รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

3. พื้นที่เสี่ยงภัยได้รับการลดเงื่อนไขความล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรม : 5033-0768

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
25.00
100
100 / 100
2
50.00
100
100 / 100
3
100.00
100
100 / 100
4
100.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

- ตัดต้นไม้ที่รกทึบ ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง ติดป้ายประชาสัมพันธ์ป้องกันอาชญากรรม ทำความสะอาดป้ายรถประจำทาง ฯ - ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของกล้องวงจรปิด (CCTV) บริเวณจุดเสี่ยงภัย - ดำเนินการติดตั้งตู้เขียวในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อกำหนดเป็นจุดสำหรับให้เจ้าหน้าที่เทศกิจลงบันทึกการตรวจพื้นที่ฯ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

- ตัดต้นไม้ที่รกทึบ ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง ติดป้ายประชาสัมพันธ์ป้องกันอาชญากรรม ทำความสะอาดป้ายรถประจำทาง ฯ - จัดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของกล้องวงจรปิด (CCTV) บริเวณจุดเสี่ยงภัย - ดำเนินการติดตั้งตู้เขียวในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อกำหนดเป็นจุดสำหรับให้เจ้าหน้าที่เทศกิจลงบันทึกการตรวจพื้นที่ฯ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

-ตัดต้นไม้ที่รกทึบ ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง ติดป้ายประชาสัมพันธ์ป้องกันอาชญากรรม ทำความสะอาดป้ายรถประจำทาง ฯ - จัดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของกล้องวงจรปิด (CCTV) บริเวณจุดเสี่ยงภัย - ดำเนินการติดตั้งตู้เขียวในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อกำหนดเป็นจุดสำหรับให้เจ้าหน้าที่เทศกิจลงบันทึกการตรวจพื้นที่ฯ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

1. ดำเนินการเฝ้าระวังและตรวจตราดูแลเพื่อป้องกันอาชญากรรม 2 ครั้ง/วัน/จุด ได้แก่ 1) ทางเข้าชุมชนพัฒนา (คั่วพริก) ถนนสุนทรโกษา 2) หลังโรงแรมพระโขนง (37) ซอยภูมิจิตร ถนนพระรามที่ 4 3) บริเวณท่าเรือภาษี (กรมศุลกากร) 2. จุดเสี่ยงภัยที่ติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) มีการตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของกล้องวงจรปิด (CCTV) 2 ครั้ง/วัน/จุด หากพบว่ามีการชำรุดได้มีการจัดทำหนังสือประสานฝ่ายปกครองแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไข 3. ดำเนินพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม (ตู้เขียว) 2 ครั้ง/วัน/จุด ได้แก่ 1) ก่อนปากซอยแสนสบาย ถนน พระรามที่ 4 2) หน้าสวนชูวิทย์ 3) ลานหิมะทองคำใต้ทางด่วนสุขุมวิท 50 4) ใต้สะพานพระโขนง 5) ใต้ทางด่วนอาจณรงค์ 6) หน้าอาคารซีทรานต์ 7) ซอยฟาร์มวัฒนา 9) หน้าอาคาร เอส เอส พี ซิตี้ ถนน ณ ระนอง 10) หน้าโรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ 11) กลางซอยสุขุมวิท 16

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1. พื้นที่เสี่ยงภัย หมายถึง พื้นที่ที่มีความล่อแหลมต่อการเกดอาชญากรรม กับประชาชน โดยพื้นที่เสี่ยงภัยที่เป็นเป้าหมายในการดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 นั้น ได้นำรายละเอียดพื้นที่เสี่ยงภัยและวิธีการแก้ไขหรือลดปัจจัยเสี่ยงภัยมาจากบัญชีพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่อันตรายของกรุงเทพมหานครปี พ.ศ. 2562 ซึ่งเกิดจากการสำรวจและรวบรวมข้อมูลของคณะทำงานโครงการสำรวจและจัดทำบัญชีพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่อันตรายของกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2562 2. เงื่อนไข (ปัจจัย) ความล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรม หมายถึง เหตุ/ช่องทาง/สิ่งต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดเหตุอาชญากรรมหรือก่อเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งได้ตามสภาพพื้นที่นั้น 3.การลดเงื่อนไขความล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรม หมายถึง การปรับ แก้ไข หรือการเพิ่มเติมสภาพแวดล้อมพื้นที่ เช่น การติดตั้งหรือซ่อมแซมไฟฟ้าส่องสว่าง การดูแลตัดต้นไม้ การติดตั้งหรือการซ่อมแซมกล้องวงจรปิด (CCTV) การติดป้ายประชาสัมพันธ์ป้องกันอาชญากรรม การทำความสะอาด ฯลฯ รวมทั้งการเฝ้าระวังและตรวจตราพื้นที่โดยการจัดเจ้าหน้าที่ออกตรวจตราเพ่อเป็นการป้องปรามการก่อเหตุอาชญากรรม หรือเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยตามแต่ละสภาพพื้นที่นั้นๆ

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ค่าเป้าหมายร้อยละ 100 โดยการแบ่งให้คะแนน(ร้อยละ) ออกเป็น 3 ข้อ ได้แก่ 1. การดำเนินการปรับแก้ไขสภาพแวดล้อมพื้นเสี่ยงภัย จำนวนคะแนน (ร้อยละ) 60 คะแนน คิดจาก y=((X×60))/n y = ร้อยละของจำนวนรายการที่ได้ดำเนินการปรับแก้ไขสภาพแวดล้อมพื้นที่เสี่ยงภัยสำเร็จ X = จำนวนรายการที่ได้ดำเนินการปรับแก้ไขสภาพแวดล้อมพื้นที่เสี่ยงภัยสำเร็จ n = จำนวนรายการที่ต้องดำเนินการปรับแก้ไขสภาพแวดล้อมพื้นที่เสี่ยงภัยตามแผน 2. การเฝ้าระวังและตรวจตราพื้นที่เสี่ยงภัย จำนวนคะแนน (ร้อยละ) 20 คะแนน คิดจาก y=((X × 20))/n y = ร้อยละของผลการเฝ้าระวังตรวจตราพื้นที่เสี่ยงภัยที่ดำเนินการ X = ผลการเฝ้าระวังและตรวจตราพื้นที่เสี่ยงภัยที่ดำเนินการได้ n = เป้าหมายการดำเนินการเฝ้าระวังและตรวจตราตามแผน 3. การรายงานผลการดำเนินงานประจำเดือน จำนวนคะแนน (ร้อยละ) 20 คะแนน คิดจากการรายงานผลการดำเนินการแก้ไขพื้นที่เสี่ยงภัยที่สำนักงานเขตส่งให้สำนักเทศกิจโดยแบ่งการให้คะแนนเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 3.1 จำนวน 15 คะแนน (ร้อยละ 75) คิดจากความครบถ้วนของรายงาน หากไม่ครบถ้วนจะตัดคะแนนจุดละ 0.1 คะแนน y=((15 × (n-X))/n y = คะแนน (ร้อยละ) ความครบถ้วนของรายงาน X = จำนวนจุด (คะแนน) ที่ถูกตัดคะแนน n = จำนวนจุดทั้งหมด (คะแนน) 3.2 จำนวน 5 คะแนน (ร้อยละ 25) คิดจากการส่งรายงานทันภายในระยะเวลาที่กำหนด (ดูตราประทับวันที่ลงรับรายงาน) หากพ้นกำหนดจะถูกตัดคะแนนตามตารางด้านล่าง y=5-z y =คะแนน (ร้อยละ) การส่งรายงานทันภายในระยะเวลาที่กำหนด z = คะแนนที่ถูกหักตามตาราง

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

มีการจัดทำแผนการปรับแก้ไขสภาพแวดล้อม และเฝ้าระวังและตรวจตราพื้นที่เสี่ยงภัยตามเงือนไขการลดความล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรมที่กรุงเทพมหานครกำหนด และดำเนินการตามแผนดังกล่าว ดังนี้ 1. การปรับแก้ไขสภาพแวดล้อมพื้นที่เสี่ยงภัย 1.1 ฝ่ายรักษาความสะอาดมีการดำเนินการหรือประสานหน่วยงานอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการดูแลตัดต้นไม้ ทำความสะอาดพื้นที่และดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง 1.2 ฝ่ายโยธามีการดำเนินการหรือประสานหน่วยงานอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการติดตั้งหรือซ่อมแซมไฟฟ้าส่องสว่าง ติดตั้งหรือซ่อมแซมกล้องวงจรปิด (CCTV) และดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง 1.3 ฝ่ายเทศกิจมีการดำเนินการหรือประสานหน่วยงานอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์เตือนภัยอาชญากรรมและดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง 2. การเฝ้าระวังและตรวจตราพื้นที่เสี่ยงภัย 2.1 มีการจัดเจ้าหน้าที่เทศกิจออกเฝ้าระวังตรวจตราพื้นที่เสี่ยงภัย จำนวนอย่างน้อย 2 ครั้ง/จุด/วัน 2.2 มีการจัดเจ้าหน้าที่เทศกิจออกเฝ้าระวังตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของกล้องวงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่เสี่ยงภัยจำนวนอย่างน้อย 2 ครั้ง/จุด/วัน 2.3 มีการรวบรวมและสรุปผลการดำเนินการรายงานให้สำนักเทศกิจทราบเป็นรายเดือน

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๒ - ปลอดอาชญากรรมและยาเสพติด
:๑.๒.๑ ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน%
:๑.๒.๑.๑ เสริมสร้างความปลอดภัยเพื่อลดความล่อแหลมของสภาพแวดล้อมต่อการก่อ อาชญากรรม

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง