รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละความสำเร็จในการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ : 5034-0936

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 25

ประเภทตัวชี้วัด :
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
25.00
100
100 / 100
2
25.00
100
100 / 100
3
25.00
100
100 / 100
4
25.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ดำเนินการตามขั้นตอนที่ 1 เรียบร้อยแล้ว 1.1 แต่งตั้งคณะทำงานกำกับข้อมูลดูแลข้อมูลระดับหน่วยงานและจัดทำแผนพัฒนาฐานข้อมูลหน่วยงาน 1.2 จัดทำบัญชีรายการข้อมูล 1.3 เสนอการพัฒนาฐานข้อมูลใหม่หรือปรับฐานข้อมูลที่มีอยู่เดิมให้มีขอบเขตการใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางขึ้น โดยสำนักงานเขตประเวศจัดทำข้อมูลเรื่อง ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนของกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตประเวศ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

จัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัล (Metadata) และจัดทำพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ดำเนินการสำเร็จถึงขั้นตอนที่ 4 การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ ทางสำนักงานเขตประเวศได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่ 4 การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน โดยนำข้อมูลตารางที่ 23 ข้อมูลศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน นำเข้าโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ของสำนักงานยุทธศาสตร์และประเมินผล และได้นำข้อมูลไปเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงานสำหรับผู้ที่สนใจ สามารถสืบค้นข้อมูลได้ที่ http://www.bangkoko.go.th/prawet

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ดำเนินการตามขั้นตอนที่ 5 การให้บริการหรือเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร และ/หรือหน่วยงานภายนอกด้วยระบบออนไลน์ และ/หรือมีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ โดยได้ดำเนินการให้บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลเปิดภาครัฐของกรุงเทพมหานคร http://data.bangkok.go.th และเว็บไซต์สำนักงานเขตประเวศ http://www.bangkok.go.th/prawet

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ข้อมูล หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริงหรือเรื่องอื่นใด ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใดๆ และไม่ว่าจะได้จัดทำไว้ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพถ่ายดาวเทียมฟิล์ม การบันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องมือตรวจวัด การสำรวจระยะไกล หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฏได้ ความสำเร็จในการพัฒนาฐานข้อมูล หมายถึง การพัฒนาและการจัดการฐานข้อมูล โดยการนำเข้าข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว ทันสมัย และมีการแบ่งปันการใช้งานข้อมูล ตามแผนการพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงานและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน และภาพรวมของกรุงเทพมหานคร โดยสอดคล้องกับมาตรฐานและกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ)แบ่งเป็น 2 ส่วน (ร้อยละ 100) ส่วนที่ 1 รักษาสถานภาพฐานข้อมูลของหน่วยงานที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ส่วนที่ 2 พัฒนาและจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีความสาคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ส่วนที่ 1 การรักษาสถานภาพฐานข้อมูลของหน่วยงานปี พ.ศ. 2563 คือ ความสมบูรณ์ของการนำเข้าข้อมูล และเชื่อมโยงระบบย่อยของหน่วยงาน 1.1 ความครบถ้วนและความถูกต้องในการนำเข้าข้อมูล 1.2 การนำเข้าข้อมูลในระบบภายในกาหนด ส่วนที่ 2 พัฒนาและจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการการพิจารณาให้คะแนนจะพิจารณาจากผลการดำเนินงานทั้งส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 รวมกัน

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. รักษาสถานะภาพฐานข้อมูลของหน่วยงานที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตรวจสอบ การนำเข้าข้อมูล ที่ถูกต้อง ครบถ้วน ข้อมูลเป็นปัจจุบันในระบบเดิมที่ดำเนินการในปีที่ผ่านมา ตามที่กำหนดในแผนพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงานตามที่ได้ตกลงกับคณะกรรมการกำกับฐานข้อมูลที่สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลกำหนด 2. การพัฒนาและจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการตรวจสอบจากแบบรายงานที่กำหนด และฐานข้อมูลที่หน่วยงานพัฒนาขึ้น 3. รายงานผลการดำเนินการตามตัวชี้วัดที่ 5.2 ซึ่งหน่วยงานรายงานความก้าวหน้าของตัวชี้วัดโครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนดาเนินการตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีระบบ การบริหารจัดการแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (BMA Digital Plans) และ BMA Monitor Application ต้องรายงานข้อมูลผลการดาเนินงานผ่านระบบการบริหารจัดการแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (BMA Digital Plans) ให้ถูกต้อง สมบูรณ์ และเป็นปัจจุบัน อย่างสม่ำเสมอตามรอบระยะเวลาที่สานักยุทธศาสตร์และประเมินผลกำหนด

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๕ - เทคโนโลยีสารสนเทศ
:๗.๕.๑ กรุงเทพมหานครให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส โดยประยุกต์%
:๗.๕.๑.๒ มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง