ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
1. เข้าร่วมประชุมตามตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จในการลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุถนน” ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 สำนักการจราจรและขนส่งจัดส่งบัญชีจุดเสี่ยงให้หน่วยงานสนับสนุนตัวชี้วัดฯ และหน่วยงานสนับสนุนจัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการ (Action Plan) โดยมีรายละเอียดโครงการ กิจกรรม เพื่อแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุในส่วนที่หน่วยงานรับผิดชอบจัดส่งให้สำนักการจราจรและขนส่งภายในวันที่ 15 มีนาคม 2566 2. จัดทำโครงการแก้ไขปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ (Black Spot) ในพื้นที่เขตคลองเตย และส่งให้สำนักการจราจรและขนส่งแล้วตามหนังสือสำนักงานเขตคลองเตย ที่ กท 7209/930 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 โดยมีเป้าหมายจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ (Black Spot) ในพื้นที่เขตคลองเตย จำนวน 7 จุด ได้แก่ 2.1 แยกอโศกมนตรี (ถนนสุขุมวิทตัดแยกอโศกมนตรี) 2.2 แยกเกษมราษฎร์ (ถนนพระราม 4 ตัดถนนเกษมราษฎร์) ใกล้โลตัสพระราม 4 2.3 ซอยท่านหญิงพวงรัตน์ประไพ (สุขุมวิท26) 2.4 แยกพระโขนง (ถนนสุขุมวิทตัดถนนพระราม 4) 2.5 แยกกล้วยน้ำไท (ถนนพระราม 4 ตัดถนนกล้วยน้ำไท) 2.6 ถนนพระราม 4 ช่วงคลองเตย 2.7 ถนนสุขุมวิทตัดถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท 77)
ดำเนินการแก้ไขจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ (Black Spot) เป้าหมายในพื้นที่เขตคลองเตย จำนวน 7 จุด ได้แก่ 2.1 แยกอโศกมนตรี (ถนนสุขุมวิทตัดแยกอโศกมนตรี) 2.2 แยกเกษมราษฎร์ (ถนนพระราม 4 ตัดถนนเกษมราษฎร์) ใกล้โลตัสพระราม 4 2.3 ซอยท่านหญิงพวงรัตน์ประไพ (สุขุมวิท26) 2.4 แยกพระโขนง (ถนนสุขุมวิทตัดถนนพระราม 4) 2.5 แยกกล้วยน้ำไท (ถนนพระราม 4 ตัดถนนกล้วยน้ำไท) 2.6 ถนนพระราม 4 ช่วงคลองเตย 2.7 ถนนสุขุมวิทตัดถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท 77)
- ผู้เสียชีวิต หมายถึง ผู้เสียชีวตจากอุบัติเหตุทาง ถนน ทั้งการเสียชีวิตที่จุดเกิดเหตุ ระหว่างนำส่งจนถึง โรงพยาบาล และที่โรงพยาบาล - อัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่อ ประชากรแสนคน หมายถึง จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ทางถนนหารด้วยจำนวนประชากรกลางปีตามทะเบียนราษฎร์กรุงเทพมหานครรายปีปัจจุบัน+ด้วยประชากรแฝง1 และคูณด้วย 100,000 คน - Heat Map คือ แผนที่แสดงความหนาแน่นของ จุดหรือบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุบนแผนที่ Longdo Map ซึ่งดูได้จาก https://traffic.longdo.com/bkk-accidents/ โดยข้อมูลใน Heat Map เก็บรวบรวมจาก มูลนิธิศูนย์ ข้อมูลจราจรอัจฉริยไทย (iTic) และบริษัทกลางคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด (ThaiRSC) - Risk Map คือ แผนที่แสดงจุดหรือบริเวณที่เกิด อุบัติเหตุ และมีผู้บาดเจ็บ (หมุดสีส้ม) ผู้เสียชีวิต (หมุดสี แดง) ดูได้จาก www.ThaiRSC.com ข้อมูลใน Risk Map เก็บรวบรวมจากบริษัทประกันภัย, สำนักงานตำรวจ แห่งชาติ, โรงพยาบาล และมูลนิธิช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่าง ๆ - จุดเสี่ยงอุบัติเหตุ หมายถึง จุดเกิดอุบัติเหตุที่มี ความถี่การเกิดไม่น้อยกว่า 3 ครั้งในรอบ 1 ปี โดยมี ผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตโดยพิจารณาคัดเลือก จุดเสี่ยงจาก ฐานข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุ กำหนดให้เป็นจุด ดำเนินการในปีงบประมาณ ที่ประเมิน ดังนี้ 1. จุดเสี่ยงอุบัติเหตุจาก Heat Map ใน 100 ลำดับแรกของคลัสเตอร์ตามความหนาแน่นของจุดเกิด อุบัติเหตุ โดยใช้ข้อมูลของ ThaiRSC และ iTIC ประกอบกัน (จำนวน 100 จุด) 2. จุดเสี่ยงอุบัติเหตุ ในสำนักงานเขตที่ไม่อยู่ใน 100 คลัสเตอร์ จำนวน 16 เขตโดยกำหนดจุดเสี่ยงจากฐานข้อมูล Risk map ของ ThaiRSC สำนักงานเขตละ 1 จุด (จำนวน 16 จุด) - จุดดำเนินการ หมายถึง จุดเสี่ยงอุบัติเหตุที่กำหนด ก่อนดำเนินการ แก้ไข/ปรับปรุง ในปีงบประมาณที่ ประเมิน - แผนปฏิบัติการ (Action Plan) หมายถึง แผนซึ่ง หน่วยงานจัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานหรือ กิจกรรมที่ส่งผลต่อความสำเร็จของตัวชี้วัด โดยบรรจุ รายละเอียดถึงกิจกรรมที่ต้องดำเนินการพร้อมระยะเวลาดำเนินการแต่ละขั้นตอน ทั้งนี้ให้หมายรวมถึง แผนที่ เกี่ยวข้อง เช่นแผนกวดขันวินัยจราจรและ/หรือ อำนวยการจราจรและผู้สัญจร เป็นต้น - บันทึกส่งมอบผลผลิต หมายถึง เอกสารที่กำหนดให้ หน่วยงานร่วมจะต้องดำเนินการส่งผลผลิตสนับสนุนตัวชี้วัดตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ - ผลผลิต หมายถึงหน่วยผลผลิตที่เกิดขึ้นจาก กระบวนการและกิจกรรมตามภารกิจของหน่วยงาน ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเพื่อสนับสนุนตัวชี้วัดนี้ - หน่วยงาน หมายรวมถึง ดังนี้ * หน่วยงานหลัก หมายถึง หน่วยงานสังกัด กรุงเทพมหานครที่เป็นเจ้าของตัวชี้วัด และมีอำนาจ ในการบริหารจัดการในภาพรวม * หน่วยงานรอง หมายถึง หน่วยงานสังกัด กรุงเทพมหานครที่มีภารกิจและตัวชี้วัดเฉพาะ ที่สนับสนุนการขับเคลื่อนตัวชี้วัดนี้ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ * หน่วยงานสนับสนุน หมายถึง หน่วยงาน สังกัดกรุงเทพมหานครที่ไม่ได้นำตัวชี้วัดนี้ ไปประเมินผลการปฏิบัติราชการแต่มีภารกิจสนับสนุนการดำเนินงานตัวชี้วัด * หน่วยงานอื่น หมายถึง หน่วยงานที่ไม่ได้ สังกัดกรุงเทพมหานคร แต่มีภารกิจที่ต้องสนับสนุน การขับเคลื่อนตัวชี้วัดนี้ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ เช่น ตำรวจ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท บริษัทกลาง มูลนิธิต่าง ๆ เป็นต้น - คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน หมายถึง คณะอนุกรรมการ/คณะทำงานที่ถูกจัดตั้งขึ้นขับเคลื่อนให้เป็นไปตามตัวชี้วัด กฎเกณฑ์โดยทั่วไป 1) หน่วยงานหลัก มีหน้าที่ในการบริหารจัดการ ภาพรวมของกระบวนการดำเนินการตามตัวชี้วัดและ ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบริหารจัดการสู่ความสำเร็จในตัวชี้วัดนี้ 2) หน่วยงานรอง และหน่วยงานอื่น จะต้องทำหน้าที่ ในการสนับสนุนตามขอบเขตอำนาจหน้าที่และภารกิจของ ตนเองเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามผลผลิตที่กำหนด ร่วมกัน กับหน่วยงานหลัก 3) หน่วยงานหลักและหน่วยงานรองระดับสำนัก ที่ต้องทำงานร่วมกับสำนักงานเขต จะต้องจัดส่ง เอกสารการมอบหมายงานให้สำนักการจราจรและขนส่ง และสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลเพื่อทราบ ภายในเดือน มกราคม 2566 4) สำนักงานเขต จะต้องจัดทำบันทึกได้รับมอบหมาย จากหน่วยงานระดับสำนัก ภารกิจของหน่วยงาน
วิธีการคำนวณ 1) สำนักการจราจรและขนส่ง สำนักการโยธา สำนัก เทศกิจ สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัด กรุงเทพมหานคร - วัดผลการดำเนินการเทียบกับเกณฑ์วัดผล ความสำเร็จของแต่ละหน่วยงาน 2) สำนักงานเขต - วัดผลจากร้อยละความสำเร็จในการดำเนินการ ตามภารกิจตามที่หน่วยงานหลัก/หน่วยงานรองระดับสำนักมอบหมายโดยคำนวณจาก จำนวนกิจกรรม ที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานหลักฯและรอง ดำเนินการสำเร็จหารด้วยจำนวนกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานทั้งหมดคูณด้วย 100 จากนั้นนำไปเทียบกับเกณฑ์วัดผล ความสำเร็จ 3) การปรับลดคะแนนในส่วนของการบริหารจัดการ ระหว่างหน่วยงานหลักและหน่วยงานรอง มีรายละเอียด ดังนี้ - ไม่เข้าร่วมกิจกรรมตามที่หน่วยงานหลักกำหนด เช่น ไม่เข้าร่วมประชุม ไม่เข้าร่วมสำรวจพื้นที่ - ไม่ดำเนินการจัดทำ/ปรับปรุงแผนปฏิบัติ การ/แผนงาน/บันทึกส่งมอบผลผลิต - ไม่ดำเนินการส่งรายงานผลการดำเนินงาน - ไม่ดำเนินการส่งรายงานสถิติจำนวน ผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน - จัดส่งแผนปฏิบัติการ/แผนงาน/บันทึกส่งมอบ ผลผลิต/รายงานไม่ตรงตามเวลาที่สำนักการจราจรและขนส่งกำหนดไว้ ทั้งนี้ให้สำนักการจราจรและขนส่งเป็นผู้ปรับลดคะแนนหน่วยงานรอง ข้อละไม่เกินร้อยละ ๕ ของคะแนนที่ได้รับ (หลังจากประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว)
วิธีเก็บข้อมูล/หลักฐาน สำนักการจราจรและขนส่ง 1) รายงานการประชุมตามข้อ 1.1.2 2) รายงานการประชุมคณะอนุกรรมการ/คณะทำงานตามข้อ 1.1.3 กรณีตั้งคณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน 3) แผนปฏิบัติการ (Action Plan) ในแก้ไข /ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ 4) แบบฟอร์มที่มอบหมายให้สำนักงานเขตดำเนินการ แก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงฯ (แบบฟอร์ม ปถ.1) 5) รายงานและหลักฐานที่แสดงถึงการปฏิบัติตาม แผนการ ปฏิบัติ (Action Plan) และเอกสารประกอบ ที่เกี่ยวข้อง 6) รายงานสรุปผลการดำเนินงานและผลผลิตของ หน่วยงานรอง หน่วยงานสนับสนุน และหน่วยงานอื่น 7) สถิติอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่จุดเสี่ยง ก่อน/หลัง การดำเนินการปรับปรุง/แก้ไข สำนักการโยธา 1) แผนปฏิบัติการ (Action Plan) ในส่วนที่รับผิดชอบ 2) หลักฐานที่แสดงถึงการปฏิบัติตามแผนการปฏิบัติ (Action Plan) และเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้อง 3) รายงานผลการปฏิบัติงานในภาพรวมที่แสดงถึงผลผลิต ของหน่วยงานร่วม หน่วยงานสนับสนุน และหน่วยงานอื่น สำนักเทศกิจ 1) แผนงาน/กิจกรรมการกวดขันวินัยจราจรและ/หรือ นวยความสะดวกด้านการจราจรและผู้สัญจร 2) เอกสารมอบหมายให้สำนักงานเขตดำเนินการกวดขัน วินัยจราจรและ/หรืออำนวยความสะดวกด้านการจราจร และผู้สัญจร (แบบฟอร์ม ปถ.1) 3) หลักฐานที่แสดงถึงการปฏิบัติตามแผนงาน/กิจกรรม การกวดขันวินัยจราจรและ/หรืออำนวยความสะดวกด้าน การจราจรและผู้สัญจรและเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้อง 4) รายงานผลการดำเนินงานกวดขันวินัยจราจรและ/ หรือ อำนวยความสะดวกด้านการจราจรและ 5) ผู้สัญจรในบริเวณ จุดเสี่ยงฯ ตามที่ได้รับมอบหมาย สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร 1) แผนปฏิบัติการในการประชาสัมพันธ์ในการลดอุบัติเหตุ โดยแสดงถึงเป้าหมายผลผลิต และวิธีการดำเนินการประชาสัมพันธ์ 2) รายงานผลการดำเนินงานการประชาสัมพันธ์ในการลดอุบัติเหตุ สำนักงานเขต 1) เอกสารที่แสดงถึงภารกิจที่ได้รับมอบหมายจาก หน่วยงานรองระดับสำนัก (แบบฟอร์ม ปถ.2) 2) หลักฐานที่แสดงถึงการปฏิบัติตามการมอบหมายจาก หน่วยงานรองระดับสำนัก เช่น เอกสาร ภาพถ่าย เป็นต้น 3) รายงานผลการดำเนินงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย จากหน่วยงานรองระดับสำนัก
:ยุทธศาสตร์ที่ ๑ –การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ |
:๑.๒ - ปลอดอุบัติเหตุ |
:๑.๒.๒ ลดอุบัติเหตุทางถนน% |
:๑.๒.๒.๒ การตรวจสอบสภาพถนนและปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย (Black Spot) |