รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ความสำเร็จของการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวม : 5037-2029

ค่าเป้าหมาย ร้อยละความสำเร็จของการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวม : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละความสำเร็จของการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวม : 0

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละความสำเร็จของการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวม)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
25.00

0 / 0
2
50.00

0 / 0
3
0.00
100
100 / 100
4
0.00

0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ดำเนินการให้เป็นไปตามงบประมาณการเบิกจ่ายที่วางไว้

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

20/01/2566 : ให้ฝ่ายต่างๆดำเนินการตามแผนของงบประมาณที่วางไว้ กำลังดำเนินการในภาพรวมให้เป็นไปตามแผน 23/03/2566 : กำลังดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายเพื่อให้เป็นไปตามงบประมาณที่วางไว้

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1. ความสำเร็จของการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวม หมายถึง หน่วยงานสามารถ ดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รวม 4 ประเภทงบรายจ่าย ได้แก่ งบดำเนินงาน งบลงทุน งบเงินอุดหนุน และงบรายจ่ายอื่น และงบกลางทุกประเภทที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566 โดยไม่รวมงบประมาณรายจ่ายประจำปีประเภทงบบุคลากร งบกลาง ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบบุคลากร ได้แก่ รายการเงินช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้าง รายการเงินบำเหน็จลูกจ้าง รายการเงินสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากร รายการเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับ บำนาญของกรุงเทพมหานครและรายการเงินสำรองสำหรับจ่ายเป็นเงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม งบเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กันไว้เบิกเหลื่อมปีในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 2. จำนวนงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่เบิกจ่ายจริงสะสม ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566 หมายถึง ผลรวมของการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รวม 4 ประเภทงบรายจ่าย ได้แก่ งบดำเนินงาน งบลงทุน งบเงินอุดหนุน และงบรายจ่ายอื่น และงบกลางทุกประเภทที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566 โดยไม่รวมงบประมาณรายจ่ายประจำปี ประเภทงบบุคลากร งบกลาง ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบบุคลากร ได้แก่ รายการเงินช่วยเหลือข้าราชการ และลูกจ้าง รายการเงินบำเหน็จลูกจ้าง รายการเงินสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากร รายการเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร และรายการเงินสำรองสำหรับจ่ายเป็นเงินบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม งบเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กันไว้เบิกเหลื่อมปี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 3. งบประมาณรายจ่ายประจำปีหลังปรับโอน ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566 หมายถึง งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รวม 4 ประเภทงบรายจ่าย ได้แก่ งบดำเนินงาน งบลงทุน งบเงินอุดหนุน และงบรายจ่ายอื่น และงบกลางทุกประเภท ที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566 โดยไม่รวมงบประมาณรายจ่ายประจำปี ประเภทงบบุคลากร งบกลาง ที่เบิกจ่ายในลักษณะ งบบุคลากร ได้แก่ รายการเงินช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้าง รายการเงินบำเหน็จลูกจ้าง รายการเงินสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากร รายการเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร และรายการเงินสำรองสำหรับจ่ายเป็นเงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม งบเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กันไว้เบิกเหลื่อมปีในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

จำนวนงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่เบิกจ่ายจริงสะสม ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566 X 100 = ก% งบประมาณรายจ่ายประจำปีหลังปรับโอน ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566 * นำร้อยละความสำเร็จของการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวมที่ได้ (ก%) มาเทียบกับเกณฑ์การให้คะแนน

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. ข้อมูลจากตัวชี้วัดความสำเร็จของการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวม กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร องค์ประกอบที่ 5 : ศักยภาพในการดำเนินการของหน่วยงาน (Potential Base) ตัวชี้วัดที่ : 5.1 ความสำเร็จของการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวม 2. จำแนกกลุ่มข้อมูลของหน่วยงานผู้รับการประเมินและกำหนดค่าเป้าหมายของ แต่ละหน่วยงาน โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานของตัวชี้วัดความสำเร็จของการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวมของหน่วยงาน แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ 2.1 กลุ่มที่ 1 กลุ่มผลการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวม 3 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ถึง พ.ศ. 2565 เพิ่มขึ้นและลดลง และใช้เกณฑ์การให้คะแนนแต่ละระดับ ดังนี้ - ค่าคะแนนระดับ 1 ใช้ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวมที่ต่ำที่สุด - ค่าคะแนนระดับ 2 ใช้(ค่าคะแนนระดับ 1 + ค่าคะแนนระดับ 3) / 2 - ค่าคะแนนระดับ 3 ใช้ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวมจากค่าเฉลี่ย 3 ปี - ค่าคะแนนระดับ 4 และระดับ 5 ใช้+ Interval (ในกรณีที่ + Interval แล้ว ค่าคะแนนระดับ 5 เกินร้อยละ 100 ให้กำหนดค่าคะแนนของระดับ 5 เท่ากับ ร้อยละ 100 ส่งผลให้ค่าคะแนนระดับ 4 จะเท่ากับ (ค่าคะแนนระดับ 3 + ค่าคะแนนระดับ 5) / 2) 2.2 กลุ่มที่ 2 กลุ่มผลการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวม 3 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ถึง พ.ศ. 2565 เพิ่มขึ้น และใช้เกณฑ์การให้คะแนนแต่ละระดับ ดังนี้ - ค่าคะแนนระดับ 1 ใช้ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวมจากค่าเฉลี่ย 3 ปี - ค่าคะแนนระดับ 2 ใช้(ค่าคะแนนระดับ 1 + ค่าคะแนนระดับ 3) / 2 - ค่าคะแนนระดับ 3 ใช้ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวมที่ดีที่สุด - ค่าคะแนนระดับ 4 และระดับ 5 ใช้ + Interval (ในกรณีที่ + Interval แล้ว ค่าคะแนนระดับ 5 เกินร้อยละ 100 ให้กำหนดค่าคะแนนของระดับ 5 เท่ากับ ร้อยละ 100 ส่งผลให้ค่าคะแนนระดับ 4 จะเท่ากับ (ค่าคะแนนระดับ 3 + ค่าคะแนนระดับ 5) / 2) 2.3 กลุ่มที่ 3 กลุ่มผลการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวม 3 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ถึง พ.ศ. 2565 ลดลง และใช้เกณฑ์การให้คะแนนแต่ละระดับ ดังนี้ - ค่าคะแนนระดับ 1 ใช้ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวมที่ต่ำที่สุด - ค่าคะแนนระดับ 2 ใช้ (ค่าคะแนนระดับ 1 + ค่าคะแนนระดับ 3) / 2 - ค่าคะแนนระดับ 3 ใช้ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวมที่ดีที่สุด - ค่าคะแนนระดับ 4 และระดับ 5 ใช้ + Interval (ในกรณีที่ + Interval แล้ว ค่าคะแนนระดับ 5 เกินร้อยละ 100 ให้กำหนดค่าคะแนนของระดับ 5 เท่ากับ ร้อยละ 100 ส่งผลให้ค่าคะแนนระดับ 4 จะเท่ากับ (ค่าคะแนนระดับ 3 + ค่าคะแนนระดับ 5) / 2) 2.4 กลุ่มที่ 4 กลุ่มผลการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวม 3 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ถึง พ.ศ. 2565 เคยทำได้ร้อยละ 100และผลการดำเนินงานที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดี แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย ดังนี้ 2.4.1 กลุ่มผลการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวมเคยได้ร้อยละ 99.99 – 100 และมีปีที่ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 92 และใช้เกณฑ์การให้คะแนนแต่ละระดับ ดังนี้ - ค่าคะแนนระดับ 1 ใช้(ค่าคะแนนระดับ 2 – 2) - ค่าคะแนนระดับ 2 ใช้ (ค่าคะแนนระดับ 3 – 2) - ค่าคะแนนระดับ 3 ใช้ (ค่าคะแนนระดับ 4 – 2) - ค่าคะแนนระดับ 4 ใช้ (ค่าคะแนนระดับ 5 – 2) - ค่าคะแนนระดับ 5 ใช้ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวมที่ดีที่สุด (ร้อยละ 100) 2.4.2 กลุ่มผลการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวมเคยได้ร้อยละ 100 แต่ปีอื่นๆ ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวมไม่ถึงร้อยละ 92 และใช้เกณฑ์การให้คะแนนแต่ละระดับ ดังนี้ - ค่าคะแนนระดับ 1 ใช้ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวมที่ต่ำที่สุด - ค่าคะแนนระดับ 2 ใช้ (ค่าคะแนนระดับ 1 + ค่าคะแนนระดับ 3) / 2 - ค่าคะแนนระดับ 3 ใช้ (ค่าคะแนนระดับ 1 + ค่าคะแนนระดับ 5) / 2 - ค่าคะแนนระดับ 4 ใช้ (ค่าคะแนนระดับ 3 + ค่าคะแนนระดับ 5) / 2 - ค่าคะแนนระดับ 5 ใช้ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวมที่ดีที่สุด (ร้อยละ 100) หมายเหตุ Interval หมายถึง ผลต่างระหว่างค่าคะแนนระดับ 1 และระดับ 2

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ยุทธศาสตร์ที่ ๗ – การสร้างความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการมหานคร
:๗.๔ - การคลังและงบประมาณ
:๗.๔.๑ กรุงเทพมหานครสามารถรักษาวินัยทางการเงินการคลังทั้งในระยะสั้นและระยะยาว%
:๗.๔.๑.๑ ความสามารถในการรักษาวินัยทางการเงินการคลัง

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง