ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
1. เข้าร่วมประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดภารกิจร่วมกัน ตกลงค่าเป้าหมายของผลผลิต และขับเคลื่อนตัวชี้วัดสู่ผลสัมฤทธิ์ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10.00 น.ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom 2. จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ส่งสำนักการจราจรและขนส่ง ตามหนังสือที่ กท 6909/1116 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 3. นำจุดเสี่ยง หน้าโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ถึงสี่แยกถนนตก มาวิเคราะห์สาเหตุ และหาทางดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยง
ดำเนินการตามแผน คือ 1. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้รถใช้ถนนปฏิบัติตามกฎหมายวินัยจราจร 2. ฝ่ายรักษาตัดแต่งกิ่งไม้ทืี่บดบังไฟฟ้า เพื่อให้แสงสว่างเพียงอ 3. ฝ่ายโยธาสวำรวจและแก้ไขฝาท่อระบายน้ำชำรุด
ปัจจุบันสำนักงานเขตบางคอแหลม มีผลการดำเนินงาน ดังนี้ ฝ่ายเทศกิจดำเนินการประสานแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติตามที่สำนักการจราจรและขนส่งกำหนด ในส่วนที่รับผิดชอบ โดยดำเนินการ - ซ่อมแซมและทาสีทางเท้า - ซ่อมบำรุงทางเท้าและฝาท่อระบายน้ำ - ซ่อมแซมบำรุงไฟฟ้าส่องสว่าง - บำรุงรักษาป้ายและเส้นสัญลักษณ์จราจร - ตัดแต่งกิ่งไม้ที่บดบังกล้องวงจรปิดและไฟฟ้าส่องสว่าง - จัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์กวดขันวินัยจราจรบริเวณสีแยกถนนตก - อำนวยความสะดวกการจราจรบริเวณทางม้าลายหน้าโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
- ผู้เสียชีวิต หมายถึง ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ทั้งการเสียชีวิตที่จุดเกิดเหตุ ระหว่างนำส่งจนถึงโรงพยาบาล และที่โรงพยาบาล - อัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่อประชากรแสนคน หมายถึง จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนหารด้วยจำนวนประชากรกลางปีตามทะเบียนราษฎร์กรุงเทพมหานครรายปีปัจจุบัน+ด้วยประชากรแฝง และคูณด้วย 100,000 คน - Heat Map คือ แผนที่แสดงความหนาแน่นของจุดหรือบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุบนแผนที่ Longdo Map ซึ่งดูได้จาก https://mapdemo.longdo.com/bkk-accidents-clusters/ โดยข้อมูลใน Heat Map เก็บรวบรวมจาก มูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยไทย (iTic) และบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด (ThaiRSC) - Risk Map คือ แผนที่แสดงจุดหรือบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุ และมีผู้บาดเจ็บ (หมุดสีส้ม) ผู้เสียชีวิต(หมุดสีแดง) ดูได้จาก http://www.ThaiRSC.com ข้อมูลใน Risk Map เก็บรวบรวมจากบริษัทประกันภัย,สำนักงานตำรวจแห่งชาติ,โรงพยาบาล และมูลนิธิช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่าง ๆ - จุดเสี่ยงอุบัติเหตุ หมายถึง จุดเกิดอุบัติเหตุที่มีความถี่ การเกิดไม่น้อยกว่า 3 ครั้งในรอบ 1 ปี โดยมีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยพิจารณาคัดเลือกจุดเสี่ยงจากฐานข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุ กำหนดให้เป็นจุดดำเนินการในปีงบประมาณที่ประเมิน ดังนี้ 1.จุดเสี่ยงอุบัติเหตุจาก Heat Map ใน 100 ลำดับแรกของคลัสเตอร์ตามความหนาแน่นของจุดเกิดอุบัติเหตุ โดยใช้ข้อมูลของ ThaiRSC และ iTIC ประกอบกัน (จำนวน100 จุด) 2.จุดเสี่ยงอุบัติเหตุ ในสำนักงานเขตที่ไม่อยู่ใน 100 คลัสเตอร์ จำนวน 15 เขต โดยกำหนดจุดเสี่ยงจากข้อมูลจุดเสี่ยงของสำนักงานเขตที่เคยส่งในตัวชี้วัดเจรจาตกลงฯ ประจำปีงบประมาณ 2565 ที่ยังไม่ได้ดำเนินการ สำนักงานเขตละ 1 จุด (จำนวน 15 จุด) - จุดดำเนินการ หมายถึง จุดเสี่ยงอุบัติเหตุที่กำหนดก่อนดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุง ในปีงบประมาณที่ประเมิน - แผนปฏิบัติการ (Action Plan) หมายถึง แผน ซึ่งหน่วยงาน จัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานหรือกิจกรรมที่ส่งผลต่อความสำเร็จของตัวชี้วัด โดยบรรจุรายละเอียดถึงกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ พร้อมระยะเวลาดำเนินการแต่ละขั้นตอน ทั้งนี้ให้หมายรวมถึง แผนที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนกวดขันวินัยจราจรและ/หรืออำนวยการจราจรและผู้สัญจร เป็นต้น - บันทึกส่งมอบผลผลิต หมายถึง เอกสารที่กำหนดให้หน่วยงานร่วมจะต้องดำเนินการส่งผลผลิตสนับสนุนตัวชี้วัด ตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ - ผลผลิต หมายถึง หน่วยผลผลิตที่เกิดขึ้นจากกระบวนการและกิจกรรมตามภารกิจของหน่วยงานซึ่งได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ เพื่อสนับสนุนตัวชี้วัดนี้ - หน่วยงาน หมายรวมถึง ดังนี้ • หน่วยงานหลัก หมายถึง หน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานครที่เป็นเจ้าของตัวชี้วัด และมีอำนาจในการบริหารจัดการในภาพรวม ได้แก่ สำนักการจราจรและขนส่ง • หน่วยงานรอง หมายถึง หน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานครที่มีภารกิจและตัวชี้วัดเฉพาะ ที่สนับสนุนการขับเคลื่อนตัวชี้วัดนี้ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ ในที่นี้ หมายถึง สำนักการโยธา สำนักเทศกิจ สำนักงานเขต สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร • หน่วยงานสนับสนุน หมายถึง หน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่ไม่ได้นำตัวชี้วัดนี้ไปประเมินผลการปฏิบัติราชการ แต่มีภารกิจสนับสนุนการดำเนินงานตัวชี้วัด • หน่วยงานอื่น หมายถึง หน่วยงานที่ไม่ได้สังกัดกรุงเทพมหานคร แต่มีภารกิจที่ต้องสนับสนุนการขับเคลื่อนตัวชี้วัดนี้ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ เช่น ตำรวจ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท บริษัทกลาง มูลนิธิต่าง ๆ เป็นต้น - คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน หมายถึงคณะอนุกรรมการ/คณะทำงานที่ถูกจัดตั้งขึ้นขับเคลื่อนให้เป็นไปตามตัวชี้วัดนี้ กฎเกณฑ์โดยทั่วไป 1) หน่วยงานหลัก มีหน้าที่ในการบริหารจัดการภาพรวมของกระบวนการดำเนินการตามตัวชี้วัดและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบริหารจัดการสู่ความสำเร็จในตัวชี้วัดนี้ 2) หน่วยงานรอง และหน่วยงานอื่น จะต้องทำหน้าที่ในการสนับสนุน ตามขอบเขตอำนาจหน้าที่และภารกิจของตนเองเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามผลผลิตที่กำหนดร่วมกันกับหน่วยงานหลัก 3) หน่วยงานรองระดับสำนัก ที่ต้องทำงานร่วมกับสำนักงานเขต จะต้องจัดส่งเอกสารการมอบหมายงานให้สำนักการจราจรและขนส่ง เพื่อสำนักการจราจรและขนส่ง จะได้รวบรวมให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลทราบ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 4) สำนักงานเขต จะต้องจัดทำบันทึกได้รับมอบหมายจากหน่วยงานระดับสำนัก ภารกิจของหน่วยงาน 1. สำนักการจราจรและขนส่ง มีภารกิจที่ต้องดำเนินการ ดังนี้ 1.1 กำหนดเป้าหมายผลผลิต และจัดทำบัญชีจุดเสี่ยงฯ 1.2 จัดการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดภารกิจร่วมกัน ตกลงค่าเป้าหมายของผลผลิต และขับเคลื่อนตัวชี้วัดสู่ผลสัมฤทธิ์ ภายใน 15 กุมภาพันธ์ 2565 1.3 จัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินการ 1.4 รวบรวมแผนปฏิบัติการ (Action Plan) และจัดทำแผน ปฏิบัติการในภาพรวม ทั้งนี้ หากแผนปฏิบัติการ มีระยะเวลาในการดำเนินการตามแผนฯ มากกว่า 1 ปีงบประมาณ ไม่ต้องจัดทำแผนปฏิบัติการ ฉบับใหม่ แต่ให้แก้ไขปรับปรุงแผนปฏิบัติการที่มีแต่เดิมโดยอนุโลม 1.5 รายงานความคืบหน้าการบริหารจัดการตัวชี้วัดนี้ ครึ่งปีงบประมาณ ให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลเพื่อทราบ 1.6 รวบรวม และประมวลผลสถิติจำนวนผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน จากบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด หรือแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 1.7 ตรวจสอบความถูกต้อง ประเมินผล และสรุปผลการดำเนินงานและผลผลิตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสถิติจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่กรุงเทพมหานครตามข้อ 1.1.7 พร้อมทั้งจัดส่งสรุปผลให้กับสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ภายในวันที่ 15 กันยายน ของปีงบประมาณที่ประเมิน 1.8 สำนักการจราจรและขนส่ง ประมวลผลในภาพรวม และสรุปผลการดำเนินงานของตัวชี้วัดเพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารกรุงเทพมหานคร 1.9 นำจุดเสี่ยงฯ ที่กำหนด มาวิเคราะห์ สาเหตุ และออกแบบ แนวทางแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยง 1.10 ดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงฯ ในส่วนที่รับผิดชอบ เช่น - ติดตั้ง/รื้อย้าย/ถอดถอน/บำรุงรักษาเครื่องหมายจราจร อุปกรณ์วิศวกรรมจราจร ระบบสัญญาณไฟจราจร และอุปกรณ์ความปลอดภัยต่อผู้สัญจร - ดำเนินการมาตรการสยบการจราจร (Traffic Calming Measures) ในส่วนที่รับผิดชอบ เช่น การทาสีพื้นผิวจราจร การใช้ Rumble Strip การติดตั้งคันชะลอความเร็ว การติดตั้งสัญลักษณ์ต่าง ๆ อันนำไปสู่การชะลอความเร็วยานพาหนะ ฯลฯ - แก้ไข/ปรับปรุงทัศนวิสัยการขับขี่ยานพาหนะ เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ เช่น การติดตั้ง/รื้อย้าย/ถอดถอน ป้ายสัญลักษณ์จราจร อุปกรณ์ Street furniture ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ - กรณีจุดเสี่ยงฯ จุดใดได้ดำเนินการ ตามข้อ 1.9 เรียบร้อยแล้ว แต่ไม่มีงบประมาณดำเนินการ ให้ระบุรายละเอียดลงในแผนปฏิบัติการ พร้อมทั้งจัดทำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรมเพื่อของบประมาณในปีต่อไป 2. สำนักการโยธา มีภารกิจที่ต้องดำเนินการ ดังนี้ 2.1 เข้าร่วมประชุมตามข้อ 1.2 2.2 ให้ส่งแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ภายในระยะเวลาที่สำนักการจราจรและขนส่งกำหนด 2.3 ดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงฯ ในส่วนที่รับผิดชอบ เช่น - บูรณะ/ปรับปรุง/ซ่อมแซม และบำรุงรักษาทาง พื้นผิวจราจร ไหล่ทาง เกาะกลาง ทางเท้า และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้สัญจร - ดำเนินการมาตรการสยบการจราจร (Traffic Calming Measures) ในส่วนที่รับผิดชอบ เช่น การยกระดับพื้นผิวจราจร การปรับปรุงทางเพื่อชะลอความเร็วยานพาหนะฯลฯ - แก้ไข/ปรับปรุงทัศนวิสัยขับขี่ยานพาหนะเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การติดตั้ง/ซ่อมแซม/ซ่อมบำรุงไฟฟ้าส่องสว่าง ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างอัจฉริยะ (Smart Light) การควบคุมการติดตั้งป้ายต่าง ๆ ในส่วนที่รับผิดชอบ ฯลฯ - กรณีจุดเสี่ยงฯ จุดใดได้ดำเนินการ ตามข้อ 1.9 เรียบร้อยแล้ว แต่ไม่มีงบประมาณดำเนินการ ให้ระบุรายละเอียดลงในแผนปฏิบัติการ พร้อมทั้งจัดทำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรมเพื่อของบประมาณในปีต่อไป - อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ระบุในแผนฯ ตามข้อ 2.3 2.4 รายงานผลการดำเนินงานการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงฯ ภายในระยะเวลาตามที่สำนักการจราจรและขนส่งกำหนด ทั้งนี้หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้เป็นไปตามสำนักการจราจรและขนส่งกำหนด 3. สำนักเทศกิจ มีภารกิจที่ต้องดำเนินการ ดังนี้ 3.1 เข้าร่วมประชุมตามข้อ 1.2 3.2 นำจุดเสี่ยงฯ ที่รับผิดชอบ มาทบทวน และวิเคราะห์ เพื่อจัดทำแผนงาน/แนวทางการปฏิบัติงานกวดขันวินัยจราจรและ/หรืออำนวยความสะดวกด้านการจราจรและผู้สัญจร ของฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจัดส่งให้สำนักการจราจรและขนส่งตามระยะเวลาที่กำหนด 3.3 กำกับ ตรวจตราการปฏิบัติงานกวดขันวินัยจราจร และ/หรืออำนวยความสะดวกด้านการจราจร บริเวณจุดเสี่ยงฯ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามแผนงาน/กิจกรรมฯ 3.4 กำกับ และติดตามการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานเทศกิจที่เป็นการกวดขันวินัยจราจรและ/หรืออำนวยความสะดวกด้านการจราจรและผู้สัญจร 3.5 จัดทำสรุปผลการดำเนินงานกวดขันวินัยจราจรและ/หรืออำนวยความสะดวกด้านการจราจรและผู้สัญจรในบริเวณจุดเสี่ยงฯ ตามที่ได้รับมอบหมาย และจัดส่งให้สำนักการจราจรและขนส่ง ภายในระยะเวลาที่กำหนด 4. สำนักงานเขต มีภารกิจที่ต้องดำเนินการ ดังนี้ 4.1 เข้าร่วมประชุมข้อ 1.2 4.2 จัดประชุม ศปถ.เขต ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือในการลดอุบัติเหตุในพื้นที่ ทั้งทางกายภาพและพฤติกรรม 4.3 จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ในการลดอุบัติเหตุตามบัญชีจุดเสี่ยงและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่สำนักการจราจรและขนส่งได้กำหนด และจัดส่งให้ สจส. และหน่วยงานรอง (ถ้ามี) ภายในระยะเวลาที่กำหนดก่อนการดำเนินการแก้ไขปัญหา 4.4 ดำเนินการตามแผนในข้อ 4.3 ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ พร้อมเก็บหลักฐาน ภาพถ่าย ก่อน - หลัง และผลการดำเนินงาน 4.5 จัดทำรายงานความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานตามข้อ 4.4 ตามกรอบแนวทาง แบบฟอร์ม และระยะเวลา โดยจัดส่งให้สำนักการจราจรและขนส่งภายในระยะเวลาที่กำหนด 4.6 ดำเนินการตามภารกิจอื่น ๆ ตามที่หน่วยงานรองระดับสำนักในตัวชี้วัดนี้ร้องขอ 5. สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร 5.1 เข้าร่วมประชุมตามข้อ 1.2 5.2 จัดทำแผนปฏิบัติการในการประชาสัมพันธ์ในการลดอุบัติเหตุโดยแสดงถึงเป้าหมายผลผลิต และวิธีการดำเนินการประชาสัมพันธ์ พร้อมจัดส่งให้สำนักการจราจรและขนส่งภายในระยะเวลาที่กำหนด 5.3 ดำเนินการประสานหรือร่วมมือกับสำนักการจราจรและขนส่ง ในการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในการลดอุบัติเหตุทางถนน 5.4 ดำเนินการเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ฯ เพื่อสร้างการรับรู้แก่ประชาชน 5.5 รายงานผลการดำเนินงานการประชาสัมพันธ์ พร้อมจัดส่งให้สำนักการจราจรและขนส่งภายในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้เป็นไปตามที่สำนักการจราจรและขนส่งกำหนด
1) สำนักการจราจรและขนส่ง สำนักการโยธา สำนักเทศกิจ สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร - วัดผลการดำเนินการเทียบกับเกณฑ์วัดผลความสำเร็จของแต่ละหน่วยงาน 2) สำนักงานเขต - วัดผลจากร้อยละความสำเร็จในการดำเนินการตามภารกิจตามที่หน่วยงานหลัก/หน่วยงานรองระดับสำนักมอบหมาย โดยคำนวณจาก จำนวนกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานหลักฯและรอง ดำเนินการสำเร็จหารด้วยจำนวนกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงาน ทั้งหมดคูณด้วย 100 จากนั้นนำไปเทียบกับเกณฑ์วัดผลความสำเร็จ 3) การปรับลดคะแนนในส่วนของการบริหารจัดการระหว่างหน่วยงานหลักและหน่วยงานรอง มีรายละเอียดดังนี้ - ไม่เข้าร่วมกิจกรรมตามที่หน่วยงานหลักกำหนด เช่น ไม่เข้าร่วมประชุม ไม่เข้าร่วมสำรวจพื้นที่ - ไม่ดำเนินการจัดทำ/ปรับปรุงแผนปฏิบัติการ/แผนงาน/บันทึกส่งมอบผลผลิต - ไม่ดำเนินการส่งรายงานผลการดำเนินงาน - จัดส่งแผนปฏิบัติการ/แผนงาน/บันทึกส่งมอบผลผลิต/รายงานไม่ตรงตามเวลาที่สำนักการจราจรและขนส่งกำหนดไว้ ทั้งนี้ ให้สำนักการจราจรและขนส่งเป็นผู้ปรับลดคะแนนหน่วยงานรอง ข้อละไม่เกินร้อยละ ๕ ของคะแนนที่ได้รับ (หลังจากประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว)
สำนักการจราจรและขนส่ง 1) รายงานการประชุมตามข้อ 1.2 2) บัญชีจุดเสี่ยงที่ระบุแนวทางการลดอุบัติเหตุของพื้นที่ 3) แผนปฏิบัติการ (Action Plan) ในแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ 4) แบบฟอร์มที่มอบหมายให้สำนักงานเขตดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงฯ 5) รายงานและหลักฐานที่แสดงถึงการปฏิบัติตามแผนการปฏิบัติ (Action Plan) และเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้อง 6) รายงานสรุปผลการดำเนินงานและผลผลิตของหน่วยงานรอง หน่วยงานสนับสนุน และหน่วยงานอื่น 7) สถิติอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่จุดเสี่ยงก่อน/หลังการดำเนินการปรับปรุง/แก้ไข สำนักการโยธา 1) แผนปฏิบัติการ (Action Plan) ในส่วนที่รับผิดชอบ 2) หลักฐานที่แสดงถึงการปฏิบัติตามแผนการปฏิบัติ (Action Plan) และเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้อง 3) รายงานผลการปฏิบัติงานในภาพรวมที่แสดงถึงผลผลิตของหน่วยงานร่วม หน่วยงานสนับสนุน และหน่วยงานอื่น สำนักเทศกิจ 1) แผนงาน/กิจกรรมการกวดขันวินัยจราจรและ/หรืออำนวยความสะดวกด้านการจราจรและผู้สัญจร 2) เอกสารมอบหมายให้สำนักงานเขตดำเนินการกวดขันวินัยจราจรและ/หรืออำนวยความสะดวกด้านการจราจรและผู้สัญจร 3) หลักฐานที่แสดงถึงการปฏิบัติตามแผนงาน/กิจกรรมการกวดขันวินัยจราจรและ/หรืออำนวยความสะดวกด้านการจราจรและผู้สัญจร และเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้อง 4) รายงานผลการดำเนินงานกวดขันวินัยจราจรและ/หรืออำนวยความสะดวกด้านการจราจรและผู้สัญจรในบริเวณจุดเสี่ยงฯ ตามที่ได้รับมอบหมาย สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร 1) แผนปฏิบัติการในการประชาสัมพันธ์ในการลดอุบัติเหตุโดยแสดงถึงเป้าหมายผลผลิต และวิธีการดำเนินการประชาสัมพันธ์ 2) รายงานผลการดำเนินงานการประชาสัมพันธ์ในการลดอุบัติเหตุ สำนักงานเขต 1) รายงานการประชุม ศปถ.เขต 2) เอกสารที่แสดงถึงภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานระดับสำนัก 3) หลักฐานที่แสดงถึงการปฏิบัติตามการมอบหมายจากหน่วยงานระดับสำนัก เช่น เอกสาร ภาพถ่าย เป็นต้น 4) หลักฐานการประสานงานกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) 5) รายงานผลการดำเนินงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานระดับสำนัก หมายเหตุ ให้หน่วยงานหลักและหน่วยงานรองร่วมรายงานความก้าวหน้าและผลงานผ่านระบบบริหารจัดการแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (Digital Plan)