ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
-
1. เข้าร่วมประชุมชี้แจงรายละเอียดการดำเนินการตัวชี้วัดฯ กรอบระยะเวลา และขั้นตอนการดำเนินกรในส่วนที่เขตรับผิดชอบ 2. เข้าสำรวจคลองเป้าหมาย ร่วมกับฝ่ายโยธา ฝ่ายปกครอง ฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ และฝ่ายรักษาความสะอาด 3. ส่งโครงการการปรับภูมิทัศน์ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้กับพื้นที่คลองสวนหลวง 2 เขตบางคอแหลม และ Action plan ให้กับสำนักการระบายน้ำ 4. ส่งรายการความต้องการที่จะรับการสนับสนุนจากสำนักการจราจรและขนส่ง ในการจัดทำป้ายบอกชื่อคลอง/ป้ายแนะนำเส้นทางตามตัวชี้วัดฯ สำนักงานเขตบางคอแหลม
1. ติดตั้งป้ายบอกทาง ตามที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักการจราจรและขนส่ง 2. ประชุมติดตามความคืบหน้าของคณะทำงานตัวชี้วัดความสำเร็จของคลองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้รับการปรับภูมิทัศน์ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้กับพื้นที่ สนข.บางคอแหลม 3. ประชาสัมพันธ์เรื่องขยะ 4. จัดตั้งเพจเพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ 5. ปรับปรุงพื้นที่คลองให้สะอาด และน่าอยู่ 6. เก็บขยะชิ้นใหญ่
ปัจจุบันสำนักงานเขตบางคอแหลมมีผลการดำเนินการ ดังนี้ 1. เข้าร่วมประชุมและร่วมกิจกรรมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด (การประชุมการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองตามตัวชี้วัดเจรจาตกลงการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ครั้งที่ 2/2566 วันจันทนร์ที่ 27 มีนาคม 2566 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 8 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง) 2. จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองในส่วนภารกิจของสำนักงานเขตสาทรส่งให้สำนักการ ระบายน้ำ และนำแผนฯ ส่งให้สำนักการระบายน้ำ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2566 ตามหนังสือที่ กท 6901/2081 3. คัดเลือกคลองสวนหลวง 2 เป็นคลองเป้าหมาย เพื่อดำเนินการพัฒนาให้เกิดความเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่น และพัฒนาเป็นสถานที่พักผ่อนริมคลอง จุดชมวิวทิวทัศน์ จุดเช็คอิน (Check in) 4. ตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์และสถานที่ในความรับผิดชอบบริเวณสถานที่พักผ่อนริมคลอง จุดชมวิวทิวทัศน์/จุดเช็คอิน (Check in) ลงพื้นที่ตรวจสอบจริง จำนวน 5 ครั้ง (อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2566 ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2566 ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2566 ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2566 5. บำรุงรักษาอุปกรณ์และสถานที่บริเวณในความรับผิดชอบ 6. วิธีการสร้างอัตลักษณ์ของพื้นที่ - สร้างภาพวาด Wall Art บริเวณผนังอาคารบ้านเรือน ทางเดินเข้าคลองสวนหลวง 2 (เจริญกรุง 103) แสดงถึงวิถีชีวิต สถานที่ วัฒนธรรม และอาหารของชุมชนไทยมุสลิมในพื้นที่ริมคลอง โดยได้รับความสนับสนุนฝีมือจากคณะนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (วิทยาลัยเพาะช่าง) - Street Art บริเวณรั้วบ้านริมคลอง แสดงวิถีชีวิตริมคลอง เพื่อพัฒนาให้บริเวณทางเดินริมคลองสวนหลวง 2 สวยงามและมีชีวิตชีวามากขึ้น - สร้างสวมหย่อมและเพิ่มโต๊ะนั่งบริเวณริมคอง เพื่อเพิ่มพื้นที่กิจกรรมให้กับคนในชุมชนและนักท่องเที่ยว - สร้างจุดเช็คอินหรือจุดถ่ายรูปบริเวณริมคลองตลอดเส้นทางคลองสวนหลวง 2 - ติดป้าย “คลองสวนหลวง ในอดีต” เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นวิถีชีวิตริมคลองในอดีตของประชาชนชุมชนริมคลองสวนหลวง 2 (เดิมชื่อว่าคลองสวนหลวง 1) - จัดกิจกรรมตลาดนัดชุมชนบริเวณริมคลองสวนหลวง 2 ทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ ของ ต้นเดือน 7. บริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบในพื้นที่ตามแนวคลองเพื่อไม่ให้ประชาชนทิ้งขยะลงคลอง - การกำหนดจุดทิ้งขยะ วิธีการโดยการตั้งจุดทิ้งขยะบริเวณริมคลองสวนหลวง 2 - การนัดทิ้ง-นัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ วิธีการโดยประชาสัมพันธ์และแจกประกาศสำนักงานเขตบางคอแหลม เรื่อง กำหนดเวลานัดทิ้ง นัดเก็บมูลฝอยชิ้นใหญ่และมูลฝอยอันตราย - การเก็บขนขยะ วิธีการโดย เจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ ชักลากขยะชิ้นใหญ่ในชุมชนออกมาบริเวณปากซอยเจริญกรุง 103 ตามวันและเวลาที่นัดไว้ และมีการเก็บขยะในชุมชนโดยการชักลาก - การตั้งจุด “ทิ้งจับปรับ” (ถ้ามี) จำนวน 1 จุด วิธีการโดย ฝ่ายเทศกิจลงพื้นที่ตรวจและรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่ทิ้งขยะ ลงในแม่น้ำลำคลอง และตั้งจุดจับปรับการทิ้งขยะลงแหล่งน้ำอย่างจริงจัง บริเวณคลองสวนหลวง 2 เขตบางคอแหลม ซึ่งจากการตรวจสอบไม่พบการกระทำความผิด 8. รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและสถานประกอบการในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามแนวคลอง โดยครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้ 1) การคัดแยกขยะมูลฝอยตามแนวทาง “ไม่เทรวม” 2) การนำขยะเศษอาหารทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ 3) การนำสิ่งของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (Reuse and Recycle) 4) การจัดการน้ำเสียชุมชน 5) การกำจัดไขมันก่อนทิ้งลงท่อระบายน้ำ 6) การสร้างความเข้าใจในการเตรียมการจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสียและค่าธรรมเนียมการเก็บขนมูลฝอย โดย สำนักงานเขตบางคอแหลม ลงพื้นที่รณรงค์ประชาสัมพันธ์ (Output) จำนวน......8.....ครั้ง ให้กับประชาชนในชุมชนริมคลอง สวนหลวง 2 ได้แก่ 1. ชุมชนบางคอแหลม 2. ชุมชนสวนหลวง 1 3. ชุมชนบางอุทิศ 4. ชุมชนวัดพระยาไกร ระยะ 3 5. ชุมชนหลังสามร้อยห้อง และ 6. ชุมชนร่วมใจพัฒนา โดยแบ่งเป็นเรื่องการคัดแยกขยะตามโครงการ “ไม่เทรวม” การนำขยะเศษอาหารทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์และการนำสิ่งของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (Reuse and Recycle) จำนวน 6 ครั้ง การจัดการน้ำเสีย จำนวน 1 ครั้ง การกำจัดไขมันก่อนทิ้งลงท่อระบายน้ำ จำนวน 1 ครั้ง และการสร้างความเข้าใจในการเตรียมการจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสียและค่าธรรมเนียมการเก็บขนมูลฝอยจำนวน 1 ครั้ง 9. สร้างภาคีเครือข่าย และส่งเสริมกิจกรรมให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาคลอง ผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) จำนวน 4 เครือข่าย 1.) เพจ Facebook “คลองสวนหลวง 2 บางคอแหลม” มีสมาชิกเครือข่าย จำนวน 113 ราย 2.) เพจ Facebook “ฝ่ายปกครอง เขตบางคอแหลม” มีสมาชิกเครือข่าย จำนวน 1,700 ราย 3. เพจ Facebook “สำนักงานเขตบางคอแหลม” มีสมาชิกเครือข่าย จำนวน 1,500 ราย 4.) กลุ่ม Line “ประสานงานชุมชน by ฝ่ายพัฒฯ” มีสมาชิกเครือข่าย จำนวน 54 ราย
การปรับภูมิทัศน์คลอง หมายถึง การฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ตลอดแนวคลองเป้าหมายโดยมีเป้าหมายให้คลองและพื้นที่ริมคลองมีความสวยงาม สะอาด ปลอดภัย สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ สร้างความโดดเด่นเป็น อัตลักษณ์ ทั้งภูมิทัศน์ที่เป็นแหล่งธรรมชาติหรือสถานที่ที่ถูกสร้างขึ้น รวมถึงการบำรุงรักษาให้เกิดความยั่งยืนและพัฒนาต่อยอดเชิงพื้นที่เพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน อัตลักษณ์ หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่โดดเด่น ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่รู้จักหรือจำได้ (สามารถสร้างใหม่หรือเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาให้ดีขึ้นได้) เช่น การประดับ ตกแต่งต่าง ๆ สร้างพื้นที่ให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์สอดคล้องกับแต่ละพื้นที่โดยใช้แนวทางการพัฒนาในรูปแบบ Tactical Urbanism, Urban Renewal เป็นต้น คลองเป้าหมาย หมายถึง คลองเป้าหมายตามบัญชีคลอง ของกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ 50 เขต (เอกสารแนบ 1) Tactical Urbanism หมายถึง การพัฒนาเมืองหรือชุมชนโดยการเปลี่ยนแปลงบริเวณรกร้างหรือมีบรรยากาศแห้งแล้งเช่น ถนน ทางเท้า กำแพง สนามเด็กเล่น แหล่งเสื่อมโทรม ให้กลายเป็นพื้นที่หรือย่านสร้างสรรค์ มีชีวิตชีวา และน่าอยู่มากขึ้นโดยการตกแต่งหรือก่อสร้างในต้นทุนต่ำ เน้นการมีส่วนร่วมและใช้แรงงานสองมือของคนในชุมชนเป็นหลัก การฟื้นฟูเมือง (Urban Renewal) เป็นการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองหรือส่วน ของเมืองที่เสื่อมโทรมด้วยกาลเวลาหรือปัจจัยอื่นให้มีชีวิตชีวาขึ้นใหม่โดยดำเนินการด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม ให้สอดคล้องกัน ซึ่งการดำเนินการ มีผลต่อการสร้างงานและทำให้สภาพแวดล้อมของเมืองดีขึ้น ทั้งนี้ขอบเขตการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย ภารกิจของหน่วยงาน/ส่วนราชการฯ ที่เกี่ยวข้อง ภารกิจส่วนที่ 1 จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองของหน่วยงาน และดำเนินงานตามแผนฯ (คะแนนร้อยละ 80) 1. สำนักการระบายน้ำ 1.1 จัดประชุมหารือร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสร้างช่องทางการประสานงานสำหรับผู้รับผิดชอบหลัก/ผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1.2 ทบทวนแผนการปรับภูมิทัศน์คลองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยระบุค่าเป้าหมายและโครง/กิจกรรมที่จะดำเนินการในแต่ละปี 1.3 จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองภาพรวมในพื้นที่กรุงเทพมหานครในปีที่ประเมิน 1.4 จัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการสำรวจและตรวจสอบพื้นที่คลอง และให้การสนับสนุนเครื่องจักรกลต่าง ๆ แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1.5 ฟื้นฟู บำรุงรักษาสภาพคลอง ตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์และสิ่งปลูกสร้างในความรับผิดชอบตามแนวคลองให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าดำเนินการกรณีอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่น 1.6 คัดเลือกพื้นที่หรือย่านสำคัญริมคลองพัฒนาต่อยอดเชิงพื้นที่เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการพัฒนาสถานที่ จัดทำข้อมูล และจัดกิจกรรมเพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจและเป็นแหล่งเรียนรู้วิถีคลอง อย่างน้อย 1 พื้นที่ โดยประสานสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว จัดให้มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว วัฒนธรรม กีฬา และนันทนาการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตคลอง 1.7 จัดลำดับความสำคัญของโครงการ/กิจกรรมที่หน่วยงานระดับสำนักและสำนักงานเขตได้นำเสนอเพื่อการพัฒนาเพิ่มเติมเชิงพื้นที่ในการปรับภูมิทัศน์คลอง เมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565 และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันโครงการ/กิจกรรมสู่การปฏิบัติ 1.8 ให้คะแนนผลการดำเนินงานตามภารกิจส่วนที่ 1 ของหน่วยงานตามตัวชี้วัดที่กำหนด 1.9 จัดทำหลักเกณฑ์การประเมินผลและให้คะแนนการปรับภูมิทัศน์คลองในภาพรวมของภารกิจส่วนที่ 2 (ร้อยละ 20) อย่างน้อยตามหลักเกณฑ์ (เอกสารแนบ 2) โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการให้คะแนน ดังนี้ 1) แต่งตั้งคณะกรรมการลงพื้นที่ตรวจสอบและให้คะแนน (ร้อยละ 10) 2) ความพึงพอใจของประชาชน (ร้อยละ 10) โดยประสานสำนักงานประชาสัมพันธ์ จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกิจกรรมการปรับภูมิทัศน์คลองผ่านสื่อในรูปแบบต่าง ๆ เช่น YouTube, Facebook เป็นต้น เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนรับรู้การดำเนินกิจกรรมของกรุงเทพมหานครเป็นรายพื้นที่เป้าหมายของแต่ละสำนักงานเขต และประเมินผลความพึงพอใจของประชาชนต่อผลของกิจกรรมในพื้นที่เป้าหมาย 1.10 จัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ(Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พร้อมจัดทำสรุปโครงการ/กิจกรรมตามข้อเสนอแนะการพัฒนาเพิ่มเติม เสนอผู้บริหารกรุงเทพมหานครรับทราบ และสรุปผลคะแนนส่งสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ภายในวันที่ 30 กันยายน 2566 2. สำนักการโยธา 2.1 เข้าร่วมประชุมและกิจกรรมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด 2.2 จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองในส่วนภารกิจของสำนักการโยธา ส่งสำนักการระบายน้ำ 2.3 สำรวจและออกแบบตามหลักอารยสถาปัตย์ (Universal Design)และจัดสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนตามแนวคลอง พื้นที่หรือย่านริมคลอง และสะพานข้ามคลอง (เพิ่มเติม) ตามแนวคลองเป้าหมาย ได้แก่ 1) สะพานข้ามคลองลำผักชี ถนนเทพรักษ์ พื้นที่เขตบางเขน 2) สะพานข้ามคลองบางซื่อ ถนนรัชดาภิเษก พื้นที่เขตห้วยขวาง 3) สะพานข้ามคลองสามเสนใน ถนนเพชรอุทัย พื้นที่เขตห้วยขวาง กรณีใช้งบประมาณให้ระบุโครงการ/กิจกรรมพร้อมรายละเอียดของรูปแบบและแบบประมาณราคาเตรียมขอจัดสรรงบประมาณในปีถัดไป 2.4 ดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมตามที่ได้นำเสนอเพื่อการพัฒนาเพิ่มเติมเชิงพื้นที่ในการปรับภูมิทัศน์คลอง เมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565 กรณีไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณให้ดำเนินการจัดทำคำของบประมาณของหน่วยงานในปีถัดไป 2.5 ปรับปรุงและพัฒนาเส้นทางสัญจรเข้าสู่ท่าเทียบเรือตามนโยบายกรุงเทพเดินได้พัฒนาทางเท้า 1,000 กม.(P026), เลียบคลองเดินได้ปั่นปลอดภัย (P028) 2.6 ร่วมดำเนินการพัฒนาพื้นที่ตาม ข้อ 1.5 2.7 ตรวจสอบและบำรุงรักษาสะพานข้ามคลองให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน กรณีใช้งบประมาณให้ระบุโครงการ/กิจกรรมพร้อมรายละเอียดของรูปแบบและแบบประมาณราคาเตรียมขอจัดสรรงบประมาณ 2.8 จัดทำรายงานผลการดำเนินงานการปรับภูมิทัศน์คลองตามภารกิจที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ (Action Plan) และจัดทำข้อเสนอแนะการพัฒนาเพิ่มเติมจากการดำเนินงานพร้อมเสนอโครงการ/กิจกรรมเพื่อการพัฒนาในส่วนภารกิจที่รับผิดชอบส่งให้สำนักการระบายน้ำภายในวันที่ 15กันยายน 2566 3. สำนักการจราจรและขนส่ง 3.1 เข้าร่วมประชุมและกิจกรรมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด 3.2 จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองในส่วนภารกิจของสำนักการจราจรและขนส่ง ส่งสำนักการระบายน้ำ 3.3 จัดทำแผนและพัฒนาเส้นทางการสัญจร (ทางเท้า ทางจักรยาน เส้นทางเดินเรือ) จุดเชื่อมต่อการเดินทาง ติดตั้งระบบกล้อง CCTV ป้ายบอกทาง และเครื่องหมายจราจร (เพิ่มเติม) ตามแนวคลองเป้าหมาย กรณีใช้งบประมาณให้ระบุโครงการ/กิจกรรมพร้อมรายละเอียดของรูปแบบและแบบประมาณราคาเตรียมขอจัดสรรงบประมาณ 3.4 ดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมตามที่ได้นำเสนอเพื่อการพัฒนาเพิ่มเติมเชิงพื้นที่ในการปรับภูมิทัศน์คลอง เมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565 กรณีไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณให้ดำเนินการจัดทำคำของบประมาณของหน่วยงานในปีถัดไป 3.5 ร่วมดำเนินการพัฒนาพื้นที่ตาม ข้อ 1.5 3.6 ตรวจสอบ และบำรุงรักษาอุปกรณ์ในความรับผิดชอบ (สายสาธารณูปโภค กล้อง CCTV และป้ายบอกทาง) บริเวณท่าเทียบเรือ ทางจักรยานและทางเดินริมคลองให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 3.7 จัดทำรายงานผลการดำเนินงานการปรับภูมิทัศน์คลองตามภารกิจที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ส่งให้สำนักการระบายน้ำภายในวันที่ 15 กันยายน 2566 4. สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง 4.1 ร่วมกิจกรรมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด 4.2 จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองในส่วนภารกิจของสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง ส่งสำนักการระบายน้ำ 4.3 ศึกษา พิจารณาคัดเลือกพื้นที่หรือย่านที่มีความสำคัญตามแนวคลอง เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ที่มีความสำคัญเช่น พื้นที่ทางประวัติศาสตร์และ/หรือพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม เป็นต้น โดยไม่ซ้ำกับพื้นที่/ย่านเดิมในปี พ.ศ. 2565 อย่างน้อย 1 แห่ง พร้อมจัดทำรายละเอียด ดังนี้ 4.3.1 จัดทำข้อเสนอแนะชี้นำแนวทางการพัฒนาพื้นที่เพื่อการนำพื้นที่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเรียนรู้ อย่างน้อยมีเนื้อหาประกอบด้วย Design Guideline 4.3.2 จัดทำรายละเอียดแผนที่มรดกทางวัฒนธรรมในพื้นที่หรือย่านที่สำคัญตามที่ได้รับการศึกษา เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้พัฒนาต่อยอดในการจัดกิจกรรมส่งเสริมเศรษฐกิจและการเรียนรู้หรือเพื่อการพัฒนาเมืองต่อไป 4.4 จัดทำรายงานผลการดำเนินงานการปรับภูมิทัศน์คลองตามภารกิจที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ส่งให้สำนักการระบายน้ำภายในวันที่ 15 กันยายน 2566 5. สำนักงานเขต 5.1 เข้าร่วมประชุมและกิจกรรมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด 5.2 จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองในส่วนภารกิจของสำนักงานเขต ส่งสำนักการระบายน้ำ 5.3 ตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์และสถานที่ในความรับผิดชอบบริเวณสถานที่พักผ่อนริมคลอง จุดชมวิวทิวทัศน์/จุดเช็คอิน (Check in) บริเวณสะพานข้ามคลอง ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เช่น ป้ายอำนวยความสะดวก (ชื่อแหล่งน้ำ,ประวัติศาสตร์พื้นที่ ฯลฯ) ป้ายประดับต่าง ๆ ไม้ดอกไม้ประดับ ไฟฟ้าส่องสว่าง ราวกันตกริมคลอง สะพานข้ามคลอง และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 5.4 คัดเลือกอย่างน้อย 1 พื้นที่ บริเวณคลองสายหลักหรือคลองสาขา โดยเป็นพื้นที่ริมคลอง สะพานข้ามคลอง หรือพื้นที่อื่น ๆ ที่มีความเหมาะสม ซึ่งเป็นพื้นที่เดิม (คลองเป้าหมายที่ได้ดำเนินการในปีที่ ผ่านมา) หรือพื้นที่ใหม่ เพื่อดำเนินการพัฒนาให้เกิดความเป็นอัตลักษณ์ที่ โดดเด่น และพัฒนาเป็นสถานที่พักผ่อนริมคลอง จุดชมวิวทิวทัศน์ จุดเช็คอิน (Check in) 5.5 บริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบในพื้นที่ตามแนวคลองเพื่อไม่ให้ประชาชนทิ้งขยะลงคลอง เช่น การกำหนดจุดทิ้งขยะ นัดทิ้ง - นัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ การเก็บขนขยะ และการตั้งจุด “ทิ้ง จับ ปรับ” เป็นต้น 5.6 รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและสถานประกอบการในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามแนวคลอง อย่างน้อยครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้ 1) การคัดแยกขยะมูลฝอยตามแนวทาง “ไม่เทรวม” 2) การนำขยะเศษอาหารทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ 3) การนำสิ่งของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (Reuse and Recycle) 4) การจัดการน้ำเสียชุมชน 5) การกำจัดไขมันก่อนทิ้งลงท่อระบายน้ำ 6) การสร้างความเข้าใจในการเตรียมการจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสียและค่าธรรมเนียมการเก็บขนมูลฝอย 5.7 สร้างภาคีเครือข่าย และส่งเสริมกิจกรรมให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาคลอง ผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) 5.8 จัดทำข้อเสนอแนะการพัฒนาเพิ่มเติมจากการดำเนินงานพร้อมเสนอโครงการ/กิจกรรมเพื่อการพัฒนาในส่วนภารกิจที่รับผิดชอบ และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานการปรับภูมิทัศน์คลองตามภารกิจที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ส่งให้สำนักการระบายน้ำภายในวันที่ 15 กันยายน 2566 ภารกิจส่วนที่ 2 ผลการประเมินภาพรวม (คะแนนร้อยละ 20) สำนักการระบายน้ำประเมินผลภาพรวม ประกอบด้วย 1. ผลการประเมินในรูปแบบคณะกรรมการ โดยให้คะแนนตามหลักเกณฑ์ขององค์ประกอบภาพรวมการปรับภูมิทัศน์คลองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (ร้อยละ 10) 2. ผลคะแนนเฉลี่ยจากความคิดเห็นของภาคประชาสังคม ต่อการปรับภูมิทัศน์คลองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (ร้อยละ 10)
นับจากผลรวมของความสำเร็จการดำเนินงานตามภารกิจ ส่วนที่ 1 - 2 โดยแบ่งเป็น 1. ภารกิจส่วนที่ 1 คะแนนร้อยละ 80 2. ภารกิจส่วนที่ 2 คะแนนร้อยละ 20 รวม คะแนนร้อยละ 100 (ยกเว้น สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองวัดผลฯ เฉพาะส่วนภารกิจที่ 1 เท่านั้น)
1. แผนการปรับภูมิทัศน์คลองภาพรวมของกรุงเทพมหานคร ๒. Action Plan ของแต่ละหน่วยงาน ๓. รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม ๔. รายงานผลการดำเนินงานปรับภูมิทัศน์คลองภาพรวมของกรุงเทพมหานคร 5. รายงานผลการดำเนินงานปรับภูมิทัศน์คลองของแต่ละหน่วยงาน ๕. ผลสรุปคะแนนรายหน่วยงานและคะแนนภาพรวม 6. รายละเอียดและข้อเสนอการพัฒนาเพิ่มเติมของแต่ละหน่วยงาน
:ยุทธศาสตร์ที่ ๔ –การเชื่อมโยงเมืองที่มีความคล่องตัวและระบบบริการสาธารณะแบบบูรณาการ |
:๔.๓ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีรูปแบบการจัดการภูมิทัศน์เมืองอย่างยั่งยืน |
:๔.๓.๑ กรุงเทพมหานครมีการปรับปรุงองค์ประกอบทางภูมิทัศน์เมืองและส่งเสริมอัตลักษณ์และทัศนียภาพในการรับร% |
:๔.๓.๑.๓ อนุรักษ์และฟื้นฟูย่าน (Districts) ตามผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะที่สอดคล้องกับผังเมืองรวม หรือพิจารณาเพิ่มเติมในอนาคตที่มีอัตลักษณ์และ พัฒนาพื้นที่ชุมชนอันมีความเป็นเอกลักษณ์ของในพื้นที่กรุงเทพมหานคร |