รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

องค์ฯ 2 ร้อยละมูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดและนำไปใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2560 : 5029-843

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 30

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
5.00
100
100 / 100
2
10.00
0
0 / 0
3
67.00
0
0 / 0
4
100.00
100
0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ไตรมาสที่ 1 (5%) 1.เป้าหมายขยะมูลฝอยอินทรีย์ ปี 64 ของสำนักงานเขตสาทร 13,870.55 ตัน/ปี ดำเนินการจัดเก็บขยะมูลฝอยอินทรีย์ ประจำเดือน ต.ค. - พ.ย. 63 จำนวน 2,539.77 ตัน ประจำเดือน ธ.ค. 63 อยธู่ระหว่างดำเนินการจัดเก็บและรวบรวม 2.เป้าหมายขยะมูลฝอยอินทรีย์ ปี 64 ของสำนักงานเขตสาทร 4,623.52 ตัน/ปี ดำเนินการจัดเก็บขยะมูลฝอยอินทรีย์ ประจำเดือน ต.ค. - พ.ย. 63 จำนวน 842.81 ตัน ประจำเดือน ธ.ค. 63 อยธู่ระหว่างดำเนินการจัดเก็บและรวบรวม

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ไตรมาสที่ 2 (10%) 1.เป้าหมายขยะมูลฝอยรีไซเคิล ปี 64 ของสำนักงานเขตสาทร 13,870.55 ตัน/ปี ดำเนินการจัดเก็บขยะมูลฝอยรีไซเคิล ประจำเดือน ต.ค. - เม.ย. 64 จำนวน 7,938.8 ตัน 2.เป้าหมายขยะมูลฝอยอินทรีย์ ปี 64 ของสำนักงานเขตสาทร 4,623.52 ตัน/ปี ดำเนินการจัดเก็บขยะมูลฝอยอินทรีย์ ประจำเดือน ต.ค. 63 - เม.ย. 64 รวมทั้งสิ้น 2,435.75 ตัน รวมทั้งสิ้น 10,374.55 ตัน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

รายงานไตรมาส ครั้งที่ 3 1. ดำเนินการคัดแยกมูลฝอยได้ตามเป้าหมายที่กำหนด และรายงานผลการตามแบบรายงาน SWM ภายในวันที่ 10 เดือนถัดไป (ร้อยละ 10) ผลการดำเนินการรายงานผลก่อนวันที่ 10 ของเดือนถัดไป (ร้อยละ 6) 2.ดำเนินการจัดการมูลฝอยและของเสียภายในสำนักงานเขต (ร้อยละ 10) ผลการดำเนินการ มีการจัดตั้งถังขยะคัดแยกประเภทตามแต่ละชั้นของฝ่ายนั้นๆ (ร้อยละ 5) 3.ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการคัดแยกขยะมูลฝอยรีไซเคิล มูลฝอยอินทรีย์ (เป้าหมายร้อยละ 20 รวม 18,49406 ตัน/ปี) -เป้าหมายขยะรีไซเคิล 13,870.55 ตัน/ปี เฉลี่ย 38 ตัน/วัน -เป้าหมายขยะอินทรีย์ 4,623.52 ตัน/ปี เฉลี่ย 12.67 ตัน/วัน ผลการดำเนินการ ขยะรีไซเคิล ตั้งแต่เดือน ต.ค. 63 – พ.ค. 64 รวม 9,1744.29 ตัน ขยะอินทรีย์ ตั้งแต่เดือน ต.ค. 63 – พ.ค. 64 รวม 3,279.94 ตัน รวมตั้งแต่เดือน เดือน ต.ค. 63 – พ.ค. 64 รวม 12,456.78 ตัน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ = 67.36 คิดเป็นร้อยละ 13.47 4.ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการคัดแยกมูลฝอยอันตราย เป้าหมาย 12.92 ตัน/ปี ผลการดำเนินการ ตั้งแต่ ต.ค. 63 – มิ.ย. 64 รวม 10.69 ตัน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 82.74 คิดเป็นร้อยละ 14.89 5. ดำเนินการกระตุ้นติดตามชุมชน CBM ตามกลุ่มเปาหมายปี 2563 (เป้าหมาย 7 แห่ง เพิ่ม 1 แห่ง รวม 8 แห่ง ร้อยละ 15) ผลการดำเนินการดำเนินการติดตามกลุ่มเป้าหมาย อยู่ระหว่างดำเนินการติดตามกลุ่มเป้าหมาย 6.ดำเนินการส่งเสริมชุมชนประกวดโครงการ ZERO Waste อย่างน้อย 1 แห่ง (ร้อยละ 25) ผลการดำเนินการดำเนินการ อยู่ระหว่างจัดหาชุมชน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

รายงานไตรมาส ครั้งที่ 4 - มูลฝอยรีไซเคิล จำนวน 14,058.89 ตัน - มูลฝอยอินทรีย์ จำนวน 5,044.92 ตัน 1. ดำเนินการคัดแยกมูลฝอยได้ตามเป้าหมายที่กำหนด และรายงานผลการตามแบบรายงาน SWM ภายในวันที่ 10 เดือนถัดไป 2.ดำเนินการจัดการมูลฝอยและของเสียอันตรายภายในสำนักงานเขต ดังนี้ 2.1 วางแผนการดำเนินการจัดการมูลฝอยภายในสำนักงานเขต โดยหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าฝ่าย ติดตามการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 2.2 จัดให้มีภาชนะใส่ขยะแยกประเภท 2 ประเภท ได้แก่ ขยะทั่วไป และขยะรีไซเคิล 1 จุด ต่อ 1 ฝ่าย พร้อมบันทึกน้ำหนักเพื่อส่งรายงาน 2.3 ตั้งจุดรับขยะอันตราย และประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนทราบจุดทิ้งขยะอันตราย และมอบหมายเจ้าหน้าที่รวบรวมส่งตามวันเวลาที่กำหนด "ขยะอันตรายชิ้นเล็ก" เช่น ถ่านๆฟฉาย กระดาษคาร์บอน ปากกา ฯ ส่วนราชการละ 1 จุด "ขยะอันตรายชิ้นใหญ่" เช่น กระป้องสเปรย์ หลอดไฟ หมึกพิมพ์ ฯ นำทิ้งที่จุดรวมขยะอันตรายของสำนักงานเขต 2.4 ตั้งภาชนะใส่กระดาษใช้แล้ว 1 หน้า ไว้ใช้หน้าถัดไป และตั้งภาชนะใส่กระดาษใช้แล้ว 2 หน้า แยกไว้เป็นขยะรีไซเคิล จัดจุด "ถุงผ้าให้ยืม" 2.5 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ "คิดก่อนทิ้ง ทิ้งขยะให้ถูกถัง" ปฏิเสธการใช้กล่องโฟม ถุงพลาสติก ขวดพลาสติก "ใช้กล่องข้าว กระบอกน้ำ แก้วน้ำส่วนตัว" แก่บุคลากรและผู้มาติดต่อ 3. ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมกรคัดแยกมูลฝอยริไซเคิล มูลฝอยอินทรีย์ 3.1 วางแผนเส้นทางหรือแนวทางการจัดเก็บมูลฝอยแยกประเภท และแผนการรณรงค์ส่งเสริมความรู้การคัดแยกมูลฝอยรีไซเคิล มูลฝอยอินทรีย์ 3.2 ประชาสัมพันธ์นัดทิ้งนัดเก็บ ขยะทั่วไป ขยะชิ้นใหญ่ ขยะรึไซเคิล ตั้งจุดรับขยะแยกประเภท ในชุมชน สถานศึกษา ศาสนสถาน ตลาด สถานประกอบการ ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ 3.3 จัดกิจกรรมจัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ ขยะรีไซเคิล ตลาดนัดรีไซเคิล ผ้าป่ารีไซเคิล ตลาดนัดมือสอง ฯลฯ 3.4 ส่งเสริมการคัดแยกมูลฝอยอินทรีย์นำไปใช้ประโยชน์ สิ่งประดิษฐ์จากของเหลือใช้ รณรงค์ปลอดโฟม ลดการใช้ถุงพลาสติก ฯลฯ 4. ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการคัดแยกมูลฝอยอันตราย 4.1 การวางแผนการดำเนินงาน 4.2 การสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ 4.3 การเก็บรวบรวมและขนส่งมูลฝอยอันตราย 4.4 การติดตามและประเมินผล 5. ดำเนินการกระตุ้นติดตามชุมชน CBM ตามรายชื่อกลุ่มเป้าหมายปี 2563 และส่งเสริมให้มีการจัดการขยะโดยชุมชนเพิ่มอย่างน้อย 1 แห่ง 6. ดำเนินการส่งเสริมชุมชนเข้าประกวดโครงการชุมชน/องค์กรปลอดขยะ (ชุมชน ZERO Waste) อย่างน้อย 1 แห่ง หมายเหตุ - หากได้รับรางวัลรอบที่ 1 (รอบ 100 ชุมชน) บวกเพิ่มชุมชนละ 3 คะแนน จากคะแนนที่ได้รับ - หากได้รับรางวัลรอบที่ 2 บวกเพิ่มชุมชนละ 4 คะแนน จากคะแนนที่ได้รับ - หากได้รับรางวัลรอบระดับประเทศ บวกเพิ่มชุมชนละ 5 คะแนน จากคะแนนที่ได้รับ

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1. มูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิด หมายถึง มูลฝอยที่ สามารถนำกลับไปใช้ประโยชน์ได้ซึ่งคัดแยกจากบ้านเรือน ชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลาด สถานประกอบการ ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ 2. นำไปใช้ประโยชน์ หมายถึง การนำมูลฝอยกลับไปใช้ ประโยชน์ตามคุณสมบัติของมูลฝอย เช่น ขาย ทำปุ๋ยหมัก เลี้ยงสัตว์ แปรรูป ถมที่ ฯลฯ

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ร้อยละของปริมาณมูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดเพิ่มขึ้น เท่ากับปริมาณมูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดปี2564ลบ ปริมาณมูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดปี 2560 หาร ปริมาณมูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดปี 2560 คูณ 100 (ปริมาณมูลฝอยตั้งแต่ ต.ค.63 - ก.ย. 64)

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. รายงานผลตามแบบประเมินที่สำนักสิ่งแวดล้อมกำหนด 2. แบบรายงานการเก็บรวบรวมปริมาณมูลฝอยที่คัดแยกและ นำกลับไปใช้ประโยชน์ประจำปี 2564 3. ภาพถ่ายการดำเนินกิจกรรม

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๑ - ปลอดมลพิษ
:๑.๑.๑ แหล่งน้ำสาธารณะทั้งแม่น้ำสายหลักและคูคลองต่างๆ มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คุณภ%
:๑.๑.๒.๑ ลดและควบคุมปริมาณมูลฝอยที่แหล่งกำเนิดและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่แหล่งกำเนิดจนถึงการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง