ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5
ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 5
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
อยู่ระหว่างเสนอแนวความคิดนวัตกรรมเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตบางขุนเทียน
แนวคิดและโครงการผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการนวัตกรรมกรุงเทพมหานครแล้ว มีการปรับปรุงแก้ไขโครงการตามข้อเสนอของคณะกรรมการฯ และเสนอผู้บริหารลงนามอนุมัติโครงการ "พัฒนานวัตกรรมอนุรักษ์ต้นกล้าโกงกางป่าชายเลนบางขุนเทียน" เพื่อแก้ไขปัญหาต้นกล้าที่ได้รับความเสียหายจากคลื่นลมทะเลด้วยการยกระดับให้ต้นกล้าสูงขึ้นเหนือน้ำ โดยส่งสำเนาโครงการให้สำนักงาน ก.ก. แล้ว
อยู่ระหว่างการนำนวัตกรรมอนุรักษ์ต้นกล้าโกงกางป่าชายเลนบางขุนเทียน ไปใช้ และติดตามผล
สรุปรายงานผลการนำนวัตกรรมอนุรักษ์ต้นกล้าโกงกางป่าชายเลนบางขุนเทียนไปใช้ ระยะเวลา 120 วัน
นวัตกรรม หมายถึง แนวคิดวิธีและรูปแบบใหม่ ๆ ในการจัดการองค์กร การดำเนินงาน และการให้บริการอันเป็นผลมาจากการสร้าง พัฒนา เพิ่มพูน ต่อยอด หรือประยุกต์ใช้องค์ความรู้ และแนวปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพประสิทธิผลหรือคุณภาพของการปฏิบัติงานของหน่วยงาน หน่วยงานนำเสนอนวัตกรรมรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งดังนี้ - นวัตกรรมเชิงนโยบาย (Policy Innnovation) - นวัตกรรมการบริการ (Service Innovation) - นวัตกรรมการบริหาร/องค์กร (Administrative or Organizational Innovation) การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน หมายถึง การปรับปรุง แก้ไข หรือเพิ่มความสามารถ หรือทักษะในการปฏิบัติงานของหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น
พิจารณาจากรายละเอียดประเมินเชิงประจักษ์ โดยกำหนดค่าคะแนนและวิธีวัดผลเป็น 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 กระบวนการค้นหาและคัดเลือกแนวคิด 20 คะแนน ส่วนที่ 2 การกลั่นกรองวัฒนธรรม 30 คะแนน ส่วนที่ 3 ผลการดำเนินงาน 50 คะแนน วิธีการคำนวณ : คะแนนรวม = ส่วนที่ 1 + ส่วนที่ 2 + ส่วนที่ 3 นำผลคะแนนรวมที่ได้มาเทียบหาระดับคะแนนที่ได้รับของตัวชี้วัดการนำเสนอ ตามช่วงการปรับเกณฑ์คะแนนที่กำหนด
การประเมินการเสนอนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงานพิจารณาจากระดับความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมของแต่ละหน่วยงานตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ค้นหา และรวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาหรือความต้องการที่จะพัฒนางานเสนอแนวคิดภายใต้รูปแบบที่กำหนดตาม ขั้นตอนที่ 2 การคัดเลือกความคิดเห็นจากขั้นตอนที่ 1 โดยคณะผู้บริหาร/คณะทํางานของแต่ละหน่วยงานกำหนด พิจารณาเลือกเพียง 1 ความคิดเห็น โดยระบุรายละเอียดของแนวคิดที่ได้รับการคัดเลือก ในแบบสรุปผลการคัดเลือกความคิดเห็นในการเสนอนวัตกรรม ขั้นตอนที่ 3 การนำเสนอโครงการ ตามนำแนวคิดที่ได้รับการคัดเลือกตามขั้นตอนที่ 2 มาจัดทำโครงการนวัตกรรมฯ 1 โครงการ พร้อมจัดทำแบบฟอร์มนำเสนอโครงการพัฒนานวัตกรรม เพื่อเสนอคณะกรรมการนวัตกรรมกรุงเทพมหานครพิจารณา ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนานวัตกรรมฯ ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการฯ โดยหน่วยงานดำเนินโครงการพัฒนานวัตกรรมฯ ตามแนวทาง/กิจกรรมที่กำหนดไว้ในโครงการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดที่กำหนดและส่งเอกสารหลักฐานให้สำนักงาน ก.ก. พิจารณาภายในระยะเวลาที่กำหนด ขั้นตอนที่ 5 การจัดทำแบบสำรวจผลการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์โดยให้หน่วยงาน และนำเสนอต่อผู้บริหารหน่วยงาน/ส่วนราชการฯ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
:๗.๕ - เทคโนโลยีสารสนเทศ |
:๗.๕.๑ กรุงเทพมหานครให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส โดยประยุกต์% |
:๗.๕.๑.๑ มีระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์สำหรับให้บริการประชาชน และ/หรือ มีการเชื่อม |