ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
รณรงค์สร้างความร่วมมือคัดแยกขยะก่อนทิ้งและ การส่งเสริมการลดดการเกิดขยะ ดังนี้ 1) ส่งเสริมการลด ละ เลิกการใช้พลาสติกหรือบรรจุภัณฑ์ ประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง Reduce (ใช้น้อย) 2) ส่งเสริมการใช้ภาชนะที่ใช้ซ้ำได้ การบริโภคสินค้าคืนขวด หรือบรรจุภัณฑ์ Reuse (ใช้ซ้ำ) 3) คัดแยกขยะก่อนทิ้งเป็น 4 ประเภท แบ่งเป็นสองส่วน ส่วนที่ 1 แยกแล้วนำไปใช้ประโยชน์เอง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) วัสดุรีไซเคิล โดยการขายหรือบริจาค (2) ขยะเศษอาหาร นำมาทำปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพ และแยกน้ำมันพืชใช้แล้วขาย ส่วนที่ 2 แยกเพื่อส่งกำจัด 4 ประเภท ได้แก่ ขยะอันตราย ขยะเศษอาหาร ขยะทั่วไป ขยะชิ้นใหญ่
- จัดทำแผนลงชุมชนและโรงเรียน ซึ่งจะเริ่มดำเนินการตามแผนในเดือน มีนาคม 2566 - ให้ความรู้ในการคัดแยกขยะจากต้นทางและไม่เทรวม สาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพ ณ ชุมชนโบสถ์บน - ให้ความรู้ในการคัดแยกขยะจากต้นทางและไม่เทรวม สาธิตการทำน้ำยาล้างจาน ณ สำนักงานเขตคลองสาน - ประชาสัมพันธ์ไม่เทรวม และคัดแยกขยะจากต้นทาง การแจกน้ำหมักชีวภาพ ณ ถนนลาดหญ้าฝั่งเลขคี่ตลอดแนว
- มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะเศษอาหารและนำมาใช้ประโยชน์ เช่น ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์แก่ประชาชน ชุมชน โรงเรียน สถานประกอบการ - สาธิต เผยแพร่ความรู้และวิธีการแปรรูปขยะ เศษอาหารเป็นน้ำหมักชีวภาพ แก่ประชาชนชุมชน สถานศึกษา สถานประกอบการ จากเดิม 41 แห่ง เพิ่มอีก 34 แห่ง ประกอบด้วย 1. การประชาสัมพันธ์และรณรงค์ส่งเสริมการคัดแยกขยะในชุมชนพร้อมการจัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ จำนวน 28 แห่ง ดังนี้ 2. ให้ความรู้การคัดแยกขยะจากต้นทาง การนำขยะอินทรีย์มาใช้ประโยชน์ และสาธิตการทำน้ำหมักชีวิภาพ จำนวน 4 แห่ง ให้ความรู้การคัดแยกขยะฯ เพิ่ม 8 แห่ง ดังนี้ 3. รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ การไม่เทรวม การคัดแยกขยะจากต้นทาง และการจัดทำน้ำหมักชีวภาพ จำนวน 3 แห่ง รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ การไม่เทรวมฯ เพิ่ม 13 แห่ง 4. จัดกิจกรรมการคัดแยกขยะจากต้นทาง โดยการจัดวางถังขยะตามประเภทต่าง ๆ จำนวน 5 แห่ง
- รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะเศษอาหารจากต้นทางและนำมาใช้ประโยชน์ เช่น ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์แก่ประชาชน ชุมชน โรงเรียน สถานประกอบการ - สาธิต เผยแพร่ความรู้และวิธีการแปรรูปขยะ เศษอาหารเป็นน้ำหมักชีวภาพ แก่ประชาชน ชุมชน สถานศึกษา สถานประกอบการ - จ้างอาสาสมัครชักลากฯ ที่มีความพร้อม จำนวน 4 ชุมชน และส่งเสริมให้อาสาสมัครมีการคัดแยกขยะจากต้นทาง - จัดทำแผนการจัดเก็บขยะชิ้นใหญ่และอัตรายในชุมชนและ ดำเนินการตามแผน - รณรงค์ ประชาสัมพันธ์และขอความร่วมมือคัดแยกขยะมูลฝอยก่อนทิ้ง รวมผลการดำเนินการทั้งหมด รวม 185 แห่ง
1. การดำเนินการลดและคัดแยกขยะ หมายถึง การรณรงค์สร้าง ความร่วมมือในกลุ่มเป้าหมาย โดยการนำแนวคิดการแยกขยะ ด้วยการส่งเสริมสมาชิกชุมชน/องค์กร เพื่อให้เกิดกระบวนการ ลดและคัดแยกขยะเพื่อนำมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น 2. ประเภทแหล่งกำเนิด แบ่งเป็น 7 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) สถานศึกษา 2) อาคาร 3) ชุมชน 4) งานกิจกรรม/เทศกาล 5) ตลาด 6) ศาสนสถาน และ 7) อื่นๆ ภารกิจ
นับจำนวนองค์กรหรือชุมชนที่ร่วมดำเนินการลดและคัดแยกขยะ ตาม 6 กลุ่มประเภทแหล่งกำเนิด
1. แบบรายงานผลการดำเนินการ 2. สรุปผลการดำเนินการ
:ยุทธศาสตร์ที่ ๒ –การพัฒนาสิ่งแวดล้อมยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
:๒.๑ - คุณภาพสิ่งแวดล้อมยั่งยืน |
:๒.๑.๓ กรุงเทพมหานครมีการลดและควบคุมปริมาณมูลฝอยที่แหล่งกำเนิดและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอยตั้ง% |
:๒.๑.๓.๑ การจัดการมูลฝอยต้นทางอย่างมีประสิทธิภาพ |