รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ความสำเร็จในการเสนอนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน : 5033-2001

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
10.00
100
100 / 100
2
50.00
0
0 / 0
3
100.00
0
0 / 0
4
100.00
100
0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

1. เวียนแจ้งแนวทางการดำเนินการให้แต่ละฝ่ายทราบ 2. ทุกฝ่ายแสดงความคิดเห็นในการเสนอนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงาน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

1. เวียนแจ้งแนวทางการดำเนินการให้แต่ละฝ่ายทราบ 2. ทุกฝ่ายแสดงความคิดเห็นในการเสนอนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงาน 3. คัดเลือกความคิดเห็นเพื่อนำมาพัฒนาเป็นนวัตกรรมของสำนักงานเขต 4. นำเสนอนวัตกรรมให้สำนักงาน ก.ก. พิจารณา เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564 5. คณะกรรมการฯ จัดประชุมเพื่อพิจารณานวัตกรรมของสำนักงานเขต เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 6. คณะกรรมการฯ แจ้งผลการพิจารณากลั่นกรองโครงการฯ ให้ผ่าน และเสนอแนะให้นวัตกรรมที่จัดทำ เป็นการดำเนินการเฉพาะฝ่ายทะเบียนควรมีการพัฒนา/ต่อยอด ให้ครอบคลุมงานบริการให้ครบทุกฝ่าย 7. ผลการดำเนินงานคิดเป็นร้อยละ 50

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ผลการดำเนินโครงการตรวจสอบเอกสารล่วงหน้าก่อนมาสำนักทะเบียน – ตั้งแต่เดือนเมษายน – มิถุนายน 2564 มียอดผู้เข้าใช้บริการ เป็นจำนวน 653 ราย – ผลความพึงพอใจในการให้บริการ Line ทะเบียนคลองเตย อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 77.78 ระดับดีคิดเป็นร้อยละ 19.44 และระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 2.78 – ผลการดำเนินงานคิดเป็นร้อยละ 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ชื่อโครงการ ตรวจสอบเอกสารล่วงหน้าก่อนมาสำนักทะเบียน 1. รายละเอียดโครงการ: - วัตถุประสงค์ของโครงการ 1 เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนเฉพาะในพื้นที่ที่ต้องการมาติดต่อราชการของสำนักงานเขตที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของฝ่ายทะเบียน เช่น การเพิ่มชื่อบุคคลเข้าในทะเบียนบ้าน การจดสมรส การจดหย่า การจดรับรองบุตร และจดรับบุตรบุญธรรม 2 เพื่อพัฒนาด้านการบริการประชาชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น - ขั้นตอนการดำเนินงาน 1 ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตคลองเตยจัดทำโครงการ “ตรวจสอบเอกสารล่วงหน้าก่อนมาสำนักทะเบียน” เสนอผู้อำนวยการเขตคลองเตยอนุมัติแล้วดำเนินการตามโครงการ 2 จัดทำคำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบโครงการ “ตรวจสอบเอกสารล่วงหน้าก่อนมาสำนักทะเบียน” ประกอบด้วยคณะทำงาน จำนวน 6 คน และจัดทำ Application Line Official ทะเบียนคลองเตย ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ตลอดจนปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพขึ้นเรื่อยๆ 3 จัดทำ Line “ตรวจสอบเอกสารล่วงหน้าก่อนมาสำนักทะเบียน” ซึ่งประชาชนสามารถเข้ามาใน Line และส่งเอกสารหลักฐานต่างๆ ให้เจ้าหน้าที่ใช้ในการตรวจสอบเอกสารไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะนัดให้ประชาชนผู้รับบริการดำเนินการหลังจากตรวจสอบเอกสารแล้วเสร็จ และสามารถกำหนดวันที่รับบริการได้ด้วยตนเอง โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วงในแต่ละวันคือช่วงเช้า (08.00 – 12.00 น) และช่วงบ่าย (13.00 – 16.00 น.) 4 เมื่อประชาชน add line official ทะเบียนคลองเตยผ่าน ID Line เข้ามาจะมีข้อความอัตโนมัติไปยังประชาชนเพื่อเป็นหัวข้อหลักให้ประชาชนสามารถเลือกสอบถามข้อมูลพื้นฐานที่ทางเจ้าหน้าที่ทะเบียนได้ตั้งเป็นข้อความอัตโนมัติเอาไว้ โดยที่เจ้าหน้าที่ไม่ต้องตอบคำถามประชาชนเอง และหากมีคำถามนอกเหนือจากที่ตั้งค่าข้อความอัตโนมัติเอาไว้ เจ้าหน้าที่จะเป็นคนตอบประชาชนโดยตรงเอง 5 จัดทำคู่มือการใช้งานที่เข้าใจง่าย และประชาสัมพันธ์โครงการให้ผู้รับบริการทราบ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย เช่น วินรถจักรยานยนต์ ผู้ประกอบการที่พักอาศัย นิติบุคคลอาคารชุด ชุมชนและประชาชนที่เข้ามาติดต่อราชการที่สำนักงานเขต 6 ประชาชนสามารถแสดงความพึงพอใจโดยผ่านระบบมือถือแบบสมาร์ทโฟน (Smart Phone) ผ่านระบบ Line ของโครงการ 7 รายงานความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการให้ผู้บังคับบัญชาทราบทุกเดือน - ความคืบหน้าของโครงการ – ยอดผู้เข้าใช้บริการ เดือนมีนาคม 2564 จำนวน 470 ราย – ยอดผู้เข้าใช้บริการสะสม เดือนเมษายน 2564 จำนวน 500 ราย – ยอดผู้เข้าใช้บริการสะสม เดือนพฤษภาคม 2564 จำนวน 559 ราย – ยอดผู้เข้าใช้บริการสะสม เดือนมิถุนายน 2564 จำนวน 663 ราย – ยอดผู้เข้าใช้บริการสะสม เดือนกรกฎาคม 2564 จำนวน 1,259 ราย – ยอดผู้เข้าใช้บริการสะสม เดือนสิงหาคม 2564 จำนวน 2,043 ราย – ความพึงพอใจในการให้บริการ Line ทะเบียนคลองเตย อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 86.20 – ระยะเวลาดำเนินโครงการ ตั้งแต่เดือนมีนาคม – กันยายน 2564

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

แนวคิด วิธี และรูปแบบใหม่ๆ ในการจัดการองค์กร การดำเนินงาน และการให้บริการ อันเป็นผลมาจากการสร้าง พัฒนา เพิ่มพูน ต่อยอด หรือประยุกต์ใช้องค์ความรู้ และแนวปฏิบัติต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพประสิทธิผล หรือคุณภาพของการปฏิบัติงานของหน่วยงาน

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ขั้นตอนที่ 1 เป็นขั้นตอนการค้นหา และรวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหา หรือความต้องการที่จะพัฒนางาน โดยเสนอแนวคิดภายใต้รูปแบบที่กำหนดตามแบบฟอร์มการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการพัฒนา/ปรับปรุงการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน โดยกำหนดจำนวนแบบฟอร์มที่หน่วยงานที่รับการประเมินต้องส่งให้สำนักงาน ก.ก. ดังนี้ 1. หน่วยงานระดับสำนัก จำนวนไม่น้อยกว่า 20 ชุด 2. สำนักงานเขต จำนวนไม่น้อยกว่า 15 ชุด 3. ส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงทพมหานคร สำนักเลขานุการ สภากรุงเทพมหานคร และสำนักเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำนวนไม่น้อยกว่า 10 ขุด ขั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นตอนการคัดเลือกความคิดเห็นจากขั้นตอนที่ 1 โดยคณะผู้บริหาร/คณะทำงานของแต่ละหน่วยงาน กำหนดให้แต่ละหน่วยงานพิจารณาเลือกเพียง 1 ความคิดเห็น เพื่อนำมาพัฒนา หรือปรับปรุงการทำงานของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ โดยระบุรายละเอียดของแนวคิดที่ได้รับการคัดเลือกในแบบสรุปผลการคัดเลือกความคิดเห็นในการเสนอนวัตกรรมฯ ขั้นตอนที่ 3 เป็นขั้นตอนการนำเสนอโครงการ โดยหน่วยงานนำแนวความคิดที่ได้รับการคัดเลือกตามขั้นตอนที่ 2 มาจัดทำโครงการนวัตกรรมฯ 1 โครงการ พร้อมจัดทำแบบฟอร์มนำเสนอโครงการพัฒนานวัตกรรมฯ เพื่อเสนอคณะกรรมการนวัตกรรมกรุงเทพมหานครพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ โครงการพัฒนานวัตกรรมฯ ที่นำเสนอไม่จำเป็นต้องดำเนินการแล้วเสร็จภายในปีงบประมาณเดียว สามารถนำเสนอโครงการฯ ระยะยาวที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องได้ โดยกำหนดเป้าหมายโครงการแต่ละปีงบประมาณให้ชัดเจน

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

ขั้นตอนที่ 4 เป็นขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมฯ ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการฯ โดยหน่วยงานดำเนินโครงการพัฒนานวัตกรรมฯ ตามแนวทาง/กิจกรรมที่กำหนดไว้ในโครงการ เพื่อบรรลุเป้าหมาย ตามตัวชี้วัดที่กำหนด และส่งเอกสาร หลักฐานให้สำนักงาน ก.ก. พิจารณาภายในระยะเวลาที่กำหนด ขั้นตอนที่ 5 เป็นขั้นตอนการจัดทำแบบสำรวจผลการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ โดยให้หน่วยงานจัดทำตามแบบฟอร์ม และนำเสนอต่อผู้บริหารหน่วยงาน/ส่วนราชการฯ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๕ - เทคโนโลยีสารสนเทศ
:๗.๕.๑ กรุงเทพมหานครให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส โดยประยุกต์%
:๗.๕.๑.๑ มีระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์สำหรับให้บริการประชาชน และ/หรือ มีการเชื่อม

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง