ค่าเป้าหมาย ร้อยละ 100 : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ 100 : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 2:
สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ ดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย ตามขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 1. มีการทบทวน วิเคราะห์ความเสี่ยงประเมินอันตรายจากการทำงานของหน่วยงาน (ทั้งหมด 16 หน่วยงาน) โดยจะมีการคัดเลือกงานที่มีความเสี่ยงสูง นำมาจัดการความเสี่ยงในการทำงาน ดังนี้ 1.1 งานควบคุมโรค(ฉีดพ่นหมอกควัน) ของฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล คะแนนการจัดลำดับความเสี่ยง 136 (ต่อยอด ปี2562) 1.2 งานด้านการจราจร ของฝ่ายเทศกิจ คะแนนการจัดลำดับความเสี่ยง 102 1.3. งานบำรุงรักษาและปรับปรุงระบบระบายน้ำ ของฝ่ายโยธา คะแนนการจัดลำดับความเสี่ยง 96 1.4. งานพิมพ์เอกสาร ของฝ่ายการคลัง คะแนนการจัดลำดับความเสี่ยง 86 1.5. งานพิมพ์เอกสาร ของฝ่ายรายได้ คะแนนการจัดลำดับความเสี่ยง 86 1.6. งานพิมพ์เอกสาร ของฝ่ายทะเบียน คะแนนการจัดลำดับความเสี่ยง 86 1.7. งานเก็บขนมูลฝอย ของฝ่ายรักษาความสะอาดฯ คะแนนการจัดลำดับความเสี่ยง 70 1.8. งานการสอน(การใช้ปากกาไวท์บอร์ด) ของโรงเรียนวัดสน คะแนนการจัดลำดับความเสี่ยง 52 1.9. งานการสอน(ยืนสอนเป็นเวลานาน) ของโรงเรียนวัดสารอด คะแนนการจัดลำดับความเสี่ยง 52 1.10. งานการสอน(การใช้ปากกาไวท์บอร์ด) ของโรงเรียนวัดแจงร้อน คะแนนการจัดลำดับความเสี่ยง 52 1.11. งานพิมพ์เอกสาร ของฝ่ายการศึกษา คะแนนการจัดลำดับความเสี่ยง 50 1.12. งานการสอน ของโรงเรียนวัดประเสริฐสุทธาวาส คะแนนการจัดลำดับความเสี่ยง 44 1.13. งานการสอน(การใช้ปากกาไวท์บอร์ด) ของโรงเรียนรัตนจีนะอุทิศ คะแนนการจัดลำดับความเสี่ยง 42 1.14. งานพิมพ์เอกสาร ของฝ่ายปกครอง คะแนนการจัดลำดับความเสี่ยง 42 1.15. งานการสอน(การใช้ปากกาไวท์บอร์ด) ของโรงเรียนวัดบางปะกอก คะแนนการจัดลำดับความเสี่ยง 40 1.16. งานขับรถราชการ ของฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ คะแนนการจัดลำดับความเสี่ยง 18 2. นำงานที่มีความเสี่ยงสูง มาจัดการความเสี่ยง 2 งาน ได้แก่ งานด้านการจราจรของฝ่ายเทศกิจ, งานบำรุงรักษาและปรับปรุงระบบระบายน้ำของฝ่ายโยธา และเลือกงานที่มีความเสี่ยงเดิมมาต่อยอด จำนวน 1 งาน ได้แก่ งานฉีดพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย ของฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล ขั้นตอนที่ 2 จัดทำโครงการพัฒนาและจัดการปัญหาความเสี่ยงในการทำงานของหน่วยงาน และจัดส่งสำเนา โครงการฯ และหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัย ภายในเดือนธันวาคม 2562
สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ ดำเนินกิจกรรมตามโครงการพัฒนาและจัดการปัญหาความเสี่ยงในการทำงานของบุคลากรสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ โดยกิจกรรม ดังนี้ 1.งานควบคุมโรค(ฉีดพ่นหมอกควัน) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล ดำเนินกิจกรรมดังนี้ - กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย - กิจกรรมตรวจการแต่งกายก่อนปฏิบัติงานฉีดพ่นหมอกควัน ประจำเดือนมกราคม – มีนาคม 2563 - กิจกรรมประกวดบุคลากรฉีดพ่นหมอกควันดีเด่น 2.งานบำรุงรักษาและปรับปรุงระบบระบายน้ำ ฝ่ายโยธา ดำเนินกิจกรรมดังนี้ - กิจกรรมให้ความรู้งานด้านการระบายน้ำและการป้องกันอันตรายจากการทำงาน - กิจกรรมจัดบอร์ดประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับงานด้านการระบายน้ำ - กิจกรรมตรวจการแต่งกายก่อนปฏิบัติงานด้านการระบายน้ำ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2563 3.งานด้านการจราจร ฝ่ายเทศกิจ ดำเนินกิจกรรมดังนี้ - กิจกรรมให้ความรู้งานด้านการจราจรและการป้องกันอันตรายจากการทำงาน - กิจกรรมจัดบอร์ดประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับงานด้านการจราจร - กิจกรรมตรวจการแต่งกายก่อนปฏิบัติงานด้านการจราจร ประจำเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2563
สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ ดำเนินกิจกรรมตามโครงการพัฒนาและจัดการปัญหาความเสี่ยงในการทำงานของบุคลากรสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ โดยกิจกรรม ดังนี้ 1.รายงานผลการปฏิบัติงานตามข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานตามโครงการ และผลการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน (การใช้รถยนต์) โดยจัดส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัย ภายในเดือนเมษายน 2563 2.มีการประเมินความสำเร็จของการดำเนินโครงการฯ 3.ดำเนินการประเมินผลสำเร็จของการดำเนินโครงการ/กิจกรรม, จัดทำข้อปฎิบัติ แนวทาง คู่มือ หรือมาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของบุคลากร เวียนแจ้งให้บุคลากรในสังกัดทราบและให้บุคลากรที่เกี่วข้องถือปฏิบัติ และติดตามผล
1. ดำเนินการตามแนงทางการประเมินผลตัวชีวัด ขั้นตอนที่ 1-4 ครบถ้วน 2. สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์วิธีการละความสำเร็จของการดำเนินโครงการ/กิจกรรม โดยวิธีการประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อออนไลน์ (Facebook) และ Line (การดำเนินการเพื่อเป็นต้นแบบที่ดีฯ และกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การถ่ายทอดประสบการณ์ กำรถอดบทเรียน การจัดการความรู้ (KM)ระหว่างหน่วยงาน งดเว้นเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVIT-19) สำนักอนามัยมีการปรับแนวทางการประเมินตัวชี้วัด 4.2 ในขั้นตอนที่ 5 โดยกำหนดให้อย่างน้อยหน่วยงานดำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลสำเร็จของการดำเนินงาน ผ่านช่องทางออนไลน์ที่เหมาะสม เพื่อตอบสนองนโยบาย Social Distancing) 3. ดำเนินการจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานภาพรวมให้หัวหน้าหน่วยงานทราบ 4.มีการรายงานผลการดำเนินงาน ข้อ 3 ข้อ 4.1 ข้อ 4.2 ข้อ 5.1(1) ข้อ 5.2 และ ข้อ 5.3 ให้สำนักอนามัยภายใน วันที่ 17 สิงหาคม 2563 (รายงานวันที่ 14 สิงหาคม 2563)
การดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่ 4.2 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานมึจุดมุ่งหมายเพื่อให้บุคลากรในสังกัดกรุงเทพมหานคร มีสุขภาพอนามัยที่ดีปลอดโรคปลอดภัยในการทำงาน โดยการจัดสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้สะอาด ปลอดโรค ปลอดภัย ส่งเสริมการมีสุขภาพอนามัยในการทำงานที่ดี โดยนำหลักการด้านอาชีวอนามัยมาประยุกต์ใช้ได้แก่ การสืบค้น การประเมินอันตรายหรือประเมินความเสี่ยง และการควบคุมเพื่อนำไปสู่การจัดการ ควบคุมและป้องกันอันตรายจากการทำงานอย่างถูกกต้องมีประสิทธิภาพ โดยได้กำหนดสิ่งคุกคามสุขภาพในการทำงาน จำนวน 8 ด้าน ประกอบด้วย 1. สิ่งคุกคามด้านกายภาพ 2. ด้านเคมี 3. ด้านชีวภาพ 4. ด้านการยศาสตร์ 5. ด้านจิตวิทยาสังคม 6. ด้านความปลอดภีย 7. ด้านอัคคีภัย 8. ด้านอื่น ๆ ที่ไม่เข้าข่ายตามที่กล่าวมา ในปีนี้ กำหนดแผนการดำเนินงานในลักษณะต่อเนื่อง โดยเป็นการต่อยอดพัฒนางาน (เดิม) และขยายผลการดำเนินงานจัดการงานที่มีความเสี่ยงสูง (เพิ่มเติม) โดยมุ่งหวังให้มีการคุ้มครองสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของบุคลากรในสังกัดกรุงเทพมหานครอย่างครอบคลุมครบถ้วนและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นแบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ส่วน ที่สำคัญ ได้แก่ ส่วนแรก ต่อยอดพัฒนางาน (เดิม) ที่ดำเนินการในปีที่ผ่านมา และขยายผลการดำเนินงานจัดการงานที่มีความเสี่ยงสูง (เพิ่มแติม) ส่วนที่สอง นำข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานกลางสำหรับการปฏิบัติงานที่มีความเสียงสูง เวียนทราบและถือปฏิบัติในหน่วยงานโดยทั่วไป ทั้งนี้ในส่วนของการประเมินความสำเร็จของตัวชี้วัดที่ 4.2 ในปีนี้ ยังคงวัดความสำเร็จเป็นแบบผสมผสาน คือประเมินความสำเร็จจากความก้าวหน้าขั้นตอนการดำเนินงาน และประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินงาน
1. ขั้นตอนที่ 1 ทบทวน วิเคราะห์ความเสี่ยง ประเมินอันตรายจากการทำงาน คัดเลือกงานที่มีความเสี่ยงสูง นำมาจัดการความเสี่ยงในการทำงาน อย่างน้อย 2 งาน คัดเลือกงานที่ได้จัดการความเสี่ยงในปีที่ผ่านมา นำมาต่อยอดพัฒนางาน อย่างน้อย 1 งาน และนำข้อปฏิบัติแนวทาง หรือมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน เวียนทราบและถือปฏิบัติโดยทั่วกัน พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานให้สำนักอนามัย ภายในเดือนธันวาคม 2562 2. ขั้นตอนที่ 2 จัดทำโครงการพัฒนาหรือจัดการปัญหาความเสี่ยงในการทำงานของหน่วยงาน โดยจัดส่งสำเนาโครงการฯ และหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้่สำนักอนามัย ภายในเดือนธันวาคม 2562 ดำเนินโครงการตามแผนงานและกำกับติดตามผลการดำเนินโครงการฯ พร้อมรายงานผลการปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ครั้งที่ 2 ให้สำนักอนามัยภายในเดือนเมษายน 2563 3. ประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินโครงการฯ 4. จัดทำและนำข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของหน่วยงานไปใช้งานภายในหน่วยงาน พร้อมติดตามและประเมินผลการใช้งานข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานฯ ที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ.2563 5. ดำเนินการเพื่อการเป็นต้นแบบที่ดีของหน่วยงานอื่นใช้เป้นแบบอย่างในการดำเนินงานหรือใช้ประโยชน์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมให้หัวหน้าหน่วยงานทราบ พร้อมรายงานผลการปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานกลาง การปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ครั้งที่ 3 ให้สำนักอนามัยและจัดส่งผลการดำเนินการและหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดให้สำนักอนามัย ภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2563
เกณฑ์การให้คะแนน มี 5 ระดับ (รายละเอียดตามเกณฑ์คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 แนวทางการประเมินผล 1. ดำเนินการครบถ้วนตามขั้นตอนและเป้นไปตามเงื่อนไขที่สำนักอนามัยกำหนด ได้คะแนนเต็ม 2. ไม่เป็นไปตามขั้นตอน/ ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่สำนักอนามัยกำหนด 2.1 เกินกำหนดเวลา หักวันละ 0.2 คะแนนต่อวันทำการ 2.2 ไม่ถูกต้อง/ไม่ครบถ้วน/ ไม่เรียบร้อย สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย ประสานแจ้งผู้รับผิดชอบ 4.2 ของหน่วยงานให้มารับเรื่องปรับแก้ ภายใน 3 วันทำการนับจากที่ได้รับการประสาน กรณีไม่มารับเอกสารภายในเวลาที่กำหนดหักคะแนน 0.2 คะแนนต่อวันทำการ ผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดที่ 4.2 ของหน่วยงาน มารับเอกสารพร้อมลงลายมือชื่อรับเอกสารที่จะปรับแก้ ณ สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย ชั้น 8 อาคารสำนักงานเขตราชเทวี กำหนดระยะเวลาในการแก้ไข 5 วันทำการนับถัดจากวันที่รับเรื่อง เมื่อปรับแก้แล้เสร็จให้นำส่งคืนที่สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัยเกินเวลาที่กำหนดหักคะแนน 1 คะแนน กำหนดให้แก้ไข 1 ครั้งเท้านีั้น
:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
:๑.๖.๑ คนกรุงเทพฯ มีสุขภาวะทางกายและจิต มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ไม่มีภาวะเจ็บป่วยจาก โร% |
:๑.๖.๑.๖ หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครมีมาตรฐานอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน |