ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5
ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
- ขุดลอกคลองโพธินิมิตร 5 จากถนนราชพฤกษ์ถึงปลายซอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน 6 ความกว้างประมาณ 2.5-3.8 ม.ความยาวประมาณ 450 ม.ลึกจากระดับท้องคลองเดิมถึงระดับขุดลอกเฉลี่ย 1 ม.ปริมาณดิน 1,417 ลบ.ม. ระดับขุดลอก -1 ม.รทก. ดำเนินการแล้วเสร็จ ตรวจรับงานเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2566 - ขุดลอกคลองแยกคลองบางสะแก 13 จากคลองบางสะแกถึงถนนรัชดาภิเษก ความกว้างประมาณ 2.5-3.5 ม.ความยาวประมาณ 520 ม.ลึกจากระดับท้องคลองเดิมถึงระดับขุดลอกเฉลี่ย 0.90 ม.ปริมาณดิน 1,404 ลบ.ม. ระดับขุดลอก -1 ม.รทก. ดำเนินการแล้วเสร็จ ตรวจรับงานเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2566
การปรับภูมิทัศน์คลอง หมายถึง การปรับภูมิทัศน์ของพื้นที่ตลอดแนวคลองเป้าหมายให้มีความสวยงาม สะอาด ปลอดภัย สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของพื้นที่ และมีความโดดเด่นเป็นอัตลักษณ์ทั้งภูมิทัศน์ที่เป็นแหล่งธรรมชาติและสถานที่ที่ถูกสร้างขึ้น และบำรุงรักษาให้เกิดความยั่งยืน รวมถึงการพัฒนาต่อยอดเชิงพื้นที่หรือย่านที่สำคัญตามแนวคลอง เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ เอกลักษณ์ หมายถึง ลักษณะเด่นของท้องถิ่น/พื้นที่ที่แสดงให้เห็นความแตกต่างจากท้องถิ่นอื่น ขึ้นอยู่กับสภาพตามธรรมชาติศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เศรษฐกิจ และสังคม (เป็นสิ่งตายตัวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้) เช่น สภาพภูมิศาสตร์ พืชพันธุ์ไม้ สัตว์ ภาษาถิ่น ประเพณีท้องถิ่นศิลปะหัตถกรรม อาหารการกิน เทคโนโลยี แฟชั่น ฯลฯ อัตลักษณ์ หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใด สิ่งหนึ่งที่โดดเด่น ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่รู้จักหรือจำได้ (สามารถ สร้างใหม่หรือเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาให้ดีขึ้นได้) เช่น การประดับ ตกแต่งต่าง ๆ สร้างพื้นที่ย่านให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์สอดคล้องกับแต่ละพื้นที่โดยใช้แนวทางการพัฒนาในรูปแบบ Tactical Urbanism, Urban Renewal เป็นต้น
ภารกิจส่วนที่ 1 (คะแนนร้อยละ 40) 1. ร่วมกิจกรรมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด 2. บำรุงรักษาอุปกรณ์และสถานที่ในความรับผิดชอบ บริเวณสถานที่พักผ่อนริมคลอง จุดชมวิวทิวทัศน์/จุดเช็คอิน (Check in) บริเวณสะพานข้ามคลอง ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เช่น ป้ายอำนวยความสะดวก (ชื่อแหล่งน้ำ, ประวัติศาสตร์พื้นที่ ฯลฯ) ป้ายประดับต่าง ๆ ไม้ดอกไม้ประดับ ไฟฟ้าส่องสว่าง ราวกันตกริมคลอง และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. คัดเลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสร้างอัตลักษณ์ให้โดดเด่น โดยการตกแต่งประดับสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ บริเวณที่สาธารณะริมคลอง สะพานข้ามคลอง หรือพัฒนาในรูปแบบ ที่เหมาะสม เช่น Tactical Urbanism เป็นต้น 4. บริหารจัดเก็บขยะอย่างเป็นระบบในพื้นที่ตามแนวคลอง เพื่อไม่ให้ประชาชนทิ้งขยะลงคลอง เช่น การกำหนดจุดทิ้งขยะ นัดทิ้ง-นัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ และการเก็บขนขยะ เป็นต้น 5. รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การคัดแยกขยะมูลฝอย การจัดการน้ำเสีย การกำจัดไขมันก่อนทิ้ง ลงท่อระบายน้ำให้กับประชาชนและสถานประกอบการ รวมถึง การสร้างความเข้าใจในการเตรียมการจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสีย เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและให้เกิดการมีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย 6. ให้การสนับสนุนงานภาพรวมในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่เป้าหมายตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด ภารกิจส่วนที่ 2 จัดทำข้อเสนอแนะฯ (คะแนนร้อยละ 10) ทุกหน่วยงานจัดทำข้อเสนอแนะการพัฒนาเพิ่มเติมจากการ ดำเนินงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมในส่วนภารกิจที่รับผิดชอบ และจัดทำโครงการ/กิจกรรมในรูปแบบที่พร้อมขอจัดสรร งบประมาณในปีถัดไปส่งให้สำนักการระบายน้ำภายในกำหนด ภารกิจส่วนที่ 3 ผลการประเมินภาพรวม (คะแนนร้อยละ 50) สำนักการระบายน้ำประเมินผลภาพรวม ประกอบด้วย - ผลการประเมินตามหลักเกณฑ์ภาพรวมการปรับภูมิทัศน์คลอง ของกรุงเทพมหานคร (ร้อยละ 20) - ผลคะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นของประชาชนต่อการปรับภูมิทัศน์คลอง ของกรุงเทพมหานคร จากแบบสอบถามออนไลน์ ซึ่งจัดทำโดย สำนักงานประชาสัมพันธ์ (ร้อยละ 30) วิธีคำนวณ/วัดผลการดำเนินงาน/สูตรคำนวณ นับจากผลรวมของความสำเร็จการดำเนินงานตามภารกิจ ของทุกหน่วยงานตามภารกิจที่ 1 - 3 โดยแบ่งเป็น 1. ภารกิจส่วนที่ 1 คะแนนร้อยละ 40 2. ภารกิจส่วนที่ 2 คะแนนร้อยละ 10 3. ภารกิจส่วนที่ 3 คะแนนร้อยละ 50 รวม คะแนนร้อยละ 100
1. แผนการปรับภูมิทัศน์คลองของกรุงเทพมหานคร 2. แผนปฏิบัติการปรับภูมิทัศน์คลองของแต่ละหน่วยงาน 3. รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม 4. รายงานผลการดำเนินงานปรับภูมิทัศน์คลองของ กรุงเทพมหานคร 5. ผลสรุปคะแนนรายด้านและคะแนนภาพรวม 6. รายละเอียดและข้อเสนอการพัฒนาเพิ่มเติมของแต่ละหน่วยงาน
:ยุทธศาสตร์ที่ ๔ –การเชื่อมโยงเมืองที่มีความคล่องตัวและระบบบริการสาธารณะแบบบูรณาการ |
:๔.๓ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีรูปแบบการจัดการภูมิทัศน์เมืองอย่างยั่งยืน |
:๔.๓.๑ กรุงเทพมหานครมีการปรับปรุงองค์ประกอบทางภูมิทัศน์เมืองและส่งเสริมอัตลักษณ์และทัศนียภาพในการรับร% |
:๔.๓.๑.๓ อนุรักษ์และฟื้นฟูย่าน (Districts) ตามผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะที่สอดคล้องกับผังเมืองรวม หรือพิจารณาเพิ่มเติมในอนาคตที่มีอัตลักษณ์และ พัฒนาพื้นที่ชุมชนอันมีความเป็นเอกลักษณ์ของในพื้นที่กรุงเทพมหานคร |