รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

2566 ความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน : 5031-2034

ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5

ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 5

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ระดับ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
100
100 / 0
2
2.00
100
100 / 100
3
3.00
100
100 / 50
4
5.00
100
0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

1. อยู่ในขั้นตอนพิจารณาโครงการพัฒนานวัตกรรมจากคณะกรรมการฯ เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะและตอบข้อซักถามของคณะกรรมการฯ นวัตกรรมที่พัฒนา คือ กระบวนการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บมูลฝอย

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

1. ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการลดและคัดแยกขยะเศษอาหารออกจากขยะทั่วไป และรวบรวมนำไปเทในบ่อหมักปุ๋ยใบไม้แห้ง ตามโครงการไม่เทรวมให้กับชุมชนวัดเลียบราษฎร์บำรุงและชุมชนบ้านสามเรือน และส่งเสริมให้ชุมชน หน่วยงาน และประชาชน คัดแยกขยะ 2. ประสานความร่วมมือกับบริษัท อีทราน (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อดำเนินการสนับสนุนผลิตอุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายมูลฝอยตามที่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานร่วมกันออกแบบเสนอแนวคิด และรูปแบบของอุปกรณ์ที่ต้องการ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

1. ดำเนินการกิจกรรมทั้ง 3 กิจกรรม ในตัวชี้วัดที่ 1 คือ นวัตกรรมที่พัฒนา คือ กระบวนการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บมูลฝอย เรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมสร้างการรับรู้และส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และร่วมมือในการคัดแยกขยะก่อนนำทิ้ง - ประชุมคณะกรรมการเพื่อหารือแนวทางการคัดแยกขยะร่วมกัน - ให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ และการนำขยะกลับไปใช้ประโยชน์ให้กับสมาชิกในชุมชน - สร้างช่องทางการสื่อสาร โดยจัดตั้งกลุ่มไลน์ “ต้นแบบนวัตกรรมการจัดการขยะ (ชช.วัดเลียบฯ) เพื่อส่งข้อมูลเกี่ยวกับการคัดแยกขยะและการนำขยะกลับไปใช้ประโยชน์ และผู้เข้าร่วมโครงการลงทะเบียนสมัครเป็นสมาชิกในโครงการ “ไม่เทรวม” เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการคิดอัตราค่าธรรมเนียมฯ - จัดทำประกาศเพื่อขอความร่วมมือประชาชนในชุมชนทิ้งขยะเศษอาหาร และขยะทั่วไปตามวัน และเวลาที่กำหนด - เดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือคัดแยกขยะก่อนนำทิ้งและเชิญเข้าร่วมโครงการ “ไม่เทรวม” โดยการเคาะประตูบ้านทุกหลังคาเรือน และติดสติ๊กเกอร์ “ไม่เทรวม” ให้กับบ้านที่เข้าร่วมโครงการ กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมจุดรวมทิ้งขยะเศษอาหาร - กำหนดจุดทิ้งขยะเศษอาหารบริเวณข้างกำแพงวัดเลียบราษฎร์บำรุง - ลงพื้นที่แนะนำให้สมาชิกนำขยะเศษอาหาร ขยะทั่วไป และขยะอันตรายมาทิ้ง ณ จุดทิ้งขยะรวม - จัดเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการจัดเก็บขยะตามวัน เวลาที่กำหนด กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมผลิตอุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายมูลฝอย - ประชุมหารือเจ้าหน้าที่เก็บขนมูลฝอยประจำพื้นที่เพื่อออกแบบอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายขยะออกจากชุมชน - ประสานความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าพระนครเหนือ และบริษัท อีทราน ไทยแลนด์ จำกัด) เพื่อผลิตอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายขยะออกจากชุมชนมายังจุดที่รถเก็บขนมูลฝอยสามารถเข้าถึง - นำอุปกรณ์อำนวยความสะดวกมาใช้งานในการเคลื่อนย้ายขยะออกจากชุมชน และเก็บสถิติข้อมูลปริมาณขยะ 2. ดำเนินการทอดแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้นวัตกรรม ดังนี้ (เป้าหมาย จำนวนผู้มีความพึงพอใจมาก และมากที่สุดไม่น้อยกว่าร้อยละ 80) 2.1 เจ้าหน้าที่เก็บขนมูลฝอย จำนวน 5 คน ความพึงพอใจมาก-มากที่สุดคิดเป็น ร้อยละ 100 2.2 ประชาชนในชุมชนวัดเลียบ จำนวน 336 หลังคาเรือน ความพึงพอใจมาก-มากที่สุดคิดเป็น ร้อยละ 90.48 3. ปริมาณมูลฝอยตกค้างก่อนดำเนินการ 1,500 กิโลกรัม (เป้าหมาย ปริมาณมูลฝอยตกค้างลดลงจากก่อนดำเนินการ ร้อยละ 80)ปัจจุบันหลังดำเนินการโครงการไม่มีขยะตกค้าง ปริมาณมูลฝอยตกค้างลดลงจากก่อนดำเนินการ คิดเป็น ร้อยละ 100

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ตามที่สำนักงาน ก.ก. กำหนด

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ตามที่สำนักงาน ก.ก. กำหนด

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

ตามที่สำนักงาน ก.ก. กำหนด

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****%
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง