รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน : 5020-6525

ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5

ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 5

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ระดับ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
1.00

0 / 0
3
2.00

0 / 0
4
5.00

0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่ระหว่างรอแนวทางตัวชี้วัด

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนด ได้แก่ -ขั้นตอนที่ 1 ดำเนินการค้นหแนวคิด โดยการระดมความคิดเห็นร่วมกันทุกส่วนราชการ และจัดทำแบบฟอร์ม 1 -ขั้นตอนที่ 2 ดำเนินการคัดเลือกแนวคิด จำนวน 1 แนวคิด และจัดทำแบบฟอร์ม 2 -ขั้นตอนที่ 3 ดำเนินการนำเสนอโครงการพัฒนานวัตกรรมต่อคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมกรุงเทมพหานคร และจัดทำฟอร์ม 3 และ 4

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนด ได้แก่ -ขั้นตอนที่ 4 ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมกรุงเทพมหานคร ตามโครงการให้บริการข้อมูลรถจักรยานยนต์รับจ้างในพื้นที่เขตตลิ่งชัน ผ่าน Talingchan QR Code

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนด ได้แก่ - ขั้นตอนที่ 5 การนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ โดยการประเมินผลความพึงพอใจการใช้นวัตกรรม และการติดตามผลของการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

นวัตกรรม หมายถึง แนวคิด วิธี และรูปแบบใหม่ ๆ ในการจัดการองค์กร การดำเนินงาน และการให้บริการ อันเป็นผลมาจากการสร้าง พัฒนา เพิ่มพูน ต่อยอด หรือประยุกต์ใช้องค์ความรู้ และแนวปฏิบัติต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพประสิทธิผล หรือคุณภาพของการปฏิบัติงานของหน่วยงาน (ที่มา : ศูนย์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาระบบราชการไทย สำนักงาน ก.พ.ร.) การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน หมายถึง การปรับปรุง แก้ไข และหรือเพิ่มความสามารถ หรือทักษะในการปฏิบัติงานของหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ผลการปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุณภาพ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้รับบริการ

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

คะแนนรวม = ส่วนที่ 1 (การค้นหาและคัดเลือกแนวคิด)+ ส่วนที่ 2 (การกลั่นกรองนวัตกรรม) + ส่วนที่ 3 ( ผลการดำเนินการ) เมื่อได้คะแนนรวมแล้ว จึงนำผลที่ได้มาเทียบหาระดับคะแนนที่ได้รับของตัวชี้วัดความสำเร็จ ในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน เทียบระดับคะแนนที่จะได้รับ ตามช่วงการปรับเกณฑ์การให้คะแนน ระดับความสำเร็จ ระดับ 1 = 20 คะแนน ระดับ 2 = 40 คะแนน ระดับ 3 = 60 คะแนน ระดับ 4 = 80 คะแนน ระดับ 5 = 100 คะแนน

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. แบบเสนอแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน (แบบฟอร์ม 1) 2. แบบสรุปผลการคัดเลือกแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของหน่วยงาน (แบบฟอร์ม 2) 3. แบบนำเสนอโครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน (แบบฟอร์ม 3) พร้อมแผนการดำเนินการ 4. โครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน (แบบฟอร์ม 4) 5. เอกสาร/หลักฐานต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการดำเนินการพัฒนานวัตกรรม เช่น นวัตกรรมที่พัฒนาแล้วเสร็จ การนำนวัตกรรมไปใช้ ผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้นวัตกรรม ผลลัพธ์ที่ได้จากการพัฒนานวัตกรรม รายงานการประชุม รายงานสรุปผลการดำเนินการ ภาพถ่าย ฯลฯ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล
:๗.๓.๒ กรุงเทพมหานครมีระบบบริหารทรัพยากรบุคคลเข้มแข็งเอื้อต่อความเป็นธรรมสามารถสร้างสมดุล%
:๗.๓.๑.๒ พัฒนาการให้บริการของกรุงเทพมหานครให้มีคุณภาพ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง