ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5
ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 82.75
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
ตั้งแต่เดือนตุลาคม - เดือนธันวาคม 2563 โครงการที่ 1 ก่อสร้างรางระบายน้ำ คสล.คลองวัดกัลยาณมิตร โครงการที่ 2 ก่อสร้างรางระบายน้ำ คสล.คลองหลังวัดบางสะแกใน 2 โครงการที่ 3 ก่อสร้างรางระบายน้ำ คสล.คลองข้างสถานีรถไฟฟ้าตลาดพลูดำเนินการจัดจ้างตามขั้นตอนจนได้ตัวผู้รับจ้างแล้วขณะนี้รออนุมัติเงินประจำงวดเพื่อลงนามสัญญา ส่วนโครงการที่ 4 อยู่ในขั้นตอนการออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์ฯ
ตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนมีนาคม 2564 โครงการที่ 1 ก่อสร้างรางระบายน้ำ คสล.คลองวัดกัลยาณมิตร ดำเนินการก่อสร้างไปแล้ว 57% โครงการที่ 2 ก่อสร้างรางระบายน้ำ คสล.คลองหลังวัดบางสะแกใน 2 อยู่ระหว่างรออนุมัติเงินประจำงวด โครงการที่ 3 ก่อสร้างรางระบายน้ำ คสล.คลองข้างสถานีรถไฟฟ้าตลาดพลูดำเนินการก่อสร้างไปแล้ว 60% ส่วนโครงการที่ 4 อยู่ในขั้นตอนปรับพื้นที่รอบคลองสมเด็จเจ้าพระยา
ตั้งแต่เดือนเมษายน - เดือนมิถุนายน 2564 โครงการที่ 1 ก่อสร้างรางระบายน้ำ คสล.คลองวัดกัลยาณมิตร ดำเนินการก่อสร้างไปแล้ว 63% โครงการที่ 2 ก่อสร้างรางระบายน้ำ คสล.คลองหลังวัดบางสะแกใน 2 ดำเนินการก่อสร้างไปแล้ว 55% โครงการที่ 3 ก่อสร้างรางระบายน้ำ คสล.คลองข้างสถานีรถไฟฟ้าตลาดพลู ดำเนินการก่อสร้างไปแล้ว 80% ส่วนโครงการที่ 4 อยู่ในขั้นตอนตักขยะ ปรับปรุงทางเท้า ทำจุดเช็คอิน ประมาณ 65%
ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - เดือนกันยายน 2564 โครงการที่ 1 ก่อสร้างรางระบายน้ำ คสล.คลองวัดกัลยาณมิตร ดำเนินการก่อสร้างไปแล้ว 69% โครงการที่ 2 ก่อสร้างรางระบายน้ำ คสล.คลองหลังวัดบางสะแกใน 2 ดำเนินการก่อสร้างไปแล้ว 62% โครงการที่ 3 ก่อสร้างรางระบายน้ำ คสล.คลองข้างสถานีรถไฟฟ้าตลาดพลู ดำเนินการก่อสร้างไปแล้ว 100% ส่วนโครงการที่ 4 ปรับปรุงภูมิทัศน์คลองสมเด็จเจ้าพระยา ช่วงถนนอิสรภาพ-ถนนประชาธิปก ดำเนินการแล้วเสร็จดังนี้ 1.สร้างจุดเช็คอิน 2.ติดตั้งป้ายอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาเยือนครบถ้วน 3.เก็บขยะภายในคลองและทางเดินริมคลอง 4.ซ่อมแซมไฟฟ้าที่ชำรุด 5.ตรวจสอบทางเดินริมคลองและสะพานข้ามคลองให้เรียบร้อย ครบถ้วน 100%
นิยาม : การปรับปรุงภูมิทัศน์คลอง หมายถึง การปรับปรุงภูมิทัศน์ตลอดแนวคลองให้มีความสวยงาม สะอาด และปลอดภัยสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมอัตลักษ์ของแต่ละพื้นที่ วิถีชีวิต วัฒนธรรมของชุมชน ทั้งภูมิทัศน์ที่เป็นแหล่งธรรมชาติ และสถานที่ที่ถูกสร้างขึ้น อัตลักษณ์ หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่โดดเด่น ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่รู้จักหรือจำได้ คลอง หมายถึง คลองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นคลองเป้าหมายที่กำหนด การดำเนินการของแต่ละหน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานเขต ๑.จัดทำแผนและพัฒนาพื้นที่ตลอดแนวคลองตามความรับผิดชอบของเขต โดยจัดทำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรมในพื้นที่เป้าหมาย ๒. บริหารจัดการขยะริมคลอง รณรงค์ให้ประชาชนดูแลรักษาแหล่งน้ำไม่ให้ทิ้งขยะและของเสียลงคลองผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ต่างๆ เช่น การเดินรณรงค์ ติดป้ายประชาสัมพันธ์ การกระจายเสียง ฯลฯ และให้ความรู้แก่ประชาชน เรื่องการคัดแยกขยะ การจัดทำถังหรือบ่อดักไขมันสำหรับบ้านเรือน ๓. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชนในพื้นที่ ภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วม ในการปรับปรุงภูมิทัศน์คลอง เช่น ท่าน้ำของตนเอง สะพานทางเดินข้ามคลอง ที่เชื่อมระหว่างบ้านกับชุมชน ฯลฯ ๔. สำรวจและประสานการไฟฟ้านครหลวงเพื่อติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างให้พร้อม ใช้งาน ๕. สำรวจ ตรวจสอบและซ่อมแซมสะพานข้ามคลองในความรับผิดชอบให้อยู่ ในสภาพพร้อมใช้งานหรือสภาพที่ดีขึ้น ๖. พัฒนาพื้นที่ริมคลองให้เป็นสถานที่พักผ่อน จุดชมวิวทิวทัศน์ สร้างจุด Check in ติดตั้งป้ายอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาเยือน และป้ายประดับต่างๆ ให้มีความสวยงามและเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ อย่างน้อยเขตละ ๑ จุดต่อคลอง สัดส่วนความสำเร็จในการบูรณาการการดำเนินการ ประกอบด้วย ๑. ความสำเร็จตามภารกิจเฉพาะหน่วยงาน หมายถึง ความสำเร็จซึ่งเป็นไปตามแผนฯ ที่หน่วยงานนำเสนอคิดเป็นร้อยละ ๖๐ ๒. ความสำเร็จในภาพรวม หมายถึง ความสำเร็จซึ่งเกิดขึ้นจากการดำเนินงาน ของทุกหน่วยงาน และส่งผลให้สภาพของคลองมีความสวยงาม สะอาด และปลอดภัย สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่โดยพิจารณาจากสภาพภูมิทัศน์ของคลองซึ่งเป็นไปตามที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ ๔๐ ทั้งนี้ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการกับคลองเป้าหมาย โดยจัดทำแผนการดำเนินงานตามภารกิจที่รับผิดชอบให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม ๒๕๖๓ และรายงานผลผ่านระบบการบริหารจัดการแผนพัฒนากรุงเทพ – มหานคร (BMA Digital Plans)
วิธีคำนวณ : นับจากผลรวมของความสำเร็จการดำเนินงานตามภารกิจเฉพาะหน่วยงาน และความสำเร็จของการดำเนินงานในภาพรวม
วิธีเก็บข้อมูล/หลักฐาน : ๑. เอกสารประกอบการดำเนินการ ๒. ระบบการบริหารจัดการแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (BMA Digital Plans) หลักฐาน ๑. แผนการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๒. รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม ๓. ภาพถ่ายกิจกรรมก่อน-หลัง ดำเนินการ ฯลฯ
:ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City |
:๒.๑ - ภูมิทัศน์สวยงาม |
:๒.๑.๑ กรุงเทพมหานครจัดระเบียบเมือง ปรับปรุงทัศนียภาพของเมืองให้แลดูสะอาด ไม่มีสายไฟฟ้า% |
:๒.๑.๑.๑ ตลาดหรือแผงค้าขายที่กีดขวางทางเท้า กีดขวางการจราจรและบดบังทัศนียภาพ ได้รับการจัดระเบียบได้ครบทุกกลุ่มเขต |