ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5
ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
- รักษาสภาพคลองและรายงานการเก็บขยะตามแบบฟอร์มที่กำหนด ทุกวันที่ 20 ของทุกเดือน เริ่ม 20 กุมภาพันธ์ 2565 - ติดตั้งตะแกรง/แพลูกบวบดักขยะ วัชพืช บริเวณคลองสาขาที่เกี่ยวข้อง ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565 และรายงานทุกวันที่ 20 ของทุกเดือน จนถึงวันที่ 20 กันยายน 2565 - สำรวจจุดปล่อยน้ำเสีย ไขมัน และน้ำมัน ลงคลอง ภายในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565 และส่งรายงานให้สำนักระบายน้ำตามแบบฟอร์มที่กำหนด - สำรวจบริเวณที่มีสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำแนวคลองสาธารณะ ภายในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565 และส่งรายงานให้สำนักระบายน้ำตามแบบฟอร์มที่กำหนด - สำรวจและจัดทำผังตำแหน่งสะพานข้ามคลองพร้อมทั้งระบุค่าระดับและพิกัดตำแหน่ง ภายในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565 และส่งรายงานให้สำนักระบายน้ำตามแบบฟอร์มที่กำหนด - สำรวจและจัดทำผังทางเดินริมคลองพร้อมทั้งระบุ ความกว้างระยะทาง พิกัดตำแหน่ง และราวกันตก ภายในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565 และส่งรายงานให้สำนักระบายน้ำตามแบบฟอร์มที่กำหนด - สำรวจและจัดทำผังตำแหน่งเสาไฟฟ้าส่องสว่างริมคลองพร้อมทั้งระบุพิกัดตำแหน่ง ภายในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565 และส่งรายงานให้สำนักระบายน้ำตามแบบฟอร์มที่กำหนด - จัดทำแผนพัฒนาและเสนอโครงการในคลองประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 ส่งสำนักระบายน้ำรวบรวม ภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2565
- จัดทำโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองสายหลักในพื้นที่เขตสวนหลวง และคำสั่งคณะทำงานโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองสายหลักในพื้นที่เขตสวนหลวง เสนอผู้อำนวยการเขต - สำรวจคลองสายหลักในพื้นที่เขตสวนหลวงเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ - ดำเนินการตัดแต่งกิ่งไม้ ทำความสะอาดทางเท้าริมคลอง - ทำความสะอาดเก็บขยะในคลองและริมคลอง - ดำเนินปรับปรุงภูมิทัศน์ คลองเคล็ด ดังนี้ 1.สำรวจไฟฟ้าริมคลอง 2.สำรวจสะพานข้ามคลอง และซ่อมแซมสะพาน 3.เก็บขยะ วัชพืช ริมตลิ่ง 4.สำรวจทางเดิน 5.รณรงค์และประชาสัมพันธ์ห้ามทิ้งขยะลงในคลอง 6.สำรวจจุดปล่อยน้ำเสีย - ทำความสะอาดและจัดระเบียบพื้นที่ริมฝั่งคลอง ดังนี้ 1. เปิดทางไหลของน้ำ 2.กำจัดขยะวัชพืช 3.ตัดแต่งกิ่งไม้ริมคลอง
ดำเนินการตามแผนโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองสายหลักในพื้นที่เขตสวนหลวง - ทำความสะอาดและจัดระเบียบพื้นที่ริมฝั่งคลอง ดังนี้ 1. เปิดทางไหลของน้ำ 2. กำจัดขยะวัชพืช 3. ตัดแต่งกิ่งไม้ริมคลอง 4. ดำเนินการสำรวจไฟฟ้าส่องสว่างริมทางเดิน 5. สำรวจสะพานข้ามคลอง เรื่องการชำรุด 6. เก็บขยะ ตัดแต่งกิ่งไม้ 7. บำรุงรักษาจุดเช็คอิน 8. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์รณรงค์ไม่ทิ้งขยะ
ผลการดำเนินงานไตรมาส 3 - 4 1. ตรวจรักษาสภาพคลอง - พัฒนาจุดเช็คอิน (Check in) - บริหารการจัดเก็บขยะ - ตรวจสอบความเรียบร้อย ความปลอดภัย ซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้างตลอดแนวคลอง (ราวกันตก) ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน - ดูแลรักษาสภาพพื้นที่ รั้ว/กำแพง บริเวณริมฝั่งคลองให้- คงสภาพสวยงาม 2. คัดเลือกและพัฒนาพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสร้างอัตลักษณ์ ให้โดดเด่นโดยการตกแต่งประดับสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ บริเวณที่สาธารณะริมคลอง สะพานข้ามคลอง หรือพัฒนาในรูปแบบที่เหมาะ เช่น Tactical Urbanism 3. รณรงค์ให้ประชาชนดูแลรักษาแหล่งน้ำไม่ให้ทิ้งขยะและ ของเสียลงคลองผ่านช่องทางประชาสัมพันธ์ต่างๆ 4. ติดตั้งตะแกรงดักขยะบริเวณคลองสาขาที่เกี่ยวข้อง 5. บริหารจัดการภาพรวม กระบวนการขับเคลื่อนตัวชี้วัด โดยเข้าประชุมหารือร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไป ตามนิยามที่กำหนด และให้การสนับสนุนงานภาพรวมในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เป้าหมาย
การปรับปรุงภูมิทัศน์คลอง หมายถึง การปรับปรุงภูมิทัศน์ตลอดแนวคลองให้มีความสวยงาม สะอาด และปลอดภัยสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ วิถีชีวิต วัฒนธรรมของชุมชน ทั้งภูมิทัศน์ที่เป็นแหล่งธรรมชาติ และสถานที่ที่ถูกสร้างขึ้น อัตลักษณ์ หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่โดดเด่น ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่รู้จักหรือจำได้ คลอง หมายถึง คลองในพื้นที่กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นคลองเป้าหมายที่กำหนด
นับจากผลรวมของความสำเร็จการดำเนินงานตามภารกิจเฉพาะหน่วยงาน และความสำเร็จของการดำเนินงานในภาพรวม