเจ ในเดือนมีนาคม 2560 1. เข้าตรวจสอบบ้านในชุมชนตรอกโรงเจ 2 2. ฝ่ายพัฒนาชุมชนประสานขอแก้ไขรายละเอียดเกี่ยวกับบ้านในชุมชนสองร้อยห้อง โครงการ ประจำปี 2560 ได้ดำเนินการ ดังนี้ 1.ได้รับอนุมัติโครงการฯ เรียบร้อยแล้ว 2.จัดทำคำสั่งคณะทำงานฯ เรียบร้อยแล้ว 3.จัดการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 1/2560 แล้ว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560 4.อยู่ระหว่างกำหนดวันและดำเนินการจัดกิจกรรมตามโครงการฯ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

โครงการประจำปี 2560 ได้ดำเนินการ ดังนี้ 1.ได้รับอนุมัติโครงการฯ เรียบร้อยแล้ว 2.จัดทำคำสั่งคณะทำงานฯ เรียบร้อยแล้ว 3.จัดการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 1/2560 แล้ว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560 เรียบร้อยแล้ว 4.ดำเนินการสร้างเครือข่ายผู้ร่วมดำเนินการ และประชุมเครือข่ายผู้ร่วมดำเนินการในพื้นที่ดำเนินการ เรียบร้อยแล้ว 5.ดำเนินการตรวจสอบจำนวนคดีปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่ ไฟฟ้าส่องสว่าง กล้อง CCTV ในพื้นที่ เรียบร้อยแล้ว 6.ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพน้ำก่อนดำเนินการ เรียบร้อยแล้ว 7.ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ริมคลอง เรียบร้อยแล้ว 8.ประชาสัมพันธ์รณรงค์สร้างจิตสำนึกไม่ทิ้งขยะลงคลอง เรียบร้อยแล้ว 9.จัดกิจกรรมคืนน้ำใสฯ ตามโครงการฯ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2560 เรียบร้อยแล้ว 10.อยู่ระหว่างจัดทำแบบสำรวจฯ และเตรียมการทอดแบบสำรวจความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

-โครงการรักษารอบ ในเดือนกรกฎาคม 2560 นิสิตระดับปริญญาโท หลักสูตรการบริหารและพัฒนาสังคม โครงการสหวิทยาการระดับบัณฑิตศึกษาสาขาพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอข้อมูลประชากร ได้แก่ จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร แยกเพศ อายุ อาชีพ รายได้ เพื่อประกอบการจัดทำวิทยานิพนธ์ เดือนสิงหาคม 2560 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ ขอข้อมูลประชากรในเขตธนบุรี โดยจำแนกตามอายุ เพศ จำนวนครอบครัว และชุมชน เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในงานวิจัยคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนริมคลองกรุงเทพมหานคร เดือนกันยายน 2560 ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว - โครงการประจำปี 2560 ได้ดำเนินการ ดังนี้ 1.ได้รับอนุมัติโครงการฯ เรียบร้อยแล้ว 2.จัดทำคำสั่งคณะทำงานฯ เรียบร้อยแล้ว 3.ดำเนินการสำรวจพื้นที่ดำเนินงาน และจัดการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 1/2560 แล้ว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560 เรียบร้อยแล้ว 4.ดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการ สร้างเครือข่ายผู้ร่วมดำเนินการ และประชุมเครือข่ายผู้ร่วมดำเนินการในพื้นที่ดำเนินการ เรียบร้อยแล้ว 5.ดำเนินการตรวจสอบจำนวนคดีปัญหาอาชญากรรม เรื่องร้องเรียน ไฟฟ้าส่องสว่าง และกล้อง CCTV ในพื้นที่ เรียบร้อยแล้ว 6.ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพน้ำก่อนดำเนินการ เรียบร้อยแล้ว 7.ดำเนินการตรวจสอบการรุกล้ำพื้นที่สาธารณะ และปรับปรุงภูมิทัศน์ริมคลอง เรียบร้อยแล้ว 8.ประชาสัมพันธ์รณรงค์สร้างจิตสำนึกไม่ทิ้งขยะลงคลอง และจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรียบร้อยแล้ว 9.จัดกิจกรรมคืนน้ำใสฯ ตามโครงการฯ เช่น การขุดลอกคลอง การเก็บขยะในคลอง ฯลฯ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2560 เรียบร้อยแล้ว 10.จัดทำแบบสำรวจฯ และทอดแบบสำรวจความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่ พร้อมจัดทำแบบสรุปผลการสำรวจ เรียบร้อยแล้ว 11.ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพน้ำหลังดำเนินการ พร้อมสรุปผล เรียบร้อยแล้ว 12.รวบรวมข้อมูลจากทุกฝ่าย สรุปผลการดำเนินงานรายงานผู้บริหาร เรียบร้อยแล้ว

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1. การรักษาหรือคงไว้หรือพัฒนาโครงการให้บริการที่ดีที่สุด (Best Service) ที่หน่วยงานนำเสนอเพื่อขอรับการประเมินในปีงบประมาณที่ผ่านมา (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 - 2559) เพื่อให้เกิดประสิทธิผลและประโยชน์ต่อผู้รับบริการอย่างยั่งยืน โดยเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบการให้บริการที่ดีที่สุดของกรุงเทพมหานครพิจารณา และสำนักงาน ก.ก. จะตรวจติดตามผลการดำเนินการโครงการดังกล่าวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ว่าหน่วยงานยังสามารถรักษามาตรฐานการให้บริการหรือมีการพัฒนาโครงการให้บริการที่ดีที่สุดให้เกิดประโยชน์แก่ผู้รับบริการอย่างต่อเนื่องหรือไม่ โดยหน่วยงานต้องดำเนินการให้ได้ผลตามเป้าหมายของตัวชี้วัดโครงการที่คณะกรรมการพัฒนาระบบการให้บริการที่ดีที่สุดของกรุงเทพมหานครกำหนด 2. การดำเนินโครงการให้บริการที่ดีที่สุดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 โครงการให้บริการที่ดีที่สุด หมายถึง โครงการที่หน่วยงานคิดค้น/พัฒนา/ปรับปรุงระบบการให้บริการให้มีความทันสมัย คล่องตัว เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนหรือผู้รับบริการ ภายใต้แนวคิดการยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง โดยพิจารณาจากภารกิจ อำนาจหน้าที่ สภาพปัญหาในการปฏิบัติงาน ความต้องการของผู้รับบริการ หรือประเด็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อผู้รับบริการ ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไข/พัฒนาการให้ บริการ หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้วยการนำแนวคิด/เทคนิคทางการบริหารสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม เช่น ระบบการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยระบบ Lean เทคนิคการรื้อปรับระบบงาน (Reengineering) การออกแบบกระบวนการใหม่ (Process Redesign) ฯลฯ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการทำงาน หรือการนำองค์ความรู้ แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) จากการฝึกอบรม ศึกษาดูงาน หรือการจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนร้ตู่าง ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ขึน้อยู่กับความเหมาะสมของลักษณะการบริการที่หนว่ ยงานนัน้ ๆ ต้องการพัฒนาโดยอาจจำแนกลักษณะการให้บริการได้หลากหลาย ตัวอย่าง เช่น 1. การให้บริการทางระบบอินเตอร์เน็ตแบบครบวงจรจุดเดียวเบ็ดเสร็จ เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถใช้บริการได้ตลอดเวลาจากทุกสถานที่ โดยไม่ต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ ต้องเป็นการให้บริการแก่ประชาชนหรือผู้รับบริการแบบเบ็ดเสร็จ มิใช่การให้ข้อมูลหรือการให้ดาวน์โหลดแบบฟอร์มทางอินเตอร์เน็ตเท่านั้น 2. การให้บริการผ่านทางเจ้าหน้าที่แบบครบวงจรจุดเดียวเบ็ดเสร็จ โดยนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการบริการ เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับบริการอย่างรวดเร็วตามมาตรฐานเวลาและคุณภาพที่หน่วยงานผู้ให้บริการกำหนดทุกครั้ง ทั้งนี้ หน่วยงานต้องพัฒนาระบบให้พร้อมบริการก่อนนำเสนอโครงการ 3. การกำหนดงานบริการที่สมควรให้เอกชน/ชุมชน/ภาคส่วนอื่นดำเนินการแทน ซึ่งจะให้บริการที่ดีและคุ้มค่ากว่าที่หน่วยงานดำเนินการเอง ซึ่งต้องเป็นงานบริการรูปแบบใหม่ ๆ ที่ผู้รับบริการได้รับประโยชน์โดยตรง และมิได้เป็นงานประจำที่หน่วยงานต้องดำเนินการอยู่แล้ว 4. การจัดทำโปรแกรมประยุกต์ส่วนกลางเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถบันทึก แลกเปลี่ยน เชื่อมโยงและใช้ประโยชน์ข้อมูลร่วมกันได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้รับบริการที่จะขอหรือนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ 5. การลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเกี่ยวกับการให้บริการ โดยการบริการยังคงมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลหรือมีมาตรฐานเท่าเดิมหรือดีกว่าเดิม 6. การเพิ่มช่องทางในการให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้รับบริการมากขึ้น นอกเหนือจากช่องทางเดิมที่หน่วยงานให้บริการตามปกติอยู่แล้ว 7. การมีความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR) หมายถึง การดำเนินกิจกรรมการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ ภารกิจของหน่วยงาน และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่หน่วยงานโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม ทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงและโดยอ้อมกับหน่วยงาน ด้วยการใช้ทรัพยากรจากภายในและภายนอกหน่วยงาน ในอันที่จะทำให้สังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นปกติสุข โดยกิจกรรมที่ดำเนินการต้องมีลักษณะ ดังนี้ 1) ดำเนินการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และ 2) ก่อให้เกิดประโยชน์และไม่สร้างปัญหาแก่ผู้รับบริการ/ชุมชน/สังคมที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และ 3) ได้รับความร่วมมือจากบุคลากรในหน่วยงาน และ 4) ทำใหเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางทีดี่และยั่งยืนต่อสังคม/ชุมชน โดยให้ ประชาชน/ผู้รับบริการมีส่วนร่วม และ 5) ไม่ใช่การบริจาค หรือการทำบุญ 8. การสร้างนวัตกรรมการให้บริการ หมายถึง การสร้างหรือพัฒนาสิ่งประดิษฐ์/ผลิตภัณฑ์/กระบวนการให้ บริการใหม่ ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการของหน่วยงานผู้รับบริการ หมายถึง 1. ประชาชนผู้มารับบริการจากหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร หรือ 2. บุคลากรหรือหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานครที่ได้รับบริการจากหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ประเมินผลสำเร็จโครงการตามตัวชี้วัดของลักษณะการให้บริการและตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในโครงการ

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล
:๗.๓.๑ บุคลากรกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นที่เชื่%
:๗.๓.๑.๑ การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ มีความเป็นมืออาชีพ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง