ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
อยู่ในหว่างการสำรวจพื้นที่เป้าหมาย และจากการสำรวจพบพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 10 จุดในใตรมาสแรก 1.ที่ว่างซอยจรัญฯ46ติดทิวริเวอร์เพลส จำนวน ขนาดพื้นที่ :ไร่:4 งาน:3 วา:23.00 2.ที่ว่างซอยพระปิ่นเกล้า2 ขนาดพื้นที่ ไร่:0 งาน:2 วา:32.00 3.ที่ว่างแยกบางพลัด(ฝั่งเต็นท์บุญส่ง) ขนาดพื้นที่ :ไร่:1 งาน:2 วา:25.00 4.ที่ว่างซอยจรัญฯ 71 ขนาดพื้นที่ :ไร่:1 งาน:3 วา:96.00 5.ที่ว่างริมคลองเตาอิฐ(ฝั่งซอยจรัญฯ89) ขนาดพื้นที่ :ไร่:1 งาน:3 วา:92.00 6.ที่ว่างซอยจรัญฯ84/1 ขนาดพื้นที่ :ไร่:1 งาน:0 วา:21.00 7. ที่ว่างปากซอยจรัญฯ 42 ขนาดพื้นที่ :ไร่:2 งาน:3 วา:46.00 8. ที่ว่างติดอู่ต่อเรือข้างสน.บวรมงคล ขนาดพื้นที่ :ไร่:1 งาน:3 วา:41.00 9. สวนส้มโอซอยจรัญ 91 ขนาดพื้นที่ :ไร่:1 งาน:1 วา:32.00 10. ที่ว่างซอยจรัญฯ 69 แยก 4 ขนาดพื้นที่ :ไร่:1 งาน:1 วา:27.00 1
อยู่ในหว่างการสำรวจพื้นที่เป้าหมาย และจากการสำรวจพบพื้นที่เป้าหมายเพิ่มอีก จำนวน 3 จุดจากในใตรมาสแรก 1. ที่ว่างซอยจรัญฯ 89 แยก 6 ขนาดพื้นที่ :ไร่:1 งาน:2 วา:93.00 2. ที่ว่างซอยจรัญฯ 89 แยก 12 ขนาดพื้นที่ :ไร่:1 งาน:2 วา:00.00 3. ที่ว่างซยอจรัญฯ 85 (สกุลชัย6) ขนาดพื้นที่ :ไร่:1 งาน:2 วา:73.00 รวมทั้งหมด 13 จุด
ได้ดำเนินการครบแล้วตั้งแต่ไตรมาสที่สอง
ได้ดำเนินการครบแล้วตั้งแต่ไตรมาสแรก
นิยาม - พื้นที่สีเขียวหมายถึง พื้นที่สีเขียวตามที่กำหนดไว้ใน “ฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร” ประกอบด้วย ๑๐ ประเภทแยกเป็น ๒ ประเภทหลัก คือ ๑. พื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนสาธารณะ/สวนหย่อม ให้สำนักงานเขตดำเนินการตามเป้าหมายที่ตกลงกับสำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อมในแต่ละปี ๒. พื้นที่สีเขียวที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบสวนสาธารณะซึ่งต้องดำเนินการสำรวจรวบรวมเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า ๑๒ แห่ง/ปี • กรณีข้อ ๒ กรณีหากสำนักงานเขตได้รับการยกเว้นเนื่องจากไม่มีพื้นที่ตามที่กำหนดเหลือแล้วให้ใช้การรายงานผลการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขตรวม ๔ ครั้ง/ปี (ธ.ค.,มี.ค.,มิ.ย.,ก.ย.) ตามแบบฟอร์มที่สำนักงานสวนกำหนดแทน - รายละเอียดพื้นที่สีเขียวแต่ละประเภท ๑. พื้นที่สีเขียวที่เป็นสวน ๑.๑ ความหมาย คือพื้นที่ใด ๆ ในแต่ละพื้นที่เขตที่ไม่เคยถูกพัฒนาเป็นสวนหย่อม/สวนสาธารณะ (กำหนดตามนิยาม ๗ ประเภท ของสำนักงานสวนสาธารณะ สสล.) มาก่อนซึ่ง สนข./สสณ. สสล.พัฒนาเป็นสวนสาธารณะ/สวนหย่อม ทั้งนี้อาจเป็นพื้นที่ว่างเปล่า/เกาะกลางถนน/ริมทาง/ริมคลอง/ใต้ทางด่วน/แนวกำแพงอย่างต่อเนื่อง/ผนังตึก/รั้ว/สวนบนอาคารสูง ดาดฟ้าอาคาร (Green Roof)ฯลฯ สวนบนอาคารสูง/ดาดฟ้าและสวนแนวดิ่ง นิยามตามที่ระบุไว้ในฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร ๑.๒ การพัฒนาพื้นที่ให้เป็นสวนต้องพัฒนาให้มีพันธุ์ไม้ปกคลุมขนาดตั้งแต่ มากกว่าหรือเท่ากับ ๒ ตร.ม. ขึ้นไป โดยเน้นการปลูกไม้ถาวร อาจดำเนินการดังต่อไปนี้ ๑.๒.๑ ปลูกพันธุ์ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ๑.๒.๒ จัดทำเป็นพื้นที่สวนสาธารณะ/สวนหย่อม ๑.๒.๓ จัดทำสวนหย่อมในลักษณะสวนบนอาคารสูง (Green Roof) ๑.๒.๔ จัดทำเป็นสวนตามแนวพื้นดินหรือพื้นที่สีเขียวขึ้นตามแนวดิ่ง ๑.๒.๕ จัดทำเป็นสวนป่า หมายถึง การปลูกต้นไม้ในลักษณะเป็นพื้นที่ โดยมีทั้งไม้ระดับสูง กลาง ระยะปลูกระหว่างต้นเท่ากับ ๔X๔ เมตร ให้คิดเฉลี่ย ๑๐๐ ต้นเป็นพื้นที่ ๑ ไร่ ๑.๒.๖ การปลูกไม้ยืนต้นในลักษณะต่อเนื่องเป็นแนวยาว เช่นปลูกตามริมถนน ริมคลอง ริมทางเท้า เป็นต้น คิดพื้นที่โดยนำความกว้างของทรงพุ่มคูณความยาวของระยะทางที่ปลูก ๑.๓ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวสำนักงานเขตรับผิดชอบและดำเนินการได้หลายลักษณะ กล่าวคือ ๑.๓.๑ สำนักงานเขตเองดำเนินการในรูปแบบที่ใช้และไม่ใช้งบประมาณ ๑.๓.๒ สนับสนุนหน่วยราชการอื่นๆ/บริษัท ห้างร้าน เอกชน หรือประชาชน ฯลฯ ให้เป็นผู้ดำเนินการในพื้นที่ของตนเอง ๑.๓.๓ รวบรวมพื้นที่ซึ่งหน่วยงานอื่น บริษัท ห้างร้าน เอกชน วัด หมู่บ้านจัดสรร ฯลฯ ได้มีการดำเนินการจัดทำเป็นพื้นที่สวนตามนิยามของสวนสาธารณะ ๗ ประเภทไว้แล้ว ๑.๔ สำนักงานเขตจัดทำทะเบียนพื้นที่สวนฯ รายงานเข้าสู่ระบบฯ แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ ๑.๔.๑ สวนซึ่งสำนักงานเขตดำเนินการเอง ๑.๔.๒ สวนซึ่งดำเนินการโดยหน่วยงานอื่น ๑.๔.๓ อื่น ๆ เช่น หมู่บ้านจัดสรร วัด บริษัท/ห้างร้าน ภาคเอกชน ประชาชน ฯลฯ ๒. พื้นที่สีเขียวที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบสวน ๒.๑ ความหมายคือ พื้นที่สีเขียวตามคำจำกัดความในแผนแม่บทพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๔๖ จำนวน ๙ ประเภท ซึ่งประกอบด้วย ๒.๑.๑ สนามกีฬากลางแจ้ง หมายถึงสนามกีฬากลางแจ้งที่มีขนาดพื้นที่มากกว่า ๕๐๐ ตร.ม.ขึ้นไป ๒.๑.๒ สนามกอล์ฟ หมายถึง สนามกอล์ฟทุกแห่ง ๒.๑.๓ แหล่งน้ำ หมายถึง สระน้ำ หนองน้ำ บึง ซึ่งมีน้ำท่วมขังนานกว่า ๖ เดือนต่อปี ที่มีขนาดพื้นที่มากกว่า ๕๐๐ ตร.ม.ขึ้นไปทุกแห่ง ๒.๑.๔ ที่ลุ่ม หมายถึงที่ลุ่มน้ำท่วมขังมีพืชขึ้นปกคลุม เช่นกกที่มีขนาดมากกว่า ๕๐๐ ตร.ม.ขึ้นไปทุกแห่ง ๒.๑.๕ ที่ว่าง หมายถึงที่ว่างหรือที่โล่งที่มีขนาดมากกว่า ๑ ไร่ พื้นที่โล่งหรือพื้นที่รกร้างหรือไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือไม่เข้าข่ายพื้นที่ประเภทใดและมีขนาดพื้นที่มากกว่า ๕๐๐ ตร.ม. ๒.๑.๖ พื้นที่ไม้ยืนต้น หมายถึงพื้นที่มีกลุ่มไม้ยืนต้นขึ้นอยู่เป็นส่วนใหญ่ ขนาดพื้นที่ตั้งแต่ ๑ ไร่ขึ้นไป รวมทั้งสวนผลไม้ ๒.๑.๗ พื้นที่เกษตรกรรม หมายถึงพื้นที่เกษตรกรรม เช่น นาข้าว นาหญ้า ๒.๑.๘ พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หมายถึงพื้นที่บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ๒.๑.๙ พื้นที่อื่นๆ หมายถึงพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวเพื่อการนันทนาการและส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น ริมคลอง พื้นที่ใต้หรือข้างทางด่วนหรือทางพิเศษ เป็นต้น
๑. กำหนดให้พื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนสาธารณะ/สวนหย่อม และพื้นที่สีเขียวที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบสวนสาธารณะคิดคะแนนประเภทละ ๑๐๐ % รวม ๒๐๐% ๒. เฉลี่ยผลลัพธ์ตามข้อ ๑ ให้เหลือร้อยละ ๑๐๐ ๓. นำผลที่ได้จากข้อ ๒ พิจารณาในส่วนความสมบูรณ์ของข้อมูลใน ๓ ส่วนคือ ๑) รายละเอียดพื้นที่สีเขียวแต่ละแห่ง ๒) ที่ตั้ง ๓) ภาพถ่าย ๔. หลังจากตัดคะแนนในส่วนความสมบูรณ์จะเป็นคะแนนที่ได้ของแต่ละสำนักงานเขต
๒.สำนักงานเขต (เจ้าภาพร่วม) รับผิดชอบ ๒.๑ สำรวจ รวบรวม และพัฒนาพื้นที่สีเขียวในส่วนที่รับผิดชอบตามรายละเอียดที่กำหนด ๒.๒ นำข้อมูลเข้าสู่ฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานครซึ่งใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดฯ
:ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City |
:๒.๒ - มีพื้นที่สาธารณะ พื้นที่สีเขียวกระจายทั่วทุกพื้นที่ |
:๒.๒.๑ กรุงเทพมหานครเป็นมหานครที่ร่มรื่นด้วยพรรณไม้ มีพื้นที่สีเขียวเพื่อการพักผ่อนเพียงพ% |
:๒.๒.๑.๒ อนุรักษ์ ฟื้นฟูและรักษาพื้นที่สีเขียวเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร |