รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละมูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดและนำไปใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปี ๒๕๖๐ (๒,๔๑๙.๙๗ ตันต่อวัน) : 5016-6504

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 30

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 33.92

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
9.17
100
100 / 100
2
17.73
0
0 / 0
3
23.28
100
100 / 100
4
33.92
100
0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

เป้าหมายปี 64 มูลฝอยรีไซเคิ่ล = 37.23 ตัน/วัน หรือ 13,569.32 ตัน/ปี มูลฝอยอินทรีย์ = 12.41 ตัน/วัน หรือ 4,529.77 ตัน/ปี รวมเป้าหมาย ทั้งหมด = 49.64 ตัน/วัน หรือ 18,119.09 ตัน/ปี ผลงานที่ทำได้ มูลฝอยรีไซเคิ่ล = 47.77 ตัน/วัน หรือ 4,394.49 ตัน : 92 วัน มูลฝอยอินทรีย์ = 12.40 ตัน/วัน หรือ 1,141 ตัน : 92 วัน รวมคิดเป็น 30.55%

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

เป้าหมายปี 64 มูลฝอยรีไซเคิ่ล = 37.23 ตัน/วัน หรือ 13,569.32 ตัน/ปี มูลฝอยอินทรีย์ = 12.41 ตัน/วัน หรือ 4,529.77 ตัน/ปี รวมเป้าหมาย ทั้งหมด = 49.64 ตัน/วัน หรือ 18,119.09 ตัน/ปี ผลงานที่ทำได้ มูลฝอยรีไซเคิ่ล = 45.79 ตัน/วัน หรือ 8,333.24 ตัน : 182 วัน มูลฝอยอินทรีย์ = 13.04 ตัน/วัน หรือ 2,373.33 ตัน : 182 วัน รวมคิดเป็น 59.09%

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

เป้าหมายปี 64 มูลฝอยรีไซเคิ่ล = 37.23 ตัน/วัน หรือ 13,569.32 ตัน/ปี มูลฝอยอินทรีย์ = 12.41 ตัน/วัน หรือ 4,529.77 ตัน/ปี รวมเป้าหมาย ทั้งหมด = 49.64 ตัน/วัน หรือ 18,119.09 ตัน/ปี ผลงานที่ทำได้ มูลฝอยรีไซเคิ่ล = 39.08 ตัน/วัน หรือ 10,668.86 ตัน : 273 วัน มูลฝอยอินทรีย์ = 12.43 ตัน/วัน หรือ 3,393.52 ตัน : 273 วัน รวมคิดเป็น 77.61%

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

เป้าหมายปี 64 มูลฝอยรีไซเคิ่ล = 37.23 ตัน/วัน หรือ 13,569.32 ตัน/ปี มูลฝอยอินทรีย์ = 12.41 ตัน/วัน หรือ 4,529.77 ตัน/ปี รวมเป้าหมาย ทั้งหมด = 49.64 ตัน/วัน หรือ 18,119.09 ตัน/ปี ผลงานที่ทำได้ มูลฝอยรีไซเคิ่ล = 41.77 ตัน/วัน หรือ 15,246.59 ตัน : 365 วัน มูลฝอยอินทรีย์ = 14.36 ตัน/วัน หรือ 5,241.45 ตัน : 365 วัน รวมที่ทำได้ทั้งหมด 56.13 ตัน/วัน หรือ 20,488.04 ตัน/ปี รวมคิดเป็น 113.07%

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

นิยาม : ๑. มูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิด หมายถึง มูลฝอยที่สามารถนำกลับไปใช้ประโยชน์ได้ซึ่งคัดแยกจากบ้านเรือนชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลาด สถานประกอบการ ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ ๒. นำไปใช้ประโยชน์ หมายถึง การนำมูลฝอยกลับไปใช้ประโยชน์ตามคุณสมบัติของมูลฝอย เช่น ขาย ทำปุ๋ยหมักเลี้ยงสัตว์ แปรรูป ถมที่ ฯลฯ

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

วิธีคำนวณ : ร้อยละของปริมาณมูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดเพิ่มขึ้น เท่ากับปริมาณ มูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดปี ๒๕๖๔ ลบปริมาณมูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดปี ๒๕๖๐ หาร ปริมาณมูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดปี ๒๕๖๐ คูณ ๑๐๐ (ปริมาณมูลฝอยตั้งแต่ ต.ค.๖๓ - ก.ย. ๖๔) เกณฑ์การประเมิน : ๑. สำนักงานเขต ดำเนินการจัดการมูลฝอยและของเสียภายในหน่วยงานตามแนวทางที่กำหนด ดังนี้ ๑.๑ จัดการมูลฝอยตามแนวทางของเสียเหลือศูนย์ (ZEROWASTE) “ขยะถูกคัดแยกไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด เหลือขยะที่ต้องส่งไปกำจัดให้น้อยที่สุด” ๑.๒ จัดให้มีภาชนะใส่ขยะแยกประเภทใช้ประโยชน์หรือแยกไว้ส่งกำจัดอย่างถูกสุขลักษณะโดยจัดให้มีถังรองรับขยะประจำวัน ๒ ประเภท ได้แก่ ขยะทั่วไป และขยะรีไซเคิล ๑ จุด ต่อ ๑ ฝ่าย/กลุ่มงาน และฝ่าย/กลุ่มงานมอบผู้รับผิดชอบเก็บขยะรีไซเคิลขาย และนำขยะทั่วไปทิ้งยังจุดทิ้งขยะของหน่วยงาน พร้อมบันทึกน้ำหนักเพื่อส่งรายงานผลประจำเดือน ๑.๓ ตั้งจุดรับขยะอันตราย อย่างน้อย ส่วนราชการละ ๑ จุด สำหรับ “ขยะอันตรายชิ้นเล็ก” เช่น ถ่านไฟฉาย กระดาษคาร์บอน ปากกา ฯ ส่วน “ขยะอันตรายชิ้นใหญ่”เช่น กระป๋องสเปรย์ หลอดไฟ หมึกพิมพ์ ฯ นำทิ้งที่จุดรวมขยะอันตรายที่ส่วนราชการกำหนด และประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนทราบจุดทิ้งขยะอันตราย มอบหมายเจ้าหน้าที่รวบรวมส่งให้เจ้าหน้าที่เก็บขนมูลฝอยจากสำนักงานเขต ตามวัน/เวลาที่กำหนด ๑.๔ ตั้งภาชนะใส่กระดาษใช้แล้ว ๑ หน้า ไว้ใช้หน้าถัดไป โดยประทับตราหน้าที่ใช้แล้วด้วยตัวอักษรสีแดง เช่น “กระดาษใช้สองหน้า รักษาสิ่งแวดล้อม” ๑.๕ ตั้งภาชนะใส่กระดาษใช้แล้ว ๒ หน้า “แยกไว้เป็นขยะรีไซเคิล” ไม่ทิ้งกระดาษลงถังขยะรีไซเคิล หรือถังขยะทั่วไป เพราะจะทำให้กระดาษเปียกชื้นสูญเสียสภาพไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ ๑.๖ จัดจุด “ถุงผ้าให้ยืม” ปฏิเสธการใช้กล่องโฟม ถุงพลาสติก ขวดพลาสติก “ใช้กล่องข้าว กระบอกน้ำ แก้วน้ำส่วนตัว” ๑.๗ สร้างลักษณะนิสัยแยกก่อนทิ้ง ด้วยการรณรงค์สร้างความเข้าใจแก่บุคลากรและผู้มาติดต่อให้ “คิดก่อนทิ้ง ทิ้งขยะให้ถูกถัง” ๑.๘ หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าฝ่าย/กลุ่มงาน กำกับติดตามการดำเนินการต่อเนื่อง ๒. ดำเนินการตามแนวทางข้อ ๑ และรณรงค์ส่งเสริมบุคลากรและผู้มาติดต่อ ทิ้งมูลฝอยตามแนวทางที่กำหนดภายในพื้นที่รับผิดชอบ ๓. มอบหมายเจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูลปริมาณมูลฝอยแต่ละประเภทเพื่อบันทึกแบบรายงานที่กำหนดส่งสำนักสิ่งแวดล้อมรวบรวมสรุปและประเมินผล ๔. ดำเนินการตามข้อ ๑ และนำแนวทางดำเนินการตามข้อ ๑ ส่งเสริมการดำเนินการในชุมชน สถานศึกษา ศาสนสถาน ตลาด สถานประกอบการ ห้างสรรพสินค้า (๑๔ กลุ่มเป้าหมาย) ตามเป้าหมายที่สำนักสิ่งแวดล้อมกำหนดและรายงานผลตามแบบรายงานที่กำหนด

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

วิธีเก็บข้อมูล/หลักฐาน : ๑. รายงานผลตามแบบประเมินที่สำนักสิ่งแวดล้อมกำหนด ๒. แบบรายงานการเก็บรวบรวมปริมาณมูลฝอยที่คัดแยกและนำกลับไปใช้ประโยชน์ประจำปี ๒๕๖๔ ๓. ภาพถ่ายการดำเนินกิจกรรม

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๑ - ปลอดมลพิษ
:๑.๑.๑ แหล่งน้ำสาธารณะทั้งแม่น้ำสายหลักและคูคลองต่างๆ มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คุณภ%
:๑.๑.๒.๑ ลดและควบคุมปริมาณมูลฝอยที่แหล่งกำเนิดและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่แหล่งกำเนิดจนถึงการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง