รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

4.1 ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูล : 5034-0873

ค่าเป้าหมาย ฐานข้อมูล : 1

ผลงานที่ทำได้ ฐานข้อมูล : 0

ประเภทตัวชี้วัด :
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 2: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ฐานข้อมูล)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
100
100 / 100
2
0.00
100
100 / 100
3
1.00
0
0 / 0
4
0.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่ระหว่างขั้นตอนทบทวนสถานะข้อมูลที่จำเป็นต่อการพัฒนาเป็นฐานข้อมูล ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่นำไปประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายของผู้บริหาร โดยพิจารณาจากนโยบายและแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

-ได้จัดทำแผนพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงานและส่งให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล เรียบร้อยแล้ว

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

-ดำเนินการจัดเก็บและนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นฐานทั้ง 9 ด้านตามที่ สยป.กำหนด และส่งบันทึกเลขที่ กท 7301/4080 ลงวันที่ 29 พ.ค. 2563 เรื่อง ขอส่งเอกสารหน้าแรกของการจัดเก็บข้อมูลและนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่ในฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัด 4.1

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

-ดำเนินการอัพข้อมูลประจำเดือนและดำเนินการตามข้อกำหนดเรียบร้อย

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และได้มีการรวบรวมเก็บไว้ในรูปแบบต่างๆ ในสื่อต่างๆ ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ โดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยไม่ได้บังคับว่าข้อมูลทั้งหมดนี้จะต้องเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูล (Data file) เดียวกันหรือแยกเก็บหลายๆ แฟ้มข้อมูล (Data file) ความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูล หมายถึง การจัดการฐานข้อมูล (Database) โดยการนำเข้าข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว ทันสมัย และมีการแบ่งปันการใช้งานข้อมูล ตามแผนการพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงาน และเกิดประโยชน์ต่อกำรพัฒนำกำรปฏิบัติงำนตำมภำรกิจหลักของหน่วยงำน และภำพรวมของกรุงเทพมหำนคร

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

1. นำค่าคะแนนร้อยละความสำเร็จของแผนฯ ในหน่วยที่เป็นหลักสิบมาเทียบช่วงของเกณฑ์การให้คะแนนภาพรวม 2. นำค่าคะแนนร้อยละความสำเร็จของแผนฯ ในหน่วยที่เป็นหลักหน่วยมาหารด้วย 20 (ช่วงห่างในการปรับเกณฑ์การให้คะแนน) 3. นำค่าคะแนนที่ได้ตามข้อ 1 และ ข้อ 2 มารวมกัน เป็นระดับคะแนนที่ได้ของหน่วยงาน

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. แผนพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงานตามรูปแบบที่สำนักยุทธศาสตร์กำหนด 2. การนำเข้าข้อมูลในฐานข้อมูลของหน่วยงาน 3. การรายงานผลการดำเนินการพัฒนาฐานข้อมูลจากระบบติดตามและประเมินผลแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (Daily plans) และ BMA Monitor Application ซึ่งหน่วยงานผู้รับการประเมินต้องดำเนินการ ดังนี้ 3.1 มีการกำหนดโครงการ/กิจกรรมรองรับการดำเนินการพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงาน และรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามขั้นตอนของโครงการ/กิจกรรมที่กำหนด บันทึกเข้าสู่ระบบติดตามและประเมินผลแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (Daily plans) เป็นประจำทุกเดือน 3.2 รายงานผลตัวชี้วัดร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูลเข้าสู่ระบบติดตามและประเมินผลแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (Daily plans) อย่างต่อเนื่อง เป็นรายไตรมาส 3.3 ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด โครงการ/กิจกรรมของหน่วยงานที่รายงานเข้าสู่ระบบติดตามและประเมินผลแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (Daily plans) ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 ถือว่าเป็นข้อมูลผลดำเนินงานตามตัวชี้วัดร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูลที่สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงาน 4. กรณีระบบติดตามและประเมินผลแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (Daily plans) ขัดข้องไม่สามารถ เข้ารายงานความก้าวหน้าและผลการดำเนินการตามตัวชี้วัดโครงการ/ กิจกรรมได้ ขอให้หน่วยงานผู้รับการประเมินผลดำเนินการ ดังนี้ 4.1 ประสานเจ้าหน้าที่สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลทราบทันทีเพื่อให้ผู้รับการประเมินและผู้ประเมินรับทราบข้อมูลและมีหลักฐานที่ตรงกัน 4.2 คัดลอกหน้าจอช่วงที่ระบบขัดข้องเพื่อเป็นหลักฐาน และทำหนังสือรายงานผู้บริหารหน่วยงานทราบและสำเนาแจ้งสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล พร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง 4.3 รายงานผลการดำเนินงานของตัวชี้วัด โครงการ กิจกรรมของรอบที่มีการขัดข้องทันทีที่ระบบสามารถใช้งานได้

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๕ - เทคโนโลยีสารสนเทศ
:๗.๕.๑ กรุงเทพมหานครให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส โดยประยุกต์%
:๗.๕.๑.๒ มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด