รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ความสำเร็จในการเสนอนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน : 5033-2030

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
60.00

0 / 0
3
70.00

0 / 0
4
100.00

0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

1. แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตคลองเตย ประกอบด้วยผู้แทนจากทุกส่วนราชการ โดยมีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต (สั่งราชการฝ่ายปกครอง) เป็นหัวหน้าคณะทำงาน 2. ให้คณะทำงานฯ จากทุกส่วนราชการเสนอแนวคิดการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตคลองเตย ส่วนราชการละ 1 นวัตกรรม ได้จำนวน 10 แนวคิด 3. รวบรวมแนวคิดจำนวน 10 แนวคิด มาเพื่อคัดเลือกนวัตกรรมที่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ก. กำหนด 4. คัดเลือกแนวคิดแล้ว จำนวน 1 แนวคิด และนำเสนอเป็นนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตคลองเตยในที่ประชุมผู้บริหารเขตเพื่อทราบ 5. นำแนวคิดที่ได้รับการคัดเลือกจำนวน 1 แนวคิด มาจัดทำรายละเอียดตามแบบนำเสนอโครงการในการพัฒนา นวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน 6. อยู่ระหว่างการพิจารณาโครงการฯ ของคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมกรุงเทพมหานคร

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

สำนักงานเขตคลองเตยได้ดำเนินการจัดทำโครงการพัฒนางานบริการเชิงรุกด้านการป้องกันภัยพิบัติ (Proactive Service Development of Disaster) และส่งให้สำนักงาน ก.ก. เรียบร้อยแล้ว ตามหนังสือสำนักงานเขตคลองเตย ที่ กท 7201/1935 ลงวันที่ 21 เมษายน 2566 โดยกำหนดจัดกิจกรรมภายในเดือนสิงหาคม 2566 ซึ่งการดำเนินงานโครงการแบ่งออกเป็น 6 กิจกรรม ดังนี้ 1. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน กำกับ ดูแลรับแจ้งเหตุ ผู้ควบคุมและสั่งการ พร้อมกับกำหนดขั้นตอนและขอบเขตอำนาจหน้าที่อย่างชัดเจน และประชุมเตรียมความพร้อมและแบ่งมอบภารกิจให้กับหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องตามคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานฯ 2. สร้างเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในพื้นที่เขตเพื่อบูรณาการการทำงานและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในชุมชนเป้าหมายกรณีเกิดเหตุภัยพิบัติ 3. สำรวจและนำข้อมูล ได้แก่ อุปกรณ์ดับเพลิง จุดรวมพล สถานที่ปลอดภัย รวมถึงเส้นทางการอพยพประชาชน ผู้ป่วยติดเตียงในชุมชนเป้าหมาย มาวิเคราะห์ เพื่อจัดทำแผนที่ในระบบ Google App เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปฏิบัติงานเชิงรุกของเจ้าหน้าที่ โดยมีชุมชนเป้าหมาย ได้แก่ ชุมชนล็อค 1-2-3 ชุมชนล็อค 4-5-6 และชุมชน 70 ไร่ 4. ฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยในชุมชนเป้าหมาย เช่น การนำแผนที่ในระบบ Google App ไปใช้ในการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ การฝึกซ้อมดับเพลิงขั้นต้น การฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น และดำเนินการเพิ่มเติมเกี่ยวกับการป้องกันการเกิดเหตุ เช่น การตรวจสอบสายไฟฟ้าและเสาไฟฟ้าเก่า รวมถึงการจัดทำป้ายเส้นทางหนีไฟ และป้ายขั้นตอนการใช้ถังดับเพลิงที่เป็นภาษาไทยและภาษาพม่า เป็นต้น 5. ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุประจำปี โดยการจำลองสถานการณ์กรณีเกิดเหตุอัคคีภัยหรือภัยพิบัติอื่นๆ 6. สรุปผลและรายงานผลให้ผู้บังคับบัญชาทราบ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

- สำนักงานเขตคลองเตยได้ดำเนินการจัดทำโครงการพัฒนางานบริการเชิงรุกด้านการป้องกันภัยพิบัติ (Proactive Service Development of Disaster) และส่งให้สำนักงาน ก.ก. เรียบร้อยแล้ว ตามหนังสือสำนักงานเขตคลองเตย ที่ กท 7201/1935ลงวันที่ 21 เมษายน 2566 โดยกำหนดจัดกิจกรรมภายในเดือนสิงหาคม 2566 ซึ่งการดำเนินงานโครงการแบ่งออกเป็น 6 กิจกรรม ดังนี้ 1. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน กำกับ ดูแลรับแจ้งเหตุ ผู้ควบคุมและสั่งการ พร้อมกับกำหนดขั้นตอนและขอบเขตอำนาจหน้าที่อย่างชัดเจน (คำสั่งสำนักงานเขตคลองเตย ที่ 248/2566 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2566) และจัดประชุมเตรียมความพร้อมและแบ่งมอบภารกิจให้กับหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องตามคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานฯ ในวันอังคารที่ 25 กรกฎาคม 2566 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 สำนักงานเขตคลองเตย 2. สร้างเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ โดยการสร้างแอพพลิเคชั่นไลน์ สำหรับเครือข่ายสังคมออนไลน์ จำนวน 1 เครือข่าย มีสมาชิกจำนวน 41 ราย 3. สำรวจและนำข้อมูล ได้แก่ อุปกรณ์ดับเพลิง จุดรวมพล สถานที่ปลอดภัยสำหรับการอพยพประชาชน ผู้ป่วยติดเตียง ในชุมชนเป้าหมายมาวิเคราะห์ เพื่อจัดทำแผนที่ในระบบ Google App เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปฏิบัติงานเชิงรุกของเจ้าหน้าที่ โดยมีชุมชนเป้าหมาย ได้แก่ ชุมชนคลองเตยล็อค 1-2-3 ชุมชนคลองเตยล็อค 4-5-6 และชุมชนหมู่บ้านพัฒนา 70 ไร่ จำนวน 1 แผนที่ 4. ฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยในชุมชนเป้าหมาย ได้แก่ ชุมชนคลองเตยล็อค 1-2-3 ดำเนินการวันที่ 5 สิงหาคม 2566 ชุมชนคลองเตยล็อค 4-5-6 ดำเนินการวันที่ 19 สิงหาคม 2566 และชุมชนหมู่บ้านพัฒนา 70 ไร่ ดำเนินการวันที่ 26 สิงหาคม 2566 5. ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุประจำปี โดยการจำลองสถานการณ์กรณีเกิดเหตุอัคคีภัย ในชุมชนเป้าหมาย ได้แก่ ชุมชนคลองเตยล็อค 1-2-3 ดำเนินการวันที่ 5 สิงหาคม 2566 ชุมชนคลองเตยล็อค 4-5-6 ดำเนินการวันที่ 19 สิงหาคม 2566 และชุมชนหมู่บ้านพัฒนา 70 ไร่ ดำเนินการวันที่ 26 สิงหาคม 2566 6. ดำเนินการจัดทำสรุปผลและรายงานผลให้ผู้บังคับบัญชาทราบ 7. ดำเนินการประเมินผลความพึงพอใจของประชาชนผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนดำเนินการ 2) ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงาน/วิทยากร 3) ด้านการอำนวยความสะดวก 4) ด้านคุณภาพการให้บริการ มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 512 คน และมีผลการประเมินระดับความพึงพอใจในภาพรวม มีค่าเฉลี่ย 4.51 อยู่ในระดับ ดีมาก คิดเป็นร้อย 90.24 โดยผลประเมินด้านกระบวนการ/ขั้นตอนดำเนินการ มีค่าเฉลี่ย 4.46 อยู่ในระดับ มาก คิดเป็นร้อยละ 89.28 ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงาน/วิทยากร มีค่าเฉลี่ย 4.54 อยู่ในระดับ ดีมาก คิดเป็นร้อยละ 90.87 ด้านการอำนวยความสะดวก มีค่าเฉลี่ย 4.47 อยู่ในระดับ มาก คิดเป็นร้อยละ 89.36 และด้านคุณภาพการให้บริการ มีค่าเฉลี่ย 4.57 อยู่ในระดับ ดีมาก คิดเป็นร้อยละ 91.45

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ตามที่ สกก. กำหนด ในคู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ตามที่ สกก. กำหนด ในคู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

ตามที่ สกก. กำหนด ในคู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****%
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง