รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

5.2ร้อยละความสำเร็จในการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ : 5037-0946

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 2: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
20.00
100
100 / 100
2
40.00
100
100 / 100
3
70.00
100
100 / 100
4
100.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ดำเนินการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานกำกับดูแลข้อมูลระดับหน่วยงาน แผนพัฒนาฐานข้อมูลของสำนักงานเขตดินแดง และบัญชีรายการข้อมูล

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

นำข้อมูลเข้าสู่ระบบการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลตัวชี้วัด 5.2 ทั้ง 22 ข้อมูล (Data Catalog) และ จัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลและจัดทำพจนานุกรมข้อมูล

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

การปรับปรุงข้อมูลในระบบให้เป็นปัจจุบันและนำข้อมูลข้อที่ 23 นำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานโดยมีหลักฐานเป็นที่ประจักษ์

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ได้ดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะระบบออนไลน์บนเว็บไซต์ ระบบข้อมูลเปิดภาครัฐกรุงเทพมหานคร (URL : data.bangkok.go.th) และรวบรวมเอกสารแต่ละขั้นตอนที่ส่งไปแล้วเพื่อเตรียมตรวจประเมินราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

นิยาม - ข้อมูล หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริงหรือเรื่องอื่นใด ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใดๆ และไม่ว่าจะได้จัดทำไว้ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพถ่ายดาวเทียมฟิล์ม การบันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องมือตรวจวัด การสำรวจระยะไกล หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฏได้ - ชุดข้อมูล หมายความว่า การนำข้อมูลจากหลายแหล่งมารวบรวม เพื่อจัดเป็นชุดให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูล - บัญชีรายการข้อมูล หมายความว่า เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงาน - ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ โดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยไม่ได้บังคับว่าข้อมูลทั้งหมดนี้จะต้องเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูล (Data file) เดียวกันหรือแยกเก็บหลายๆ แฟ้มข้อมูล (Data file) - ค้ำอธิบายข้อมูลหรือเมทาดาตา (Metadata) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้อธิบายข้อมูล โดยระบุรายละเอียดแหล่งข้อมูล หรือคำอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ซึ่งจัดทำให้ผู้ใช้ข้อมูลทราบว่าข้อมูลมาจากแหล่งใด มีรูปแบบอย่างไร เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล และใช้ประโยชน์ในการจัดทำบัญชีรายการข้อมูล (Data Catalog)

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

วิธีคำนวณและเกณฑ์การให้คะแนน 1. เกณฑ์การให้คะแนน แนวทางการประเมินผลพิจารณาการดำเนินงานของหน่วยงาน แบ่งเป็น 2 ส่วนประกอบด้วย ส่วนที่ 1 การรักษาสถานภาพฐานข้อมูลของหน่วยงานปี พ.ศ. 2563 คือ ความสมบูรณ์ของการนำเข้าข้อมูล และเชื่อมโยงระบบย่อยของหน่วยงาน 1.1 ความครบถ้วนและความถูกต้องในการนำเข้าข้อมูล 1.2 การนำเข้าข้อมูลในระบบภายในกำหนด ส่วนที่ 2 พัฒนาและจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการการพิจารณาให้คะแนนจะพิจารณาจากผลการดำเนินงานทั้งส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 รวมกัน

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

เอกสาร/หลักฐาน สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลใช้ข้อมูลผลการดำเนินการตามตัวชี้วัดจากระบบการบริหารจัดการแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (BMA Digital Plans) และ BMA Monitor Application ในการ ประกอบการพิจารณาการประเมินผล โดยหน่วยงานผู้รับการประเมินต้องรายงานข้อมูลอย่างชัดเจน พร้อมทั้งตรวจเอกสารและหลักฐานที่ใช้ประกอบของโครงการ/กิจกรรม และตัวชี้วัดในการประเมินผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานปลายปีงบประมาณ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๕ - เทคโนโลยีสารสนเทศ
:๗.๕.๑ กรุงเทพมหานครให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส โดยประยุกต์%
:๗.๕.๑.๒ มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด