รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ตัวชี้วัดเจรจา (2) ระดับความสำเร็จของคลองในพื้นที่กรุงเทพมหานครได้รับการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ : 5042-2003

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
20.00
100
100 / 100
2
40.00
100
100 / 100
3
70.00
100
100 / 100
4
100.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

จัดทำโครงการ แผนปฏิบัติการ และแบบสรุปผลการสำรวจสภาพคลอง และดำเนินการจัดระเบียบทางเดินริมคลองด้วยความร่วมมือจากเครือข่ายตาสับปะรด คนรักษ์คลองสอง

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

1. จัดทำจุดเช็คอินภาพวาด 3 มิติ บริเวณอาคารบ้านมั่นคง ศาลเจ้าพ่อ สมบุญ 54 2. ติดตั้งป้าย QR Code บอกเส้นทางการท่องเที่ยวภายในชุมชนริมคลอง 3. ปรับปรุงความแข็งแรงและทาสีท่าเรือ 4.กำหนดจุดพักขยะริมคลอง นัดวันทิ้ง-นัดวันเก็บ และรณรงค์คัดแยกขยะให้แก่ชุมชนริมคลอง 5.สำรวจพื้นที่ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างเพิ่มเติม โดยประสานการไฟฟ้าบางเขนเพื่อประมาณการราคาการติดตั้ง และประสานสำนักการระบายน้ำหน่วยงานรับผิดชอบทางเดินสันเขื่อนเพื่อให้ติดตั้งไฟฟ้าเพิ่มเติม 6.สำรวจความแข็งแรงสะพานข้ามคลองและผิวสะพานครบทั้ง 7 แห่ง และขอยกเว้นตรวจสอบความสมบูรณ์แข็งแรงทางเดินริมคลอง 2 จุด ที่มีปัญหาบ้านรุกล้ำความยาว 41 เมตร 7. กิจกรรม "เครือข่ายตาสับปะรด คนรักษ์คลองสอง" โดยจัดเจ้าหน้าที่ร่วมกับเครือข่ายชุมชนริมคลองสอดส่องดูแลไม่ให้มีการรุกล้ำแนวเขื่อนไม่ตั้งวางสิ่งของทางเดินสันเขื่อนและไม่ทิ้งขยะ น้ำเสียลงคลอง

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ดำเนินกิจกรรมบริหารจัดการขยะ โดยกำหนดจุดพักขยะริมคลอง นัดวันทิ้ง-นัดวันเก็บ และรณรงค์คัดแยกขยะให้แก่ชุมชนริมคลอง

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ดำเนินกิจกรรมบริหารจัดการขยะ โดยกำหนดจุดพักขยะริมคลอง นัดวันทิ้ง-นัดวันเก็บ และรณรงค์คัดแยกขยะให้แก่ชุมชนริมคลอง

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

การปรับปรุงภูมิทัศน์คลอง หมายถึง การปรับปรุงภูมิทัศน์ตลอดแนวคลองให้มีความสวยงาม สะอาด และปลอดภัยสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ วิถีชีวิต วัฒนธรรมของชุมชน ทั้งภูมิทัศน์ที่เป็นแหล่งธรรมชาติ และสถานที่ที่ถูกสร้างขึ้น อัตลักษณ์ หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่โดดเด่น ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่รู้จักหรือจำได้ คลอง หมายถึง คลองในพื้นที่กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นคลองเป้าหมายที่กำหนด ตามเอกสารแนบ 1 การดำเนินการของแต่ละหน่วยงานประกอบด้วย 1. จัดทำแผนและพัฒนาพื้นที่ตลอดแนวคลองตามความรับผิดชอบของเขตโดยจัดทำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรมในพื้นที่เป้าหมาย 2. บริหารจัดการขยะริมคลอง รณรงค์ให้ประชาชนดูแลรักษาแหล่งน้ำไม่ให้ทิ้งขยะและของเสียลงคลองผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น การเดินรณรงค์ ติดป้ายประชาสัมพันธ์ การกระจายเสียง ฯลฯ และให้ความรู้แก่ประชาชน เรื่องการคัดแยกขยะ การจัดทำถังหรือบ่อดักไขมันสำหรับบ้านเรือน 3. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชนในพื้นที่ ภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุงภูมิทัศน์คลอง เช่น ท่าน้ำของตนเอง สะพานทางเดินข้ามคลองที่เชื่อมระหว่างบ้านกับชุมชน ฯลฯ 4. สำรวจและประสานการไฟฟ้านครหลวงเพื่อติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างให้พร้อมใช้งาน 5. สำรวจ ตรวจสอบและซ่อมแซมสะพานข้ามคลองในความรับผิดชอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือสภาพที่ดีขึ้น 6. พัฒนาพื้นที่ริมคลองให้เป็นสถานที่พักผ่อน จุดชมวิวทิวทัศน์ สร้างจุดเช็คอิน Check inติดตั้งป้ายอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาเยือน และป้ายประดับต่าง ๆ ให้มีความสวยงามและเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ อย่างน้อยเขตละ 1 จุดต่อคลอง

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

วิธีคำนวณ นับจากผลรวมของความสำเร็จการดำเนินงานตามภารกิจเฉพาะหน่วยงาน และความสำเร็จของการดำเนินงานในภาพรวม

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

วิธีเก็บข้อมูล/หลักฐาน 1. เอกสารประกอบการดำเนินการ 2. ระบบการบริหารจัดการแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (BMA digitalplans) หลักฐาน 1. แผนการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม 3. ภาพถ่ายกิจกรรมก่อน - หลัง ดำเนินการ ฯล

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City
:๒.๑ - ภูมิทัศน์สวยงาม
:๒.๑.๑ กรุงเทพมหานครจัดระเบียบเมือง ปรับปรุงทัศนียภาพของเมืองให้แลดูสะอาด ไม่มีสายไฟฟ้า%
:๒.๑.๑.๑ ตลาดหรือแผงค้าขายที่กีดขวางทางเท้า กีดขวางการจราจรและบดบังทัศนียภาพ ได้รับการจัดระเบียบได้ครบทุกกลุ่มเขต

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง