ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5
ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
-สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายและจัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ -จัดทำแผนปฏิบัติงานฯ และดำเนินการตามแผนปฏิบัติงาน -ดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานโครงการกรุงเทพเมืองอาหารปลอดภัย โดยตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหารของร้านอาหารในพื้นที่เขตสวนหลวงเป็นประจำทุกวัน -ส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี
ตรวจสอบสถานประกอบการต่างๆ เช่น ร้านอาหาร ตลาด ซุปเปอร์มาร์เก็ต มินิมาร์ท ตามเกณฑ์มาตรฐานอาหาร ปลอดภัย ผลการดำเนินการปรากฏดังนี้ 1. ร้านอาหาร 224 แห่ง ได้รับป้ายฯ 129 แห่ง 2. ตลาด 14 แห่ง ได้รับป้ายฯ 6 แห่ง 3. ซุปเปอร์มาร์เก็ต 6 แห่ง ได้รับป้ายฯ 2 แห่ง 4. มินิมาร์ท 101 แห่ง ได้รับป้ายฯ 47 แห่ง รวมจำนวนสถานประกอบการอาหาร 345 แห่ง จำนวนสถานประกอบการที่ได้รับป้ายฯ 184 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 53.33 (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564)
ตรวจสอบสถานประกอบการต่างๆ เช่น ร้านอาหาร ตลาด ซุปเปอร์มาร์เก็ต มินิมาร์ท ตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย ผลการดำเนินงานปรากฏดังนี้ 1. ร้านอาหาร 219 แห่ง ได้รับป้ายฯ 218 แห่ง 2. ตลาด 15 แห่ง ได้รับป้ายฯ 15 แห่ง 3. ซูเปอร์มาร์เก็ต 6 แห่ง ได้รับป้ายฯ 6 แห่ง 4. มินิมาร์ท 96 แห่ง ได้รับป้ายฯ 81 แห่ง รวมจำนวนสถานประกอบการอาหาร 336 แห่ง จำนวนสถานประกอบการที่ได้รับป้ายฯ 320 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 95.24 (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564)
ตรวจสอบสถานประกอบการต่างๆ เช่น ร้านอาหาร ตลาด ซุปเปอร์มาร์เก็ต มินิมาร์ท ตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย ผลการดำเนินงานปรากฏดังนี้ 1. ร้านอาหาร 218 แห่ง ได้รับป้ายฯ 218 แห่ง 2. ตลาด 15 แห่ง ได้รับป้ายฯ 15 แห่ง 3. ซุปเปอร์มาร์เก็ต 6 แห่ง ได้รับป้ายฯ 6 แห่ง 4. มินิมาร์ท 95 แห่ง ได้รับป้าย 95 แห่ง รวมสถานประกอบการอาหาร 334 แห่ง จำนวนสถานประกอบการที่ได้รับป้ายฯ 334 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 (ข้อมูล ณ วันที่ 13 กันยายน 2564)
1. สถานประกอบการอาหาร หมายถึง ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 50 เขต 2. เกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ดังนี้ 2.1 ด้านสุขลักษณะทางกายภาพ อาคารสถานที่ (Place) ต้องผ่านเกณฑ์ด้านความสะอาดและสุขลักษณะของสถานที่ตามประเภทของสถานประกอบการอาหาร และการควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายและบริโภคอาหาร 2.2 ด้านคุณภาพอาหาร (Food) ต้องผ่านเกณฑ์ด้านความปลอดภัย ได้แก่ (1) อาหารและวัตถุดิบ สุ่มตรวจด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test kit) ทางด้านเคมี อยู่ในเกณฑ์คุณภาพอาหารที่กำหนด ดังนี้ - ต้องไม่พบการปนเปื้อนของสารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว และสารกันรา - ต้องไม่พบสีสังเคราะห์ในอาหารที่ห้ามการใช้สี - ต้องไม่พบกรดแร่อิสระในน้ำส้มสายชู - ต้องไม่พบยาฆ่าแมลง และสารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหาร เกินเกณฑ์คุณภาพอาหารที่กำหนด (2) ตรวจความสะอาดของอาหารพร้อมบริโภค ภาชนะ อุปกรณ์ มือผู้สัมผัสอาหาร โดยใช้ชุดตรวจหาโคลิฟอร์ม แบคทีเรียเบื้องต้น (SI-2) พบการปนเปื้อนไม่เกินร้อยละ 10 ทั้งนี้ จำนวนตัวอย่างที่สุ่มตรวจให้เป็นไปตามแนวทางการเก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ของแต่ละประเภทสถานประกอบการอาหาร ดังนี้ (1) ร้านอาหาร - ขนาดพื้นที่มากกว่า 200 ตารางเมตร สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารภาชนะ และมือผู้สัมผัสอาหาร เพื่อตรวจวิเคราะห์ หาการปนเปื้อนทั้งทางด้านเคมี และจุลินทรีย์ รวมกันไม่น้อยกว่า ๑๐ ตัวอย่าง - ขนาดพื้นที่ไม่เกิน 200 ตารางเมตร สุ่มเก็บตัวอย่างอาหาร ภาชนะ และมือผู้สัมผัสอาหาร เพื่อตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนทั้งทางด้านเคมี และจุลินทรีย์ รวมกันไม่น้อยกว่า 5 ตัวอย่าง (2) แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี สุ่มเก็บตัวอย่างอาหาร ภาชนะ และมือผู้สัมผัสอาหาร เพื่อตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนทั้งทางด้านเคมี และจุลินทรีย์ รวมกันไม่น้อยกว่า ๕ ตัวอย่าง (ยกเว้น แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีบางประเภท ที่ไม่สามารถเก็บตัวอย่างได้ครบตามที่กำหนด) (3) ตลาด - จำนวนแผงค้าอาหารในตลาด น้อยกว่า ๑๐๐ แผง สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารจากแผงค้า จำนวนร้อยละ ๘๐ ของจำนวนแผงค้าอาหารทั้งหมด - จำนวนแผงค้าอาหารในตลาด ตั้งแต่ ๑๐๐ - ๒๐๐ แผง สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารจากแผงค้า จำนวนร้อยละ ๖๐ ของจำนวนแผงค้าอาหารทั้งหมด - จำนวนแผงค้าอาหารในตลาด มากกว่า ๒๐๐ แผง สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารจากแผงค้า จำนวนร้อยละ ๕๐ ของจำนวนแผงค้าอาหารทั้งหมด (4) ซูเปอร์มาร์เก็ต สุ่มเก็บตัวอย่างอาหาร ภาชนะ และมือผู้สัมผัสอาหาร เพื่อตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนทั้งทางด้านเคมี และจุลินทรีย์ รวมกันไม่น้อยกว่า 1๐ ตัวอย่าง (5) มินิมาร์ท สุ่มเก็บตัวอย่างอาหาร ภาชนะ และมือผู้สัมผัสอาหาร เพื่อตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนทั้งทางด้านเคมี และจุลินทรีย์ รวมกันไม่น้อยกว่า 5 ตัวอย่าง (ยกเว้น มินิมาร์ทที่จำหน่ายอาหารบางประเภท ที่ไม่สามารถเก็บตัวอย่างได้ครบตามที่กำหนด) กรณีพบการปนเปื้อน ให้เจ้าพนักงานออกคำแนะนำหรือออกคำสั่งให้ผู้ประกอบการอาหารดำเนินการปรับปรุงแก้ไข 2.3 ด้านบุคลากร ผู้สัมผัสอาหาร (Food Handler) ต้องผ่านการอบรมหรือการเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้านการสุขาภิบาลอาหาร 3. การบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Service) หมายถึง สถานประกอบการอาหารมีการให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อย่างน้อย 4 ข้อ โดยต้องผ่าน ข้อมาตรฐานหลักทุกข้อ ดังนี้ (1) ไม่มีเหตุรำคาญจากการประกอบกิจการ (ข้อมาตรฐานหลัก) (2) ไม่ใช้ภาชนะที่ทำจากโฟม (ข้อมาตรฐานหลัก) (3) เลือกใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือได้รับการรับรองมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ (4) มีการคัดแยกขยะ เช่น ขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไปและขยะอันตราย เป็นต้น (5) มีการนำขยะอาหาร วัตถุดิบเหลือใช้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ (6) เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด หรือการกำจัดแมลง สัตว์นำโรคที่มีวิธีหรือส่วนประกอบจากธรรมชาติ (7) มีนโยบายให้ลูกค้านำภาชนะมาใส่อาหารเองได้
1. จำนวนสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี คูณด้วย 100 หารด้วยจำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมด
1. โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 2. ข้อมูลจำนวนสถานประกอบการอาหารที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร และข้อมูลจำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3. ระบบสารสนเทศงานสุขาภิบาลอาหาร และ BMA Food Safety Application
:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
:๑.๖.๕ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีอาหารปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรค และสารปนเปื้อน% |
:๑.๖.๕.๑ ควบคุม กำกับ ดูแล ให้สถานประกอบการอาหาร เตรียม ประกอบปรุง และจำหน่ายอาหารถูกสุขลักษณะ |