รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละความสำเร็จของการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ : 5020-6519

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
30.00

0 / 0
3
70.00

0 / 0
4
100.00

0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่ระหว่างรอแนวทางตัวชี้วัด

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ดำเนินการจัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ (Action Plan) โดยการแก้ไข/ปรับปรุง จุดเสี่ยงอุบัติเหตุ ตลาดเทพเจริญ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ดำเนินการปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ จำนวน 1 จุด เรียบร้อยตามเป้าหมายที่กำหนด ได้แก่ จุดกลับรถหน้าตลาดเทพเจริญ 9 ถนนพรานนก – พุทธมณฑล

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

- ผู้เสียชีวิต หมายถึง ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ทั้งการเสียชีวิตที่จุดเกิดเหตุ ระหว่างนำส่งจนถึงโรงพยาบาล และที่โรงพยาบาล - อัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่อประชากรแสนคน หมายถึง จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนหารด้วยจำนวนประชากรกลางปีตามทะเบียนราษฎร์กรุงเทพมหานครรายปีปัจจุบัน+ด้วยประชากรแฝงและคูณด้วย 100,000 คน - Heat Map คือ แผนที่แสดงความหนาแน่นของจุดหรือบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุบนแผนที่ Longdo Map ซึ่งดูได้จาก https://mapdemo.longdo.com/bkk-accidents-clusters/โดยข้อมูลใน Heat Map เก็บรวบรวมจาก มูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยไทย (iTic) และบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด (ThaiRSC) - Risk Map คือ แผนที่แสดงจุดหรือบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุ และมีผู้บาดเจ็บ (หมุดสีส้ม) ผู้เสียชีวิต(หมุดสีแดง) ดูได้จาก http://www.ThaiRSC.com ข้อมูลใน Risk Map เก็บรวบรวมจากบริษัทประกันภัย,สำนักงานตำรวจแห่งชาติ,โรงพยาบาล และมูลนิธิช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่าง ๆ - จุดเสี่ยงอุบัติเหตุ หมายถึง จุดเกิดอุบัติเหตุที่มีความถี่ การเกิดไม่น้อยกว่า 3 ครั้งในรอบ 1 ปี โดยมีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยพิจารณาคัดเลือกจุดเสี่ยงจากฐานข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุ กำหนดให้เป็นจุดดำเนินการในปีงบประมาณที่ประเมิน ดังนี้ 1.จุดเสี่ยงอุบัติเหตุจาก Heat Map ใน 100 ลำดับแรกของคลัสเตอร์ตามความหนาแน่นของจุดเกิดอุบัติเหตุ โดยใช้ข้อมูลของ ThaiRSC และ iTIC ประกอบกัน (จำนวน100 จุด) 2.จุดเสี่ยงอุบัติเหตุ ในสำนักงานเขตที่ไม่อยู่ใน 100 คลัสเตอร์ จำนวน 15 เขต โดยกำหนดจุดเสี่ยงจากข้อมูลจุดเสี่ยงของสำนักงานเขตที่เคยส่งในตัวชี้วัดเจรจาตกลงฯ ประจำปีงบประมาณ 2565 ที่ยังไม่ได้ดำเนินการ สำนักงานเขตละ 1 จุด (จำนวน 15 จุด) - จุดดำเนินการ หมายถึง จุดเสี่ยงอุบัติเหตุที่กำหนดก่อนดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุง ในปีงบประมาณที่ประเมิน - แผนปฏิบัติการ (Action Plan) หมายถึง แผน ซึ่งหน่วยงาน จัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานหรือกิจกรรมที่ส่งผลต่อความสำเร็จของตัวชี้วัด โดยบรรจุรายละเอียดถึงกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ พร้อมระยะเวลาดำเนินการแต่ละขั้นตอน ทั้งนี้ให้หมายรวมถึง แผนที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนกวดขันวินัยจราจรและ/หรืออำนวยการจราจรและผู้สัญจร เป็นต้น - บันทึกส่งมอบผลผลิต หมายถึง เอกสารที่กำหนดให้หน่วยงานร่วมจะต้องดำเนินการส่งผลผลิตสนับสนุนตัวชี้วัด ตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ - ผลผลิต หมายถึง หน่วยผลผลิตที่เกิดขึ้นจากกระบวนการและกิจกรรมตามภารกิจของหน่วยงานซึ่งได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ เพื่อสนับสนุนตัวชี้วัดนี้ - หน่วยงาน หมายรวมถึง ดังนี้ หน่วยงานหลัก หมายถึง หน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานครที่เป็นเจ้าของตัวชี้วัด และมีอำนาจในการบริหารจัดการในภาพรวม ได้แก่ สำนักการจราจรและขนส่ง หน่วยงานรอง หมายถึง หน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานครที่มีภารกิจและตัวชี้วัดเฉพาะ ที่สนับสนุนการขับเคลื่อนตัวชี้วัดนี้ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ ในที่นี้ หมายถึง สำนักการโยธา สำนักเทศกิจ สำนักงานเขต สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร หน่วยงานสนับสนุน หมายถึง หน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่ไม่ได้นำตัวชี้วัดนี้ไปประเมินผลการปฏิบัติราชการ แต่มีภารกิจสนับสนุนการดำเนินงานตัวชี้วัด หน่วยงานอื่น หมายถึง หน่วยงานที่ไม่ได้สังกัดกรุงเทพมหานคร แต่มีภารกิจที่ต้องสนับสนุนการ ขับเคลื่อนตัวชี้วัดนี้ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ เช่น ตำรวจ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท บริษัทกลาง มูลนิธิต่าง ๆ เป็นต้น - คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน หมายถึงคณะอนุกรรมการ/คณะทำงานที่ถูกจัดตั้งขึ้นขับเคลื่อนให้เป็นไปตามตัวชี้วัดนี้

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

สำนักงานเขต - วัดผลจากร้อยละความสำเร็จในการดำเนินการตามภารกิจตามที่หน่วยงานหลัก/หน่วยงานรองระดับสำนักมอบหมาย โดยคำนวณจาก จำนวนกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานหลักฯและรอง ดำเนินการสำเร็จหารด้วยจำนวนกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงาน ทั้งหมดคูณด้วย 100 จากนั้นนำไปเทียบกับเกณฑ์วัดผลความสำเร็จ

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1) รายงานการประชุม ศปถ.เขต 2) เอกสารที่แสดงถึงภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานระดับสำนัก 3) หลักฐานที่แสดงถึงการปฏิบัติตามการมอบหมายจากหน่วยงานระดับสำนัก เช่น เอกสาร ภาพถ่าย เป็นต้น 4) หลักฐานการประสานงานกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) 5) รายงานผลการดำเนินงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานระดับสำนัก

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง