รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ระดับความสำเร็จของคลอง ในพื้นที่กรุงเทพมหานครได้รับ การปรับภูมิทัศน์ให้สอดคล้อง กับเอกลักษณ์ของพื้นที่ : 5017-859

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ )
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
15.00

0 / 0
2
30.00
95
95 / 100
3
60.00
95
95 / 100
4
100.00

0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

- เข้าร่วมประชุมการชี้เเจงหลักเกณฑ์รายละเอียดตัวชี้วัด

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับปรุงภูมิทัศน์คลองของสำนักงานเขต

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

- เข้าร่วมประชุมและกิจกรรมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด (27 มี.ค.66) - จัดทำแผนการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองตามเป้าหมาย (10 เม.ย.66) - รายการตรวจรักษาสภาพคลอง - พัฒนาจุดเช็คอิน Check in อย่างน้อย 1 จุด - ตรวจสอบความเรียบร้อยสะพานข้ามคลอง ให้ อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน - ตรวจสอบความเรียบร้อยความป้ายบอกสถานที่ ป้ายประดับเอกลักษณ์ของพื้นที่อย่างน้อย 1 จุด - ตรวจสอบไฟฟ้าส่องสว่างริมคลองให้อยู่ใน สภาพพร้อมใช้งาน - ตรวจสอบความเรียบร้อยความปลอดภัยกล้องวงจรปิดและซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้างตลอดแนวคลอง (ราวกันตก)ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน - บริหารการจัดเก็บขยะ - การประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ(การรณรงค์,ติดป้ายประชาสัมพันธ์) - พัฒนาล้างทำความสะอาดทางเดินเท้าตลอดแนวคลอง - บริหารจัดเก็บขยะอย่างเป็นระบบในพื้นที่ตามแนวคลอง กำหนดจุดทิ้งขยะ นัดทิ้ง-นัดเก็บ จัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ และวัสดุสิ่งของเหลือใช้ - รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างความ ตระหนักรู้ถึงความสำคัญและให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและ สถานประกอบการในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามแนวคลอง 1) การคัดแยกขยะมูลฝอยตามแนวทาง “ไม่เทรวม” 2) การนำขยะเศษอาหารทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ 3) การนำสิ่งของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (Reuse and Recycle) 4) การจัดการน้ำเสียชุมชน 5) การกำจัดไขมันก่อนทิ้งลงท่อระบายน้ำ 6) การสร้างความเข้าใจในการเตรียมการจัดเก็บค่าบริการบำบัด น้ำเสียและค่าธรรมเนียมการเก็บขนมูลฝอย

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

1. จัดทำโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ตามตัวชี้วัดเจรจาตกลงการประเมินผลการปฎิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เเละดำเนินงานตามแผน 2. รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หน่วยงานสำนักงานเขตคลองสาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 อย่างเป็นทางการ ในรูปแบบเอกสารที่สำนักการระบายน้ำกำหนด และส่งในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งไฟล์ Word และ PDF ไปที่อีเมล์ ccanal2565@gmail.com เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

การปรับภูมิทัศน์คลอง หมายถึง การปรับภูมิทัศน์ของพื้นที่ตลอดแนวคลองเป้าหมายให้มีความสวยงาม สะอาด ปลอดภัยสอดคล้องกับเอกลักษณ์ของพื้นที่ และมีความโดดเด่นเป็นอัตลักษณ์ทั้งภูมิทัศน์ที่เป็นแหล่งธรรมชาติและสถานที่ที่ถูกสร้างขึ้นและบำรุงรักษาให้เกิดความยั่งยืน รวมถึงการพัฒนาต่อยอดเชิงพื้นที่หรือย่านที่สำคัญตามแนวคลอง เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่เอกลักษณ์ หมายถึง ลักษณะเด่นของท้องถิ่น/พื้นที่ที่แสดงให้เห็นความแตกต่างจากท้องถิ่นอื่น ขึ้นอยู่กับสภาพตามธรรมชาติศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เศรษฐกิจ และสังคม(เป็นสิ่งตายตัวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้) เช่น สภาพภูมิศาสตร์พืชพันธุ์ไม้ สัตว์ ภาษาถิ่น ประเพณีท้องถิ่นศิลปะหัตถกรรม อาหารการกิน เทคโนโลยี แฟชั่น ฯลฯ อัตลักษณ์ หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใด สิ่งหนึ่งที่โดดเด่น ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่รู้จักหรือจำได้ (สามารถ สร้างใหม่หรือเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาให้ดีขึ้นได้) เช่น การประดับ ตกแต่งต่าง ๆ สร้างพื้นที่ย่านให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์สอดคล้อง กับแต่ละพื้นที่โดยใช้แนวทางการพัฒนาในรูปแบบ Tactical Urbanism, Urban Renewal เป็นต้น

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

นับจากผลรวมของความสำเร็จการดำเนินงานตามภารกิจ ของทุกหน่วยงานตามภารกิจที่ 1 - 3 โดยแบ่งเป็น 1. ภารกิจส่วนที่ 1 คะแนนร้อยละ 40 2. ภารกิจส่วนที่ 2 คะแนนร้อยละ 10 3. ภารกิจส่วนที่ 3 คะแนนร้อยละ 50 รวม คะแนนร้อยละ 100

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. แผนการปรับภูมิทัศน์คลองของกรุงเทพมหานคร ๒. แผนปฏิบัติการปรับภูมิทัศน์คลองของแต่ละหน่วยงาน ๓. รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม ๔. รายงานผลการดำเนินงานปรับภูมิทัศน์คลองของ กรุงเทพมหานคร ๕. ผลสรุปคะแนนรายด้านและคะแนนภาพรวม 6. รายละเอียดและข้อเสนอการพัฒนาเพิ่มเติมของแต่ละหน่วยงาน

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ยุทธศาสตร์ที่ ๔ –การเชื่อมโยงเมืองที่มีความคล่องตัวและระบบบริการสาธารณะแบบบูรณาการ
:๔.๓ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีรูปแบบการจัดการภูมิทัศน์เมืองอย่างยั่งยืน
:๔.๓.๑ กรุงเทพมหานครมีการปรับปรุงองค์ประกอบทางภูมิทัศน์เมืองและส่งเสริมอัตลักษณ์และทัศนียภาพในการรับร%
:๔.๓.๑.๓ อนุรักษ์และฟื้นฟูย่าน (Districts) ตามผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะที่สอดคล้องกับผังเมืองรวม หรือพิจารณาเพิ่มเติมในอนาคตที่มีอัตลักษณ์และ พัฒนาพื้นที่ชุมชนอันมีความเป็นเอกลักษณ์ของในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง