รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ปี 2564 ๕. ระดับความสำเร็จของคลองในพื้นที่กรุงเทพมหานครได้รับการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ : 5035-896

ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5

ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 5

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ระดับ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
2.00
100
100 / 100
2
4.00
100
100 / 50
3
5.00
0
0 / 0
4
5.00
100
0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ลงพื้นที่สำรวจและจัดทำแผนงานเสนอโครงการให้ผอ.เขตลงนาม

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ร่วมพัฒนาโครงการจิตอาสาคลองบางพระครูตักขยะ/จัดเก็บวัชพืช/ทาสีราวกันตก/ตกแต่งกิ่งไม้และเทน้ำชีวภาพรักษาสภาพน้ำในคลอง

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ร่วมพัฒนาโครงการจิตอาสาคลองบางยี่ขันตักขยะ/จัดเก็บวัชพืช/ทาสีราวกันตก/ตกแต่งกิ่งไม้และเทน้ำชีวภาพรักษาสภาพน้ำในคลองดำเนินการแล้วเสร็จรักษาวงรอบต่อไป

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ร่วมพัฒนาโครงการจิตอาสาคลองบางยี่ขันและคลองบางพระครูตักขยะ/จัดเก็บวัชพืช/ทาสีราวกันตก/ตกแต่งกิ่งไม้และเทน้ำชีวภาพรักษาสภาพน้ำในคลองดำเนินการแล้วเสร็จรักษาวงรอบต่อไป/วาดรูปปรับภูมิทัศน์เรียบทางเดินคลองบางพระครู

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

การปรับปรุงภูมิทัศน์คลอง หมายถึง การปรับปรุง ภูมิทัศน์ตลอดแนวคลองให้มีความสวยงาม สะอาด และปลอดภัยสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ วิถีชีวิต วัฒนธรรมของชุมชน ทั้งภูมิทัศน์ที่เป็นแหล่งธรรมชาติ และสถานที่ที่ถูกสร้างขึ้น อัตลักษณ์ หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่โดดเด่น ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่รู้จัก หรือจำได้ คลอง หมายถึง คลองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นคลองเป้าหมายที่กำหนด ตามเอกสารแนบ ๑ ๑. สำนักการระบายน้ำ ๑.๑ ดำเนินการจัดประชุมร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผนการปรับปรุงภูมิทัศน์คลอง ในพื้นที่กรุงเทพมหานครของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม ๒๕๖๓ ๑.๒ ตรวจวัดคุณภาพน้ำในคลองสายหลัก ตามแผนที่กำหนด คลองละ ๒ จุด ทั้งก่อนและหลัง ดำเนินการกิจกรรมด้านการรักษาความสะอาด เพื่อหาค่าออกซิเจนละลายน้ำ (Dissolved Oxygen ) ค่าปริมาณความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ (Biochemical Oxygen Demand : BOD) และค่า แอมโมเนียไนโตรเจน (Ammonia Nitrogen : NH3N) ๑.๓ เก็บขยะในคลองและทางเดินริมคลอง และขัดล้างทำความสะอาดเขื่อนผนังกั้นน้ำ บริเวณคลองสายหลักของกรุงเทพมหานคร ๑.๔ ขุดลอกคู คลอง และเปิดทางน้ำไหล หรือดูดตะกอนดินเลน ๑.๕ ตรวจสอบและซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้าง ที่อยู่ในความรับผิดชอบตลอดแนวคลองให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือสภาพที่ดีขึ้น เช่น ราวกันตกริมคลอง สถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ ฯลฯ ๒. สำนักสิ่งแวดล้อมจัดทำแผนและพัฒนาพื้นที่สีเขียวตามแนวคลอง โดยมีรายละเอียดของโครงการ/กิจกรรม เพื่อดำเนินการ สร้างความร่มรื่นหรือตกแต่งไม้ดอกไม้ประดับ ให้มีความสวยงามและเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ ๓. สำนักการโยธาจัดทำแผนและพัฒนาพื้นที่ สำรวจ ตรวจสอบและซ่อมแซม สะพานข้ามคลองโดยจัดทำรายละเอียดโครงการ/ กิจกรรมในพื้นที่เป้าหมายเพื่อซ่อมแซม สิ่งปลูกสร้างตลอดแนวคลองที่อยู่ในความรับผิดชอบ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือสภาพที่ดีขึ้น ๔. สำนักการจราจรและขนส่งจัดทำแผนและพัฒนาพื้นที่ ตรวจสอบและซ่อมแซมท่า เทียบเรือและติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV โดยจัดทำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรมในพื้นที่ เป้าหมายเพื่อติดตั้ง กล้องวงจรปิด CCTV ติดตั้งป้ายบอกทาง ตรวจสอบและ ซ่อมแซมท่าเทียบเรือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือ สภาพที่ดีขึ้น ๕. สำนักเทศกิจจัดทำแผนการตรวจและพัฒนาพื้นที่ตลอดแนวคลอง เพื่อเสนอแนะโครงการ/กิจกรรมในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อใช้เป็นมาตรการดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อย ป้องกันการเกิดพื้นที่เสี่ยง อาชญากรรม ๖. สำนักงานเขต ๖.๑ จัดทำแผนและพัฒนาพื้นที่ตลอดแนวคลองตามความรับผิดชอบของเขตโดยจัดทำรายละเอียดโครงการ/ กิจกรรมในพื้นที่เป้าหมาย ๖.๒ บริหารจัดการขยะริมคลอง รณรงค์ให้ประชาชนดูแลรักษาแหล่งน้ำไม่ให้ทิ้งขยะและของเสียลงคลอง ผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น การเดินรณรงค์ ติดป้ายประชาสัมพันธ์ การกระจายเสียง ฯลฯ และให้ความรู้แก่ประชาชน เรื่องการคัด แยกขยะ การจัดทำถังหรือบ่อดักไขมันสำหรับบ้านเรือน ๖.๓ ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชน ในพื้นที่ ภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุง ภูมิทัศน์คลอง เช่น ท่าน้ำของตนเอง สะพานทางเดินข้ามคลองที่เชื่อมระหว่างบ้านกับชุมชน ฯลฯ ๖.๔ สำรวจและประสานการไฟฟ้านครหลวงเพื่อติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างให้พร้อมใช้งาน ๖.๕ สำรวจ ตรวจสอบและซ่อมแซมสะพาน ข้ามคลองในความรับผิดชอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน หรือสภาพที่ดีขึ้น ๖.๖ พัฒนาพื้นที่ริมคลองให้เป็นสถานที่พักผ่อน จุดชมวิว ทิวทัศน์ สร้างจุดเช็คอิน Check in ติดตั้งป้ายอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาเยือน และป้ายประดับต่าง ๆ ให้มีความสวยงามและเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ อย่างน้อยเขตละ ๑ จุดต่อคลอง สัดส่วนความสำเร็จในการบูรณาการการดำเนินการ ประกอบด้วย ๑. ความสำเร็จตามภารกิจเฉพาะหน่วยงาน หมายถึง ความสำเร็จซึ่งเป็นไปตามแผนฯ ที่หน่วยงานนำเสนอ คิดเป็นร้อยละ ๖๐ ๒. ความสำเร็จในภาพรวมหมายถึง ความสำเร็จซึ่งเกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามข้อ ๑. ของทุกหน่วยงาน และส่งผลให้สภาพของคลอง มีความสวยงาม สะอาด และปลอดภัย สอดคล้องกับ สภาพแวดล้อมและอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ โดยพิจารณาจากสภาพภูมิทัศน์ของคลองซึ่งเป็นไปตามที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ ๔๐ ทั้งนี้ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการกับคลองเป้าหมายตามเอกสารแนบ ๑ โดยจัดทำแผนการดำเนินงานตามภารกิจที่รับผิดชอบ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม ๒๕๖๓ และรายงานผลผ่านระบบ การบริหารจัดการแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (BMA digital plans)

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

นับจากผลรวมของความสำเร็จการดำเนินงาน ตามภารกิจเฉพาะหน่วยงาน และความสำเร็จของการ ดำเนินงานในภาพรวม

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

๑. เอกสารประกอบการดำเนินการ ๒. ระบบการบริหารจัดการแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (BMA digitalplans) หลักฐาน ๑. แผนการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๒. รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม ๓. ภาพถ่ายกิจกรรมก่อน - หลัง ดำเนินการ ฯลฯ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****%
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง