รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละความสำเร็จในการยกระดับการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลภาครัฐ เพื่อบริหารราชการ ที่ยืดหยุ่น โปร่งใส คล่องตัว : 5021-900

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
5.00

0 / 0
2
35.00

0 / 0
3
70.00

0 / 0
4
100.00

0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่ระหว่างรอรายละเอียดแนวทางการดำเนินการและหลักเกณฑ์การประเมินผล

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

จัดส่งคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของสำนักงานเขตภาษีเจริญ บัญชีรายการข้อมูล และแผนพัฒนาข้อมูลที่มีคุณค่าสูง ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2566 - 2569) ให้ สยป. ทาง E - mail : networkgid@gmail.com ภายในระยะเวลาที่กำหนด

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

จัดทำชุดข้อมูลตามตัวชี้วัดที่ 5.2 จำนวน 12 ชุดข้อมูล ได้แก่ 1.ลานกีฬา 2.สถานีดับเพลิง 3.บ้านหนังสือ 4.ศาสนสถาน 5.โรงเรียนในสังกัด กทม. 6.โรงควบคุมคุณภาพน้ำ 7.ศูนย์กีฬา 8.ศูนย์เยาวชน 9.ห้องสมุด 10.ตลาด 11.ประตูระบายน้ำ 12.สถานีสูบน้ำ ส่งสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล เพื่อนำเข้าระบบ District Catalog และเผยแพร่บนเว็บไซด์ data.bangkok.go.th ต่อไป

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

- จัดทำชุดข้อมูลตามตัวชี้วัดที่ 5.2 เพิ่มเติมอีก 16 ชุดข้อมูล ได้แก่ 1. น้ำเสียในสถานประกอบการ 2. ป้าย 3. อาคารเสี่ยงภัย 4. พื้นที่เสี่ยงภัย 5. มูลนิธิกู้ภัย 6. ชักลากขยะ 7. Otop 8. วินจักรยานยนต์รับจ้าง 9. แหล่งท่องเที่ยว 10. พิพิธภัณฑ์ 11.โรงรับจำนำ 12.สถาบันการศึกษาในระบบ 13.สถาบันการศึกษานอกระบบ 14.ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย 15.โรงพยาบาล 16.ศูนย์บริการสาธารณสุข ส่งสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล เพื่อนำเข้าระบบ District Catalog และเผยแพร่บนเว็บไซด์ data.bangkok.go.th ต่อไป - นำชุดข้อมูลที่ได้จัดทำไปพัฒนาเป็น Dashboard ที่แสดงผลการวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจตามภารกิจของหน่วยงาน จำนวน 2 เรื่อง คือ 1. สถานศึกษาในสังกัด 2. โรงพยาบาลในพื้นที่เขตภาษีเจริญ และเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงาน พร้อมทั้งส่งรายละเอียดให้ สยป. ทาง E - mail : networkgid@gmail.com

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ชุดข้อมูล (Dataset) หมายความว่า ข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้จากหลายแหล่ง และนำข้อมูล มาจัดเป็นชุดให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูลที่กำหนดไว้หรือการใช้ประโยชน์ของข้อมูล ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันได้ถูกรวบรวมไว้ด้วยกัน ซึ่งสนับสนุนกิจกรรมหรือภารกิจของหน่วยงาน โดยแต่ละฐานข้อมูลจะประกอบไปด้วยหลายๆ ชุดข้อมูล ที่มีความสัมพันธ์กัน บัญชีรายการข้อมูล (Data Catalog) หมายความว่า เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงาน คำอธิบายข้อมูลหรือเมทาดาตา (Metadata) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้อธิบายข้อมูล โดยระบุรายละเอียด แหล่งข้อมูล หรือคำอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ซึ่งจัดทำให้ผู้ใช้ข้อมูลทราบว่าข้อมูลมาจากแหล่งใด มีรูปแบบอย่างไร เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล และใช้ประโยชน์ในการจัดทำบัญชีรายการข้อมูล พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้อธิบายชุดข้อมูลอย่างละเอียด เป็นรายตัวแปร โดยมีส่วนที่บังคับต้องทำการอธิบายข้อมูลรายตัวแปร 3 รายการ ได้แก่ ชื่อตัวแปรข้อมูล ชนิดของตัวแปรข้อมูล และคำอธิบายตัวแปรข้อมูล ชุดข้อมูลที่สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง (Machine-readable) หมายถึง ข้อมูลต้องมีโครงสร้าง สามารถอ่านได้ด้วยเครื่องและนำข้อมูลไปใช้งานต่อได้ โดยมีคุณลักษณะที่เหมาะสม ดังนี้ 1. ข้อมูลต้องมีโครงสร้างโดยจะต้องจัดอยู่ในรูปแบบแถวและคอลัมน์ 2. ข้อมูลแต่ละรายการจะต้องจัดเก็บอยู่ในช่องหรือเซลล์เดียวเท่านั้น 3. การตั้งชื่อคอลัมน์ควรสอดคล้องตามกฎเกณฑ์การตั้งชื่อของภาษาคอมพิวเตอร์ 4. ข้อมูลควรถูกจัดโครงสร้างในรูปแบบตารางรายการ (Transaction Table) 5. รูปแบบของข้อมูลจะต้องมีความคงเส้นคงวา (Consistency) 6. ข้อมูลควรถูกจัดเก็บในรูปแบบรหัสที่คอมพิวเตอร์เข้าใจง่าย 7. ชุดข้อมูลจะต้องกำหนดประเภทการเข้ารหัส (Encoding) ที่สอดคล้องกับภาษาของข้อมูล ที่จัดเก็บ 8. ชุดข้อมูลควรบันทึกอยู่ในรูปแบบมาตรฐานเปิดที่สามารถใช้ได้หลายแพลตฟอร์ม 9. ชุดข้อมูลต้องบันทึกอยู่ในรูปแบบไฟล์ที่สามารถประมวลผลด้วยเครื่อง ระดับการเปิดเผยข้อมูล หมายถึง กลุ่มของประเภทข้อมูลที่จัดระดับการเปิดเผยข้อมูล ตามความสะดวกต่อการนำไปใช้งาน โดยจัดระดับการเปิดเผยข้อมูลเป็น 5 ระดับ ดังนี้ ระดับการเปิดเผย รายละเอียด ประเภทข้อมูล ★ (1 ดาว) เผยแพร่ข้อมูลในทุกรูปแบบบนเว็บไซต์ PDF, DOC, TXT, TIFF, JPEG ★★ (2 ดาว) เผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบ Structured data ที่เครื่องสามารถอ่าน ได้ (Machine-readable) เช่น ข้อมูลอยู่ในรูปแบบไฟล์ Excel XLS ★★★ (3 ดาว) เผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบ Non-proprietary format เช่น ข้อมูลใน รูปแบบ CSV แทนรูปแบบ Excel CSV, ODS, XML, JSON, KML, SHP, KMZ ★★★★ (4 ดาว) ใช้ URI (Uniform Resource Identifier) ในการระบุตัวตน ของทรัพยากร (ข้อมูล) และชี้ไปยังตำแหน่งของทรัพยากรนั้น RDF (URIs) ★★★★★ (5 ดาว) ข้อมูลมีการเชื่อมโยงไปสู่แหล่งข้อมูลอื่นๆ ในบริบทที่เกี่ยวข้องกันได้ RDF (Linked Data) ชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง หรือชุดข้อมูลที่มีศักยภาพสูง (High Value Datasets) หมายถึง ชุดข้อมูล ที่สอดคล้องตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ยุทธศาสตร์ แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร สถาปัตยกรรม องค์กรของกรุงเทพมหานคร สอดคล้องตามรายชื่อชุดข้อมูลตามผลสำรวจของสำนักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) หรือตามผลสำรวจความต้องการใช้ชุดข้อมูลของกรุงเทพมหานครที่สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง มีรูปแบบ อยู่ในระดับ 3 เป็นอย่างน้อย (3 ดาว) มีประโยชน์ต่อทั้งหน่วยงานของรัฐและผู้ใช้ข้อมูล ตรงตามความต้องการ ของผู้ใช้ข้อมูลอย่างแท้จริง และสามารถนำไปใช้ต่อได้อย่างกว้างขวาง ศูนย์ข้อมูลเปิดภาครัฐของกรุงเทพมหานคร หมายถึง เว็บไซต์ที่ให้บริการหรือเผยแพร่ข้อมูลเปิด ของกรุงเทพมหานคร ภายใต้ชื่อ “data.bangkok.go.th” เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลเปิดได้สะดวก รวดเร็ว ตลอดเวลา โดยข้อมูลที่เผยแพร่อยู่ในรูปแบบไฟล์ที่สามารถแสดงตัวอย่างข้อมูล (Preview) การแสดง ข้อมูลด้วยภาพ (Visualization) และเอพีไอ (API) แบบอัตโนมัติให้กับชุดข้อมูลที่เผยแพร่ได้ รวมทั้งยังสามารถ จัดการชุดข้อมูลและคำอธิบายข้อมูลได้ คณะทำงานธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐระดับหน่วยงาน หมายถึง คณะทำงานที่ทำหน้าที่ตัดสินใจเชิง นโยบาย แก้ไขปัญหา และบริหารจัดการด้านข้อมูลของหน่วยงาน เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์และดำเนินการกำกับ ดูแลข้อมูลให้มีคุณภาพ โดยนำกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของกรุงเทพมหานครไปดำเนินการ รวมถึงทบทวน และติดตามการดำเนินงานธรรมาภิบาลข้อมูลภายในหน่วยงาน คณะทำงานบริกรข้อมูลระดับหน่วยงาน หมายถึง คณะทำงานที่ทำหน้าที่ดำเนินการกำกับดูแล ติดตามสนับสนุนให้เกิดธรรมาภิบาลข้อมูลที่ดีภายในหน่วยงาน และรายงานผลการดำเนินการธรรมาภิบาลข้อมูล รวมทั้งการให้ข้อมูลสนับสนุนในการตัดสินใจต่อคณะทำงานธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐระดับหน่วยงาน

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ขั้นตอนที่ 1 (3 คะแนน) 1 คะแนน : มีคำสั่งคณะทำงานธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐและคณะทำงาน บริกรข้อมูลระดับหน่วยงาน 2 คะแนน : มีคำสั่งคณะทำงานธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐและคณะทำงาน บริกรข้อมูลระดับหน่วยงาน และมีบัญชีรายการข้อมูลทั้งหมด 3 คะแนน : มีคำสั่งคณะทำงานธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐและคณะทำงาน บริกรข้อมูลระดับหน่วยงาน มีบัญชีรายการข้อมูลทั้งหมด และมีแผนพัฒนาข้อมูลที่มีคุณค่าสูง ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2566-2569) ตามผลการประชุมหารือร่วมกันของ 50 สำนักงานเขต (ให้ส่ง ภายในเดือนสิงหาคม 2566) ขั้นตอนที่ 2 (5 คะแนน) จัดทำและปรับปรุงข้อมูลตามแผนพัฒนาข้อมูลที่มีคุณค่าสูงของ หน่วยงานในระบบบริหารจัดการพื้นที่เขตในกรุงเทพมหานคร และ เผยแพร่บนศูนย์ข้อมูลเปิดภาครัฐของกรุงเทพมหานคร พร้อม คำอธิบายข้อมูลดิจิทัล และพจนานุกรม โดยมีเกณฑ์การให้ คะแนน ดังนี้ 1 คะแนน : จำนวนตั้งแต่ 1 ถึง 7 ชุดข้อมูล 2 คะแนน : จำนวนตั้งแต่ 8 ถึง 14 ชุดข้อมูล 3 คะแนน : จำนวนตั้งแต่ 15 ถึง 21 ชุดข้อมูล 4 คะแนน : จำนวนตั้งแต่ 22 - 27 ชุดข้อมูล 5 คะแนน : จำนวน 28 ชุดข้อมูล ขั้นตอนที่ 3 (2 คะแนน) 1 คะแนน : นำชุดข้อมูลที่ได้จัดทำไปพัฒนาเป็น Dashboard ที่แสดงผลการวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ ตามภารกิจของหน่วยงานจำนวนไม่น้อยกว่า 1 เรื่อง 2 คะแนน : นำชุดข้อมูลที่ได้จัดทำไปพัฒนาเป็น Dashboardที่แสดงผลการวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจตามภารกิจของหน่วยงานจำนวนไม่น้อยกว่า 2 เรื่อง นำผลของคะแนนที่หน่วยงานได้รับในแต่ละขั้นตอนมารวมกัน ผลรวมคะแนน = (ขั้นตอนที่ 1 + ขั้นตอนที่ 2 + ขั้นตอนที่ 3) กรณีผลรวมคะแนนมีเศษทศนิยม ตั้งแต่ 0.5 ให้ปัดขึ้น แล้วนำคะแนนสุทธิเทียบระดับความสำเร็จ

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. หน่วยงานต้องนำตัวชี้วัด 5.2 ร้อยละความสำเร็จในการยกระดับการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลภาครัฐ เพื่อบริหารราชการที่ยืดหยุ่น โปร่งใส คล่องตัว บรรจุในแผนปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงาน 2. หน่วยงานต้องดำเนินการทุกขั้นตอนตามลำดับโดยไม่ข้ามขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง และจะต้อง ส่งหนังสือแจ้งสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลตามที่กำหนด 3. หน่วยงานทบทวนคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐและคณะทำงาน บริกรข้อมูลระดับหน่วยงาน จัดทำเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลของหน่วยงานตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ของกรุงเทพมหานคร และส่งให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลภายในเดือนมีนาคม 2566 รายละเอียด ดังนี้ หน่วยงานระดับสำนักงานเขต 3.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐและคณะทำงานบริกร ข้อมูลระดับหน่วยงาน 3.2 บัญชีรายการข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการสำรวจข้อมูลที่อยู่ในความรับผิดชอบ ของหน่วยงานและข้อมูลที่อยู่ในระบบบริหารจัดการพื้นที่เขตในกรุงเทพมหานคร 3.3 ทุกสำนักงานเขตประชุมหารือร่วมกันเพื่อจัดทำแผนพัฒนาข้อมูลที่มีคุณค่าสูง ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2566 – 2569) โดยในปี พ.ศ. 2566 ต้องมีแผนพัฒนาข้อมูลในระบบบริหารจัดการพื้นที่เขต ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 28 ชุดข้อมูล (ส่งภายในเดือนสิงหาคม 2566) 4. หน่วยงานจัดทำและเผยแพร่ข้อมูล รายละเอียด ดังนี้ จัดทำและปรับปรุงข้อมูลตามแผนพัฒนาข้อมูลที่มีคุณ ค่าสูง และเผยแพร่ บนศูนย์ข้อมูลเปิดภาครัฐของกรุงเทพมหานคร พร้อมกับคำอธิบายข้อมูลดิจิทัลและพจนานุกรมข้อมูล ซึ่งแต่ละ ข้อมูลต้องได้รับการปรับปรุงตามความถี่ที่กำหนดไว้ในคำอธิบายข้อมูลดิจิทัลนั้นๆ 5. หน่วยงานจัดทำ Dashboard ด้วยชุดข้อมูลที่จัดทำตามแผนพัฒนาข้อมูลที่มีคุณค่าสูง และ เผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงาน 6. หน่วยงานต้องมีกระบวนการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการตามตัวชี้วัด 5.2 ร้อยละ ความสำเร็จในการยกระดับการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลภาครัฐ เพื่อบริหารราชการที่ยืดหยุ่น โปร่งใส คล่องตัว โดยทบทวนคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐและคณะทำงานบริกรข้อมูลระดับหน่วยงาน เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้หน่วยงาน ผู้บริหาร รับทราบความก้าวหน้า ปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงาน สามารถนำข้อมูลมาปรับปรุง แก้ไข หรือพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานอย่างทันท่วงที ลมาปรับปรุง แก้ไข หรือพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานอย่างทันท่วงที 7. หน่วยงานต้องรายงานความคืบหน้าของโครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด 5.2 ร้อยละ ความสำเร็จในการยกระดับการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลภาครัฐ เพื่อบริหารราชการที่ยืดหยุ่น โปร่งใส คล่องตัว เข้า สู่ระบบการบริหารจัดการแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (BMA Digital Plans) เป็นประจำทุกเดือน ดังนี้ 1) โครงการ/กิจกรรม หน่วยงานมีโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตัวชี้วัดนี้ โดยเฉพาะให้ระบุ “ชื่อโครงการ” หากไม่มีการดำเนินงานดังกล่าว ให้ระบุว่า “กิจกรรมการพัฒนาข้อมูลที่มีคุณค่าสูงของ.... (ระบุชื่อหน่วยงาน)” 8. หน่วยงานต้องรายงานความคืบหน้าของตัวชี้วัด 5.2 ร้อยละความสำเร็จในการยกระดับ การเปลี่ยนผ่านดิจิทัลภาครัฐ เพื่อบริหารราชการที่ยืดหยุ่น โปร่งใส คล่องตัว ที่ปรากฏในแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีของหน่วยงานเข้าสู่ระบบการบริหารจัดการแผนพัฒนากรุงเทพมหานครเป็นรายไตรมาส 9. การรายงานผลการดำเนินของโครงการ/กิจกรรม และตัวชี้วัดหน่วยงานจะต้องระบุ รายละเอียดผลการดำเนินงานให้ชัดเจน โดยต้องบอกให้ทราบถึงว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ และอย่างไร 10. กรณีระบบการบริหารจัดการแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (BMA Digital Plan) ขัดข้อง ไม่สามารถเข้ารายงานความก้าวหน้าและผลการดำเนินการตามตัวชี้วัด โครงการ/ กิจกรรมได้ ขอให้หน่วยงาน ผู้รับการประเมินดำเนินการ ดังนี้ 10.1 ประสานเจ้าหน้าที่สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลทราบทันทีเพื่อให้ผู้รับการประเมิน และผู้ประเมินรับทราบข้อมูลและมีหลักฐานที่ตรงกัน 10.2 คัดลอกหน้าจอช่วงที่ระบบขัดข้องเพื่อเป็นหลักฐาน และทำหนังสือรายงานผู้บริหาร หน่วยงานทราบ และสำเนาแจ้งสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล พร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง 10.3 รายงานผลการดำเนินงานของตัวชี้วัด โครงการ กิจกรรมของรอบที่มีการขัดข้องทันที ที่ระบบสามารถใช้งานได้

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****%
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง