รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

พัฒนาและเชื่อมต่อโครงข่ายพื้นที่สีเขียวโครงข่ายคมนาคมประเภทถนน คลอง หรือพื้นที่รกร้างริมทาง ให้เกิดความร่มรื่น มีบรรยากาศที่ดีและปลอดภัย : 5034-984

ค่าเป้าหมาย แห่ง : 1

ผลงานที่ทำได้ แห่ง : 90

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(แห่ง)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
20.00

0 / 0
2
25.00

0 / 0
3
90.00

0 / 0
4
0.00

0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

การดำเนินการโครงการบำรุงรักษา ปรับปรุง และเพิ่มพื้นที่สีเขียว เดือนตุลาคม 2565 - มกราคม 2566 1.สำรวจพื้นที่เป้าหมายของโครงการ ได้แก่ 1.1 บริเวณที่ว่างถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 1.2 วงเวียนถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 30 1.3 ที่ว่างริมถนนคู่ขนานกาญจนาภิเษก 2.ประมาณการราคา 3.เสนอขออนุมัติโครงการ 4.อยู่ระหว่างรอการอนุมัติเงินประจำงวด 5.เตรียมและปรับปรุงพื้นที่ เพื่อรอการดำเนินการ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

การดำเนินการโครงการบำรุงรักษา ปรับปรุง และเพิ่มพื้นที่สีเขียว เดือนมกราคม-มีนาคม 2566 1.เตรียมและปรับปรุงพื้นที่ เพื่อรอการดำเนินการ 2.อยู่ระหว่างการจัดซื้อวัสดุตามโครงการฯ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ e-bidding ในขั้นตอนตรวจร่างสัญญา

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ดำเนินการปลูกต้นไม้และปรับปรุงพื้นที่ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวบริเวณที่ว่างริมทาง โดยจัดทำสวน 15 นาที จำนวน 4 จุด ได้แก่ 1.สวนแยกวัดแก้วพิทักษ์เจริญธรรม ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ชนิดของต้นไม้ที่ปลูก เช่น -ปีบ -จำปา -จำปีไทย -ชงโค -ราชพฤกษ์ -ตาลฟ้า -หมากนวล -หมากเหลือง -ปาล์มน้ำพุ -ปาล์มหางกระรอก 2.สวนซอยบารเมษฐ์ ถนนคู่ขนานกาญจนาภิเษก ชนิดของต้นไม้ที่ปลูก เช่น -ราชพฤกษ์ -ตะเบเหลือง -ไทรย้อย -จำปีไทย -ปาล์มกระรอก -จันผา -ไทรเกาหลี -ปาล์มหมากนวล -หมากเหลือง 3.บริเวณที่ว่างริมทางถนนกาญจนาภิเษก (ช่วงทางลงถนนกาญจนาภิเษกบรรจบถนนสุขาภิบาล 2) ชนิดต้นไม้ที่ปลูก เช่น -หมากเหลือง -เตยด่างเหลือง -พลับพลึง -กำแพงเงิน ปรับปรุงที่ว่างพื้นที่สีเขียว บริเวณที่ว่างริมทางซอยเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 30 จำนวน 3 จุด ได้แก่ 1.สวนเจ้าแม่กวนอิม ชนิดต้นไม้ที่ปลูก เช่น -หมากเหลือง -พุดศุภโชค 2.สวนวงเวียนจตุคามรามเทพ ชนิดต้นไม้ที่ปลูก เช่น -เตยด่างเหลือง 3.สวนวงเวียนพระพรหม -เทียนทอง

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

- พื้นที่สีเขียว หมายถึง พื้นที่สีเขียวที่กำหนดไว้ใน “ฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร” ประกอบด้วย 10 ประเภท แยกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ 1. พื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนสาธารณะ/สวนหย่อม ให้สำนักงานเขตดำเนินการตามเป้าหมายที่ตกลงกับสำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อมในแต่ละปี 2. พื้นที่สีเขียวที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบสวนสาธารณะ ซึ่งต้องดำเนินการสำรวจ รวบรวมเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 12 แห่ง/ปี กรณีข้อ 2 กรณีหากสำนักงานเขตได้รับการยกเว้นเนื่องจากไม่มีพื้นที่ตามที่กำหนดเหลือแล้วให้ใช้การรายงานผลการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขตรวม 4 ครั้ง/ปี (ธ.ค.,มี.ค.,มิ.ย.,ก.ย.) ตามแบบฟอร์มที่สำนักงานสวนกำหนดแทน - รายละเอียดพื้นที่สีเขียวแต่ละประเภท 1.พื้นที่สีเขียวที่เป็นสวน 1.1 ความหมาย คือพื้นที่ใด ๆ ในแต่ละพื้นที่เขตที่ไม่เคยถูกพัฒนาเป็นสวนหย่อม/สวนสาธารณะ (กำหนดตามนิยาม 7 ประเภท ของสำนักงานสวนสาธารณะ สสล.) มาก่อนซึ่ง สนข./สสณ. สสล.พัฒนาเป็นสวนสาธารณะ/สวนหย่อม ทั้งนี้ อาจเป็นพื้นที่ว่างเปล่า/เกาะกลางถนน/ริมทาง/ริมคลอง/ใต้ทางด่วน/แนวกำแพงอย่างต่อเนื่อง/ผนังตึก/รั้ว/สวนบนอาคารสูง ดาดฟ้าอาคาร (Green Roof) ฯลฯ สวนบนอาคารสูง/ดาดฟ้า นิยามตามที่ระบุไว้ในฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร 1.2 การพัฒนาพื้นที่ให้เป็นสวนต้องพัฒนาให้มีพันธุ์ไม้ปกคลุมขนาดตั้งแต่มากกว่าหรือเท่ากับ 2ตร.ม. ขึ้นไป โดยเน้นการปลูกไม้ถาวร อาจดำเนินการดังต่อไปนี้ 1.2.1 ปลูกพันธุ์ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม 1.2.2 จัดทำเป็นพื้นที่สวนสาธารณะ/สวนหย่อม 1.2.3 จัดทำสวนหย่อมในลักษณะสวนบนอาคารสูง (Green Roof) 1.2.4 จัดทำเป็นสวนตามแนวพื้นดินหรือพื้นที่สีเขียวขึ้นตามแนวดิ่ง 1.2.5 จัดทำเป็นสวนป่า หมายถึง การปลูกต้นไม้ในลักษณะเป็นพื้นที่ โดยมีทั้งไม้ระดับสูง กลาง ระยะปลูกระหว่างต้นเท่ากับ 4X4 เมตร ให้คิดเฉลี่ย 100 ต้นเป็นพื้นที่ 1 ไร่ 1.2.6 การปลูกไม้ยืนต้นในลักษณะเนื่องเป็นแนวยาว เช่นปลูกตามริมถนน ริมคลอง ริมทางเท้า เป็นต้น คิดพื้นที่โดยนำความกว้างของทรงพุ่มคูณความยาวของระยะทางที่ปลูก 1.3 การเพิ่มพื้นที่สีเขียวสามารถดำเนินการได้หลายลักษณะ กล่าวคือ 1.3.1 สำนักงานเขตเองดำเนินการในรูปแบบที่ใช้และไม่ใช้งบประมาณ 1.3.2 สนับสนุนหน่วยราชการอื่นๆ/บริษัท ห้างร้าน เอกชน หรือประชาชน ฯลฯ ให้เป็นผู้ดำเนินการในพื้นที่ของตนเอง 1.3.3 รวบรวมพื้นที่ซึ่งหน่วยงานอื่น บริษัท ห้างร้าน เอกชน วัด หมู่บ้านจัดสรร ฯลฯได้มีการดำเนินการจัดทำเป็นพื้นที่สวนตามนิยามของสวนสาธารณะ 7 ประเภทไว้แล้ว 1.4 สำนักงานเขตจัดทำทะเบียนพื้นที่สวนฯ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1.4.1 สวนซึ่งสำนักงานเขตดำเนินการเอง 1.4.2 สวนซึ่งดำเนินการโดยหน่วยงานอื่น 1.4.3 อื่น ๆ เช่น หมู่บ้านจัดสรร วัด บริษัท/ห้างร้าน ภาคเอกชน ประชาชน ฯลฯ 2.พื้นที่สีเขียวที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบสวนสาธารณะ 2.1 ความหมายคือ พื้นที่สีเขียวตามคำจำกัดความในแผนแม่บทพื้นที่สีเขียวของกทม. 9 ประเภท ซึ่งประกอบด้วย 2.1.1 สนามกีฬากลางแจ้งหมายถึงสนามกีฬากลางแจ้งที่มีขนาดพื้นที่มากกว่า 500ตร.ม.ขึ้นไป 2.1.2 สนามกอล์ฟ หมายถึง สนามกอล์ฟทุกแห่ง 2.1.3 แหล่งน้ำ หมายถึง สระน้ำ หนองน้ำ บึง ซึ่งมีน้ำท่วมขังนานกว่า 6 เดือนต่อปี ที่มีขนาดพื้นที่มากกว่า 500ตร.ม.ขึ้นไปทุกแห่ง 2.1.4 ที่ลุ่ม หมายถึงที่ลุ่มน้ำท่วมขังมีพืชขึ้นปกคลุม เช่นกกที่มีขนาดมากกว่า 500ตร.ม. ขึ้นไปทุกแห่ง 2.1.5 ที่ว่าง หมายถึงที่ว่างหรือที่โล่งที่มีขนาดมากกว่า 1 ไร่ พื้นที่โล่งหรือพื้นที่รกร้างหรือไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือไม่เข้าข่ายพื้นที่ประเภทใดและมีขนาดพื้นที่มากกว่า 500ตร.ม. 2.1.6 พื้นที่ไม้ยืนต้น หมายถึงพื้นที่มีกลุ่มไม้ยืนต้นขึ้นอยู่เป็นส่วนใหญ่ ขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 1 ไร่ขึ้นไป รวมทั้งสวนผลไม้ 2.1.7 พื้นที่เกษตรกรรม หมายถึงพื้นที่เกษตรกรรม เช่น นาข้าว นาหญ้า 2.1.8 พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หมายถึงพื้นที่บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 2.1.9 พื้นที่อื่นๆ หมายถึงพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวเพื่อการนันทนาการและส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเช่น ริมคลอง พื้นที่ใต้หรือข้างทางด่วนหรือทางพิเศษ เป็นต้น

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ดำเนินการเพิ่มพื้นที่สีเขียวตามเป้าหมายที่กำหนดร่วมกับสำนักสิ่งแวดล้อม

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1.ภาพถ่าย 2.รายงานที่เกี่ยวข้อง

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City
:๒.๒ - มีพื้นที่สาธารณะ พื้นที่สีเขียวกระจายทั่วทุกพื้นที่
:๒.๒.๑ กรุงเทพมหานครเป็นมหานครที่ร่มรื่นด้วยพรรณไม้ มีพื้นที่สีเขียวเพื่อการพักผ่อนเพียงพ%
:๒.๒.๑.๑ พัฒนาพื้นที่สีเขียวสำหรับพักผ่อนหย่อนใจและสร้างความร่มรื่นเพิ่มขึ้นกระจาย ทั่วในพื้นที่

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง