รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ระดับความสำเร็จของคลองในพื้นที่ : 5028-2003

ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5

ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 5

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ระดับ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
3.00
100
100 / 100
2
5.00
75
75 / 100
3
5.00
95
95 / 100
4
5.00
100
95 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

1.เข้าร่วมประชุมหารือเพื่อตกลงแนวทางกับสำนักการระบายน้ำ 2.จัดทำแบบสรุปการสำรวจพื้นที่คลอง 3.จัดทำแผนปฏิบัติการการปรับปรุงภูมิท้ศน์คลองในพื้นที่ฯ 4.จัดทำโครงการปรับปรุงคลองแสนแสบในพื้นที่เขตบึงกุ่ม จัดส่งเอกสารให้สำนักการระบายน้ำ ภายในเดือนธันวาคม 2563

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ดำเนินการตามโครงการ ดังนี้ 1. ดำเนินการทำความสะอาดและจัดระเบียบบริเวณริมคลองแสนแสบ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง 2.ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชน สถานประกอบการ ริมคลองแสนแสบ 3. จัดทำจุดเชคอิน บริเวณวัดพิชัย 1 จุด 4. สำรวจ ตรวจสอบ ไฟฟ้า สิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำ และดำเนินการแจ้งประสานหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการแก้ไข

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ดำเนินการตามโครงการ ครบถ้วน ทุกกิจกรรม และร่วมตรวจสภาพคลองคลองแสนแสบ ร่วมกับสำนักการโยธา สำนักเทศกิจ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล และสำนักงานเขต เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

1. จัดทำแผนปฏิบัติการการปรับปรุง ภูมิทัศน์คลองในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ ของสำนักงานเขตบึงกุ่ม และจัดทำรายละเอียดโครงการในพื้นที่คลองแสนแสบ เสนอสำนักการระบายน้ำ ภายในเดือนธันวาคม 2563 2. รณรงค์ให้ประชาชนดูแลรักษาแหล่งน้ำไม่ให้ทิ้งขยะและของเสียลงคลองผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ต่างๆ เช่น การเดินรณรงค์ ติดป้ายประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้แก่ประชาชน เรื่องการคัดแยกขยะ การจัดทำถังหรือบ่อดักไขมันสำหรับบ้านเรือน 3. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชนในพื้นที่ ภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุงภูมิทัศน์คลอง 4. สำรวจและประสานสำนักงานเขตสะพานสูงเพื่อประสานการไฟฟ้านครหลวง สาขามีนบุรี เพื่อติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างให้พร้อมใช้งาน 5. สำรวจ ตรวจสอบและซ่อมแซมสะพานข้ามคลองในความรับผิดชอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือสภาพที่ดีขึ้น 6. พัฒนาพื้นที่ริมคลองให้เป็นสถานที่พักผ่อน จุดชมวิวทิวทัศน์ สร้างจุดเช็คอิน Check in ริมคลองแสนแสบ บริเวณ วัดพิชัย จำนวน 1 จุด

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

การปรับปรุงภูมิทัศน์คลอง หมายถึง การปรับปรุงภูมิทัศน์ตลอดแนวคลองให้มีความสวยงาม สะอาด และปลอดภัยสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ วิถีชีวิต วัฒนธรรมของชุมชน ทั้งภูมิทัศน์ที่เป็นแหล่งธรรมชาติ และสถานที่ที่ถูกสร้างขึ้น อัตลักษณ์ หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่โดดเด่น ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่รู้จักหรือจำได้ คลอง หมายถึง คลองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นคลองเป้าหมายที่กำหนด การดำเนินการของแต่ละหน่วยงานประกอบด้วย ๑. สำนักการระบายน้ำ 1.๑ ดำเนินการจัดประชุมร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผนการปรับปรุงภูมิทัศน์คลอง ในพื้นที่กรุงเทพมหานครของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2563 ๑.2 ตรวจวัดคุณภาพน้ำในคลองสายหลัก ตามแผนที่กำหนด คลองละ 2 จุด ทั้งก่อนและหลังดำเนินการกิจกรรมด้านการรักษาความสะอาด เพื่อหาค่าออกซิเจนละลายน้ำ (Dissolved Oxygen : DO) ค่าปริมาณความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ (Biochemical Oxygen Demand : BOD) และค่าแอมโมเนียไนโตรเจน (Ammonia Nitrogen : NH3N) ๑.๓ เก็บขยะในคลองและทางเดินริมคลอง และขัดล้างทำความสะอาดเขื่อนผนังกั้นน้ำ บริเวณคลองสายหลักของกรุงเทพมหานคร ๑.๔ ขุดลอกคู คลอง และเปิดทางน้ำไหล หรือดูดตะกอนดินเลน ๑.5 ตรวจสอบและซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้าง ที่อยู่ในความรับผิดชอบตลอดแนวคลองให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือสภาพที่ดีขึ้น เช่น ราวกันตกริมคลอง สถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ ฯลฯ ๒. สำนักสิ่งแวดล้อม จัดทำแผนและพัฒนาพื้นที่สีเขียวตามแนวคลอง โดยมีรายละเอียดของโครงการ/กิจกรรม เพื่อดำเนินการ สร้างความร่มรื่นหรือตกแต่งไม้ดอกไม้ประดับ ให้มีความสวยงามและเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ 3. สำนักการโยธา จัดทำแผนและพัฒนาพื้นที่ สำรวจ ตรวจสอบและซ่อมแซมสะพานข้ามคลองโดยจัดทำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรมในพื้นที่เป้าหมายเพื่อซ่อมแซม สิ่งปลูกสร้างตลอดแนวคลองที่อยู่ในความรับผิดชอบ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือสภาพที่ดีขึ้น 4. สำนักการจราจรและขนส่ง จัดทำแผนและพัฒนาพื้นที่ ตรวจสอบและซ่อมแซมท่าเทียบเรือและติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV โดยจัดทำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรมในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV ติดตั้งป้ายบอกทาง ตรวจสอบและซ่อมแซมท่าเทียบเรือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือสภาพที่ดีขึ้น 5. สำนักเทศกิจ จัดทำแผนการตรวจและพัฒนาพื้นที่ ตลอดแนวคลอง เพื่อเสนอแนะโครงการ/กิจกรรม ในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อใช้เป็นมาตรการดูแล ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ป้องกันการเกิดพื้นที่เสี่ยงอาชญากรรม 6. สำนักงานเขต 6.1 จัดทำแผนและพัฒนาพื้นที่ตลอดแนวคลองตามความรับผิดชอบของเขตโดยจัดทำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรมในพื้นที่เป้าหมาย 6.2 บริหารจัดการขยะริมคลอง รณรงค์ให้ประชาชนดูแลรักษาแหล่งน้ำไม่ให้ทิ้งขยะและของเสียลงคลองผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น การเดินรณรงค์ ติดป้ายประชาสัมพันธ์ การกระจายเสียง ฯลฯ และให้ความรู้แก่ประชาชน เรื่องการคัดแยกขยะ การจัดทำถังหรือบ่อดักไขมันสำหรับบ้านเรือน 6.3 ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชน ในพื้นที่ ภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุงภูมิทัศน์คลอง เช่น ท่าน้ำของตนเอง สะพานทางเดินข้ามคลองที่เชื่อมระหว่างบ้านกับชุมชน ฯลฯ 6.4 สำรวจและประสานการไฟฟ้านครหลวงเพื่อติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างให้พร้อมใช้งาน 6.5 สำรวจ ตรวจสอบและซ่อมแซมสะพาน ข้ามคลองในความรับผิดชอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือสภาพที่ดีขึ้น 6.6พัฒนาพื้นที่ริมคลองให้เป็นสถานที่พักผ่อน จุดชมวิวทิวทัศน์ สร้างจุดเช็คอิน Check inติดตั้ง ป้ายอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาเยือน และป้ายประดับต่าง ๆ ให้มีความสวยงามและเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ อย่างน้อยเขตละ 1 จุดต่อคลอง

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

นับจากผลรวมของความสำเร็จการดำเนินงาน ตามภารกิจเฉพาะหน่วยงาน และความสำเร็จของการดำเนินงานในภาพรวม

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. เอกสารประกอบการดำเนินการ 2. ระบบการบริหารจัดการแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (BMA digitalplans)

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****%
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง