ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
สำนักการระบายน้ำ ได้กำหนดจัดการประชุมตัวชี้วัด “ร้อยละความสำเร็จของคลองในพื้นที่กรุงเทพมหานครได้รับการปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้กับพื้นที่” ในวันที่ 27 มีนาคม 2566
1. ดำเนินการตรวจซ่อมบำรุงราวกันตกริมคลองพระโขนง ให้อยู่ในที่แข็งแรงปลอดภัย 2. ดำเนินการตรวจซ่อมบำรุงป้ายบอกสถานที่ ที่เป็นเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของพื้นที่ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ปลอดภัย 3. ดำเนินการจัดเก็บขยะแพลูกบวบ บริเวณคลองสาขา 5 คลอง 4. ดำเนินการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ไม่ทิ้งขยะลงคลอง และการบริหารจัดการขยะ 5. ดำเนินการปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ ริมคลองพระโขนง เพื่อปรับภูมิทัศน์ให้สวยงาม ร่มรื่น 6. ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้สถานประกอบการเกี่ยวกับการทำบ่อดักไขมัน
1. เข้าร่วมประชุมตัวชี้วัดตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด จำนวน 1 ครั้ง 2. จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองในส่วนภารกิจของสำนักงานเขต 3. ดำเนินการตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์และสถานที่ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ดังนี้ 1) ปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ จุดชมวิวทิวทัศน์/จุดเช็คอิน (Check in) ภายในชุมชนเกาะกลาง เขตคลองเตย 1 ครั้ง 2) บำรุงรักษาป้ายบอกสถานที่อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว บริเวณปากซอยสุขุมวิท 50 ปากซอยเสาวนีย์ และปากซอยสุขุมวิท 48/1 จำนวน 1 ครั้ง 3) สำรวจไฟฟ้าส่องสว่างริมคลองและในชุมชนเกาะกลางให้พร้อมใช้งาน จำนวน 1 ครั้ง 4) ปรับปรุงท่าน้ำให้มีสภาพสวยงามและแข็งแรง จำนวน 2 แห่ง 5) สำรวจและซ่อมแซมราวกันตกริมคลองให้อยู่ในสภาพที่แข็งแรงปลอดภัยแก่ประชาชน จำนวน 1 ครั้ง 6) จัดกิจกรรมปลูกและบำรุงรักษาต้นไม้ จำนวน 3 ครั้ง 7) คัดเลือกพื้นที่เพื่อสร้างอัตลักษณ์ที่โดดเด่น จำนวน 1 พื้นที่ ได้แก่ ชุมชนเกาะกลาง คือ อัตลักณ์ชุมชน (ชุมชนต้นแบบจัดการขยะครบวงจร) 4. ดำเนินการบริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบในพื้นที่ตามแนวคลองเพื่อไม่ให้ประชาชน ทิ้งขยะลง ดังนี้ 1) การกำหนดจุดทิ้งขยะ วิธีการโดยการแจกประกาศประชาสัมพันธ์กิจกรรมนัดทิ้ง นัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ โดยนัดหมายวันและเวลา ซึ่งสำนักงานเขตได้กำหนดจุดทิ้งขยะชิ้นใหญ่ให้กับประชาชนนำไปทิ้ง และติดตั้งถังขยะเพื่อเป็นจุดทิ้งขยะทั่วไปและขยะอันตรายภายในชุมชน จำนวน 1 จุด 2) การนัดทิ้ง-นัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ วิธีการโดย ให้ประชาชนนำสิ่งของเหลือใช้ ขยะชิ้นใหญ่ ขยะรีไซเคิลและขยะอันตราย ไปทิ้งที่จุดทิ้งขยะชิ้นใหญ่ตามที่สำนักงานเขตกำหนดและดำเนินการเข้าจัดเก็บตามวันและเวลาที่กำหนด จำนวน 1 จุด 3) การเก็บขนขยะ วิธีการโดย เจ้าหน้าที่เข้าจัดเก็บขยะตามจุดที่กำหนดบริเวณชุมชนริมคลองพระโขนง และเก็บขนใส่รถของสำนักงานเขตเพื่อนำไปทิ้งอย่างถูกวิธีต่อไป จำนวน 1 จุด 4) การตั้งจุด “ทิ้งจับปรับ” วิธีการโดย เจ้าหน้าที่เทศกิจดำเนินการตรวจตราความเรียบร้อย ความปลอดภัย รวมถึงการลักลอบทิ้งขยะลงคลอง บริเวณทางเดินริมคลองพระโขนง จำนวน 1 จุด 5. รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและสถานประกอบการในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามแนวคลอง ได้แก่ ชุมชนเกาะกลาง ชุมชนหมู่บ้านเปรมฤทัย ชุมชนริมคลองพระโขนง ชุมชนริมคลองวัดสะพาน โดยครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้ 1) ประชาสัมพันธ์คัดแยกขยะมูลฝอยตามแนวทาง “ไม่เทรวม” จำนวน 1 ครั้ง 2) ประชาสัมพันธ์และสาธิตการนำขยะเศษอาหารทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 1 ครั้ง 3) ประชาสัมพันธ์การนำสิ่งของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (Reuse and Recycle) จำนวน 1 ครั้ง 4) การสาธิตการทำน้ำหมักเพื่อการจัดการน้ำเสียชุมชน จำนวน 1 ครั้ง 5) การสาธิตการจัดทำถังดังไขมันเพื่อการกำจัดไขมันก่อนทิ้งลงท่อระบายน้ำ จำนวน 1 ครั้ง 6) การประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจในการเตรียมการจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสียและค่าธรรมเนียมการเก็บขนมูลฝอย จำนวน 1 ครั้ง 6. สร้างภาคีเครือข่ายและส่งเสริมกิจกรรมให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาคลอง ผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) จำนวน 1 เครือข่าย ได้แก่ คลองเตย News ผ่านระบบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) Face book มีสมาชิกเครือข่าย จำนวน 2,984 ราย
การปรับภูมิทัศน์คลอง หมายถึง การปรับภูมิทัศน์ของพื้นที่ตลอดแนวคลองเป้าหมายให้มีความสวยงาม สะอาด ปลอดภัยสอดคล้องกับเอกลักษณ์ของพื้นที่ และมีความโดดเด่นเป็นอัตลักษณ์ทั้งภูมิทัศน์ที่เป็นแหล่งธรรมชาติและสถานที่ที่ถูกสร้างขึ้นและบำรุงรักษาให้เกิดความยั่งยืน รวมถึงการพัฒนาต่อยอดเชิงพื้นที่หรือย่านที่สำคัญตามแนวคลอง เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ เอกลักษณ์ หมายถึง ลักษณะเด่นของท้องถิ่น /พื้นที่ที่แสดงให้เห็นความแตกต่างจากท้องถิ่นอื่น ขึ้นอยู่กับสภาพตามธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี เศรษฐกิจ และสังคม (เป็นสิ่งตายตัวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้) เช่น สภาพภูมิศาสตร์พืชพันธุ์ไม้ สัตว์ ภาษาถิ่น ประเพณีท้องถิ่นศิลปะหัตถกรรม อาหารการกิน เทคโนโลยี แฟชั่น ฯลฯ อัตลักษณ์ หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่โดดเด่นซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่รู้จักหรือจำได้ (สามารถสร้างใหม่หรือเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนา ให้ดีขึ้นได้) เช่น การประดับตกแต่งต่าง ๆ สร้างพื้นที่ย่าน ให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์สอดคล้องกับแต่ละพื้นที่โดยใช้แนวทางการพัฒนาในรูปแบบ Tactical Urbanism, Urban Renewal เป็นต้น
วิธีคำนวณ/วัดผลการดำเนินงาน/สูตรคำนวณ นับจากผลรวมของความสำเร็จการดำเนินงานตามภารกิจ ของทุกหน่วยงานตามภารกิจที่ 1 - 3 โดยแบ่งเป็น 1. ภารกิจส่วนที่ 1 คะแนนร้อยละ 40 2. ภารกิจส่วนที่ 2 คะแนนร้อยละ 10 3. ภารกิจส่วนที่ 3 คะแนนร้อยละ 50 รวม คะแนนร้อยละ 100
วิธีเก็บข้อมูล/หลักฐาน 1. แผนการปรับภูมิทัศน์คลองของกรุงเทพมหานคร 2. แผนปฏิบัติการปรับภูมิทัศน์คลองของ แต่ละหน่วยงาน 3. รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม 4. รายงานผลการดำเนินงานปรับ ภูมิทัศน์คลองของ กรุงเทพมหานคร 5. ผลสรุปคะแนนรายด้านและคะแนนภาพรวม 6. รายละเอียดและข้อเสนอการพัฒนาเพิ่มเติม ของแต่ละหน่วยงาน
:ยุทธศาสตร์ที่ ๔ –การเชื่อมโยงเมืองที่มีความคล่องตัวและระบบบริการสาธารณะแบบบูรณาการ |
:๔.๓ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีรูปแบบการจัดการภูมิทัศน์เมืองอย่างยั่งยืน |
:๔.๓.๑ กรุงเทพมหานครมีการปรับปรุงองค์ประกอบทางภูมิทัศน์เมืองและส่งเสริมอัตลักษณ์และทัศนียภาพในการรับร% |
:๔.๓.๑.๓ อนุรักษ์และฟื้นฟูย่าน (Districts) ตามผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะที่สอดคล้องกับผังเมืองรวม หรือพิจารณาเพิ่มเติมในอนาคตที่มีอัตลักษณ์และ พัฒนาพื้นที่ชุมชนอันมีความเป็นเอกลักษณ์ของในพื้นที่กรุงเทพมหานคร |