ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
เจ้าหน้าที่เทศกิจออกสำรวจพื้นที่ที่มีผู้ค้าออกมาทำการค้าจัดทำโครงการและจัดทำบัญชีผู้ค้า จัดทำบัญชีข้อมูลจุดทำการค้าหาบเร่แผงลอย
จัดทำคำสั่งมอบหมายงาน จัดทำแผนปฏิบัติงาน แผนการตรวจและเจ้าหน้าที่เทศกิจออกตรวจจุดทำการค้าอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวันและรายงานผลต่อผู้บังคับบัญชาตามระดับชั้น
จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจออกตรวจจุดทำการค้าอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวันและรายงานผลต่อผู้บังคับบัญชาตามระดับชั้น
ฝ่ายเทศกิจจัดระเบียบจุดทำการค้านอกจุดผ่อนผันทั้ง 3 จุดเรียบร้อยและจัดทำศูนย์อาหารหาบเร่ – แผงลอย (Hawker Center) ซอยราษฎร์บูรณะ 22 เสร็จเรียบร้อย พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เทศกิจออกตรวจอย่างน้อย 2 ครั้ง/วัน/จุด
นิยาม 1. บัญชีข้อมูล หมายถึง 1. บัญชีข้อมูลจุดทำการค้าหาบเร่-แผงลอยที่อนุญาตให้ทำการค้าตามประกาศกรุงเทพมหานคร 2. บัญชีผู้ค้าหาบเร่-แผงลอยที่ได้รับอนุญาตให้ทำการค้า ณ จุดทำการค้า หาบเร่ - แผงลอยตามประกาศกรุงเทพมหานคร 3. บัญชีข้อมูลจุดทำการค้าหาบเร่-แผงลอย นอกจุดอนุญาตให้ทำการค้า ตามประกาศกรุงเทพมหานคร ตามข้อ 1 4. บัญชีผู้ค้าหาบเร่-แผงลอย นอกจุดอนุญาตให้ทำการค้าตามประกาศกรุงเทพมหานคร ตามข้อ 3 2. พื้นที่ทำการค้าหาบเร่ - แผงลอย หมายถึง 1. พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการค้าตามประกาศกรุงเทพมหานคร และ/หรือ 2. พื้นที่ที่ไม่รับอนุญาตตามประกาศกรุงเทพมหานคร แต่กำหนดให้เป็นพื้นที่ผ่อนผันทำการค้าชั่วคราว 3. ระดับความสำเร็จ หมายถึง ความสำเร็จในการดำเนินการตามภารกิจของหน่วยงานครบตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ การดำเนินการของแต่ละหน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักเทศกิจ (หน่วยงานหลัก) 1. รวบรวม พิจารณาพื้นที่ และจัดทำบัญชีข้อมูล 2. จัดทำประกาศกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการกำหนดพื้นที่ทำการค้าและการขายหรือจำหน่ายในพื้นที่สาธารณะ 3. ทบทวนหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการกำหนดพื้นที่ทำการค้าและการขายหรือจำหน่ายในพื้นที่สาธารณะ และแจ้งสำนักงานเขตดำเนินการ 4. ปฏิบัติงาน/ดำเนินการตามแผนฯ เช่น การประชุม การเวียนแจ้งหนังสือ การทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานผ่านคู่มือการปฏิบัติงาน/การจัดประชุมชี้แจง การสร้างการรับรู้แก่ประชาชนผ่านการประชาสัมพันธ์ การประกาศของราชการ การจัดกิจกรรมรณรงค์ เป็นต้น เพื่อให้การดำเนินการบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด 5. ตรวจตรา ตรวจการ บังคับการ ควบคุม กำกับ กวดขัน และดูแลจุดทำการค้าหาบเร่-แผงลอยที่อนุญาตให้ทำการค้า รวมทั้งให้การสนับสนุนการปฏิบัติงาน ในเชิงพื้นที่ของสำนักงานเขต 6. ติดตามและประเมินผลการตรวจพื้นที่ของสำนักเทศกิจและผลการดำเนินงานของสำนักงานเขต และจัดทำรายงานการดำเนินโครงการซึ่งรายงานนี้จะต้องแสดงสภาพเท็จจริงที่ตรวจพบ และให้ข้อเสนอแนะหรือแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขที่เป็นประโยชน์และนำไปปฏิบัติได้ รวมทั้งสอดคล้องกับสถานการณ์หรือสภาพปัญหา - รายงานการประเมินผลโครงการเชิงปริมาณเป็นรายเดือน นำเสนอผู้บริหารสำนักเทศกิจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนา - รายงานการประเมินผลโครงการเชิงคุณภาพเป็นรายไตรมาส นำเสนอผู้บริหารกรุงเทพมหานคร และแจ้งสำนักงานเขตเพื่อนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนา 7. ประเมินผลการดำเนินงานโครงการและจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการซึ่งแสดงสภาพเท็จจริงที่ดำเนินงานทั้งหมดตลอดปีงบประมาณ และมีข้อเสนอแนะเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานครั้งถัดไป สำนักงานเขต (หน่วยงานร่วม) 1. สำรวจและจัดทำบัญชีข้อมูลพื้นที่ทำการค้าหาบเร่ - แผงลอย 2. จัดทำแผนปฏิบัติงานของสำนักงานเขตตามแผนงาน/แนวทางการปฏิบัติงาน หลักเกณฑ์ วิธีการ/มาตรการดำเนินการ ฯลฯ ของสำนักเทศกิจ 3. ปฏิบัติงาน/ดำเนินการตามแผนฯ และตามที่ได้รับแจ้งจากสำนักเทศกิจ 4. เจ้าหน้าที่เทศกิจปฏิบัติหน้าที่ตรวจตรา กวดขัน และบังคับการตามอำนาจหน้าที่ 5. จัดทำรายงานการดำเนินโครงการและการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานเขต เชิงปริมาณเป็นรายเดือน และเชิงคุณภาพ จำนวน 2 ครั้ง/ปีงบประมาณ ส่งสำนักเทศกิจตามกำหนดเวลา
ผลการดำเนินงานที่ทำได้เทียบกับระดับความสำเร็จ
เก็บข้อมูลจากแผน/รายงานการดำเนินงานแต่ละขั้นตอน 1. บัญชีข้อมูล 2. ประกาศกรุงเทพมหานคร 3. แผนงาน (Roadmap)/แนวทางการปฏิบัติของสำนักเทศกิจ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินงาน การกำหนดรูปแบบและวิธีการรายงานผล การดำเนินงานของหน่วยงานและการตรวจสอบผลการดำเนินงาน 4. รายงานการปฏิบัติงาน/ดำเนินการตามแผนฯ 5. รายงานการตรวจตรา ควบคุม กวดขัน กำกับการปฏิบัติงาน 6. รายงานการประเมินผลเชิงปริมาณรายเดือน และเชิงคุณภาพรายไตรมาส 7. เอกสารอื่น ๆ เช่น แหล่งข้อมูลแสดงการเผยแพร่การดำเนินโครงการ รูปถ่าย VDO ฯลฯ
:ยุทธศาสตร์ที่ ๔ –การเชื่อมโยงเมืองที่มีความคล่องตัวและระบบบริการสาธารณะแบบบูรณาการ |
:๔.๓ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีรูปแบบการจัดการภูมิทัศน์เมืองอย่างยั่งยืน |
:๔.๓.๑ กรุงเทพมหานครมีการปรับปรุงองค์ประกอบทางภูมิทัศน์เมืองและส่งเสริมอัตลักษณ์และทัศนียภาพในการรับร% |
:๔.๓.๑.๒ ปรับปรุงบริเวณสำคัญตามที่ผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะที่สอดคล้องกับผังเมืองรวม หรือพิจารณาเพิ่มเติมในอนาคต ให้มีองค์ประกอบทาง ภูมิทัศน์เมืองเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์และทัศนียภาพในการรับรู้ของเมือง |