รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน : 5038-6569

ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5

ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ระดับ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
100
100 / 100
2
45.00
100
100 / 100
3
80.00
100
100 / 100
4
100.00
100
0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

-

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

- เสนอแนวคิดนวัตกรรมฯ เพื่อทำการพิจารณาคัดเลือกแนวคิดที่จะพัฒนาจำนวน 3 แนวคิด - ดำเนินการพิจารณาคัดเลือกนวัตกรรมของหน่วยงาน จำนวน 3 แนวคิด และนำเสนอแนวคิดที่สำนักงานเขตจะดำเนินการ คือ ระบบสนับสนุนผู้บริหารแก้ไขปัญหา Traffy fondue ของสำนักงานเขตสวนหลวง - ดำเนินการนำเสนอโครงการพัฒนานวัตกรรมฯ ต่อคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2566 และได้รับการพิจารณาให้ผ่านแล้ว โดยอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเอกสารโครงการตามมติให้ปรับปรุงแก้ไขของคณะกรรมการฯ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

- ดำเนินการปรับแก้เอกสารโครงการตามมติของคณะกรรมการฯ พร้อมหัวหน้าหน่วยงานลงนามโครงการฯ และจัดส่งสำเนาโครงการให้ หัวหน้าสำนักงาน ก.ก. แล้วจำนวน 2 ชุด - มีการจัดประชุมเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเรื่อง Traffy fondue เพื่อซักซ้อมและทำความเข้าใจขั้นตอนและวิธีการในการดำเนินการระบบสนับสนุนผู้บริหารแก้ไขปัญหา Traffy fondue ของสำนักงานเขตสวนหลวง - เริ่มใช้งานนวัตกรรมโดยฝ่ายต่างๆ ที่ได้รับเรื่องร้องเรียน มีการบันทึกข้อมูลรายละเอียดการแก้ไข พร้อมภาพถ่ายก่อน และหลังดำเนินการผ่านทาง google sheets

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

- ทดสอบการใช้งาน และปรับรูปแบบการแสดงผล ให้ผู้ใช้งานสะดวกต่อการใช้งานและนำไปใช้ - นำเรื่องร้องเรียนจาก Traffy Fondue ปรับรูปแบบข้อมูล ลง google sheet เพื่อ แสดงผลผ่าน looker studio - นำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์และติดตามผลการดำเนินงานในที่ประชุมผู้บริหารเขต โดยรายงานจำนวนเรื่องร้องเรียนทั้งหมดของเดือนที่อยู่ ในสถานะกำลังดำเนินการ เท่ากับ จำนวนเรื่องที่อยู่ในสถานะกำลังดำเนินการ คูณ 100 หารด้วย จำนวนเรื่องทั้งหมดของเดือนนั้น โดยผลการดำเนินการ ดังนี้ - เมษายน 2566 เรื่องร้องเรียนทั้งหมด 398 / เรื่องร้องเรียนกำลังดำเนินการ 10 / คิดเป็นร้อยละ 2.51 - พฤษภาคม 2566 เรื่องร้องเรียนทั้งหมด 535 / เรื่องร้องเรียนกำลังดำเนินการ 23 / คิดเป็นร้อยละ 4.30 - มิถุนายน 2566 เรื่องร้องเรียนทั้งหมด 570 / เรื่องร้องเรียนกำลังดำเนินการ 37 / คิดเป็นร้อยละ 6.49 - กรกฎาคม 2566 เรื่องร้องเรียนทั้งหมด 753 / เรื่องร้องเรียนกำลังดำเนินการ 37 / คิดเป็นร้อยละ 4.91 - สิงหาคม 2566 เรื่องร้องเรียนทั้งหมด 546 / เรื่องร้องเรียนกำลังดำเนินการ 50 / คิดเป็นร้อยละ 9.16 - 15 กันยายน 2566 เรื่องร้องเรียนทั้งหมด 242 / เรื่องร้องเรียนกำลังดำเนินการ 35 / คิดเป็นร้อยละ 14.46 - ร้อยละความพึงพอใจของผู้ใช้นวัตกรรม โดยกลุ่มผู้ใช้นวัตกรรม คือ คณะผู้บริหารเขตสวนหลวง จำนวน 13 ราย และข้าราชการเขตสวนหลวงที่รับผิดชอบแก้ไขปัญหา Traffy fondue จำนวน 50 ราย โดยผลการประเมินความพึงพอใจ คิดเป็นร้อยละ 97

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

นวัตกรรม หมายถึง แนวคิด วิธี และรูปแบบใหม่ ๆ ในการจัดการองค์กร การดำเนินงาน และการให้บริการ อันเป็นผลมาจากการสร้าง พัฒนา เพิ่มพูน ต่อยอด หรือประยุกต์ใช้องค์ความรู้ และแนวปฏิบัติต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพประสิทธิผล หรือคุณภาพของการปฏิบัติงานของหน่วยงาน การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน หมายถึง การปรับปรุง แก้ไข และหรือเพิ่มความสามารถ หรือทักษะในการปฏิบัติงานของหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ผลการปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมาย รูปแบบการพัฒนานวัตกรรม : หน่วยงานพัฒนานวัตกรรมรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ดังนี้ - นวัตกรรมเชิงนโยบาย (Policy Innovation) เป็นการคิดริเริ่มนโยบาย กฎหมายและกฎใหม่ๆ ให้ทันสมัย เหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ รวมทั้งมีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร - นวัตกรรมการบริการ (Service Innovation) การพัฒนาหรือปรับปรุงรูปแบบการให้บริการด้วยการนำแนวคิด องค์ความรู้ ประสบการณ์ หรือเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงรูปแบบการให้บริการใหม่ๆ ที่สอดคล้อง และทันต่อความต้องการของประชาชน/ผู้รับบริการ - นวัตกรรมการบริหาร/องค์กร (Administrative or Organizational Innovation) การพัฒนาหรือ ปรับปรุงกระบวนงานใหม่ (New Process) รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพการบริหารงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การดำเนินงานของหน่วยงาน หรือกระบวนการจัดโครงสร้างหน่วยงานรูปแบบใหม่ ที่ส่งผลต่อระบบการทำงาน ขององค์กร อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุณภาพ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้รับบริการ แนวทางการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน : หน่วยงานที่รับการประเมินต้องจัดทำโครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานที่มีลักษณะ ดังนี้ 1. ต้องเป็นโครงการที่สอดคล้องกับนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยหน่วยงานส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานครจะต้องจัดทำข้อเสนอนวัตกรรมซึ่งเป็นภารกิจของหน่วยงาน/ ส่วนราชการฯ ที่สอดคล้องกับนโยบาย- 2 - 2. ต้องเป็นโครงการภายใต้รูปแบบการบูรณาการ และการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน โดยสามารถดำเนินการร่วมกับ 2.1 ส่วนราชการภายในหน่วยงาน หรือ 2.2 หน่วยงานอื่นในสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยจะต้องระบุนวัตกรรมที่ได้จากการดำเนินงานให้ชัดเจน กรณีนวัตกรรมที่ได้พัฒนาขึ้น สามารถใช้ร่วมกันได้ทั้งหมด ให้ระบุนวัตกรรมให้ตรงกัน ทั้ง 2 หน่วยงาน แต่หากทั้ง 2 หน่วยงาน มีการบูรณาการในการดำเนินงานร่วมกัน แต่สามารถพัฒนานวัตกรรมเฉพาะของหน่วยงานที่สามารถแยกส่วนออกจากกันได้อย่างชัดเจน ให้ระบุนวัตกรรมที่แตกต่างกันได้ โดยโครงการดังกล่าวต้องมีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และการใช้ทรัพยากรร่วมกัน หรือ 2.3 หน่วยงานอื่นภายนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร หรือองค์กรเอกชน หรือประชาชนทั่วไป โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบในการเสนอนวัตกรรมจะต้องเป็นผู้ดำเนินการเองในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 โดยต้องมีเอกสารการรับรองสัดส่วนการดำเนินงานจากหน่วยงานที่ร่วมดำเนินการด้วย 3. ต้องเป็นโครงการที่ไม่ใช่ภารกิจประจำของหน่วยงานที่จะต้องดำเนินการตามแผนการทำงานปกติอยู่แล้ว แต่หน่วยงานสามารถนำเสนอโครงการที่เป็นการปรับปรุง พัฒนา ต่อยอดจากภารกิจประจำ เพื่อให้เกิดกระบวนการทำงานใหม่ และหรือเกิดผลผลิตใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างชัดเจน ซึ่งหน่วยงานไม่เคยดำเนินการมาก่อน 4. ต้องเสนอนวัตกรรม (Output) ที่ไม่เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างแพร่หลายโดยทั่วไป เช่น แอปพลิเคชัน Line , Facebook , การเผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ เป็นต้น แต่สามารถใช้เทคโนโลยีพื้นฐานมาเป็นส่วนประกอบในการสร้างนวัตกรรมได้

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

พิจารณาจากรายละเอียดการประเมินเชิงประจักษ์ โดยกำหนดค่าคะแนนและวิธีวัดผลเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 : การค้นหาและคัดเลือกแนวคิด - การค้นหาแนวคิดและการคัดเลือกแนวคิด 10 คะแนน ส่วนที่ 2 : การกลั่นกรองนวัตกรรม - คณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมกรุงเทพมหานครพิจารณากลั่นกรองโครงการพัฒนานวัตกรรมฯ 30 คะแนน ส่วนที่ 3 : ผลการดำเนินการ 3.1 การพัฒนานวัตกรรมความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรม จำนวน 1 ชิ้น 20 คะแนน 3.2 การนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ 3.2.1 มีการนำนวัตกรรมไปใช้ภายในปีงบประมาณ 15 คะแนน 3.2.2 ประโยชน์ของนวัตกรรม - ความพึงพอใจของผู้ใช้นวัตกรรม 10 คะแนน - นวัตกรรมที่พัฒนาสามารถแก้ไขปัญหา/พัฒนางานได้จริง (ตัวชี้วัดผลลัพธ์) 15 คะแนน

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

ส่วนที่ 1 1. แบบเสนอแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมฯ (แบบฟอร์ม 1) โดยไม่จำกัดแนวคิด แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 3 แนวคิด 2. เอกสาร/หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการมีส่วนร่วมให้ได้มาซึ่งแนวคิดแต่ละแนวคิด เช่น รายงานการประชุม หลักฐานการระดมความคิดเห็น หรือการสร้างการมีส่วนร่วม ภาพถ่ายการจัดกิจกรรม เป็นต้น 3. แบบสรุปผลการคัดเลือกแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมฯ (แบบฟอร์ม 2) จำนวน 1 แนวคิด 4. เอกสาร/หลักฐานที่แสดงให้เห็นกระบวนการ หรือรูปแบบในการคัดเลือกแต่ละแนวคิด ส่วนที่ 2 1. แบบนำเสนอโครงการพัฒนานวัตกรรมฯ (แบบฟอร์ม 3) จำนวน 1 แนวคิด พร้อมแผนการดำเนินการ 2. โครงการพัฒนานวัตกรรมฯ (แบบฟอร์ม 4) ส่วนที่ 3 1. เอกสาร/หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าพัฒนานวัตกรรมที่เสนอได้สำเร็จ 2. เอกสาร/หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีการนำนวัตกรรมไปใช้ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้นวัตกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 3. เอกสาร หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าสามารถแก้ไขปัญหา/พัฒนางานได้จริง ตามตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่กำหนดไว้ในโครงการ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****%
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง