ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
อยู่ระหว่างจัดทำแผนปฏิบัติงานและมอบหมายเจ้าหน้าที่
25/01/2566 : ตรวจแหล่งกำเนิดมลพิษ ตามแผนที่กำหนด
27/03/2566 : ดำเนินการตรวจติดตาม เฝ้าระวัง และให้คำแนะนำเพื่อควบคุมและป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) จากแหล่งกำเนิดฝุ่นทั้ง 6 กลุ่ม 25/04/2566 : ดำเนินการตรวจติดตาม เฝ้าระวัง และให้คำแนะนำเพื่อควบคุมและป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) จากแหล่งกำเนิดฝุ่นทั้ง 6 กลุ่ม 25/05/2566 : ดำเนินการตรวจเฝ้าระวัง กำกับ ติดตาม สถานประกอบกิจการเป้าหมาย 23/06/2566 : ดำเนินการตรวจเฝ้าระวัง กำกับ ติดตาม สถานประกอบกิจการเป้าหมาย 24/07/2566 : ดำเนินการตรวจเฝ้าระวัง กำกับ ติดตาม สถานประกอบกิจการเป้าหมาย 24/08/2566 : ดำเนินการตรวจเฝ้าระวัง กำกับ ติดตาม สถานประกอบกิจการเป้าหมาย 25/09/2566 : ดำเนินการตรวจเฝ้าระวัง กำกับ ติดตาม สถานประกอบกิจการเป้าหมาย
- แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศหมายถึงแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองขนาดเล็กที่สำคัญของพื้นที่กรุงเทพมหานครประกอบด้วย 1.ยานพาหนะหมายถึงรถยนต์ตามพ.ร.บ.รถยนต์พ.ศ. 2522 และรถตามพ.ร.บ.ขนส่งทางบกพ.ศ. 2522 ที่ได้รับการสุ่มตรวจได้แก่รถยนต์ดีเซล รถสองแถวรถโดยสารประจำทาง และรถยนต์ราชการสังกัดสำนyกงานเขต 2.โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่หมายถึงโครงการก่อสร้างอาคารซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านอาคารการจัดสรรที่ดินและบริการชุมชนในกรุงเทพมหานครที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.กทม.) และได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและอยู่ระหว่างการก่อสร้างในปีงบประมาณพ.ศ. 2566 ทั้งนี้ รวมถึงโครงการก่อสร้างอาคารชุดหรือคอนโดมิเนียมห้างสรรพสินค้า และรถไฟฟ้า 3. สถานประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงอันอาจเป็นสาเหตุให้เกิดมลพิษทางอากาศและฝุ่นละอองขนาดเล็ก จากโรงงานฯ จำพวกที่ 1 และ 2 ในอำนาจความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานครตามพ.ร.บ.โรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ได้แก่ 3.1) การผลิตภาชนะด้วยโลหะหรือแร่การถลุงแร่ 3.2) การเลื่อยซอยไสไม้การผลิตสิ่งของเครื่องใช้จากไม้ 3.3) การผลิตสะสมแบ่งบรรจุธูป 3.4) การเผาถ่านหรือสะสมถ่าน 3.5) กิจการที่มีการใช้หม้อไอน้ำ (Boiler) ที่ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันเตาหรือดีเซล 3.6) การสะสมผสมซีเมนต์หินดินทรายวัสดุก่อสร้างรวมทั้งการขุดตักดูดโม่บดหรือย่อยด้วยเครื่องจักร 4.เตาเผาศพในวัดที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการสุสานและฌาปนสถานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 5.การเผาในที่โล่ง (ชุมชนริมทางเผาขยะและหาบเร่/แผงลอย) - การควบคุมหมายถึงการตรวจสอบหรือการกำกับดูแลแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศต่างๆ ให้มีการควบคุมมลพิษทางอากาศตามที่กรุงเทพมหานครกำหนด
จำนวนแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศที่ได้รับการควบคุมหารด้วยจำนวนแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศตามเป้าหมายที่กำหนดคูณด้วย 100
:ยุทธศาสตร์ที่ ๒ –การพัฒนาสิ่งแวดล้อมยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
:๒.๑ - คุณภาพสิ่งแวดล้อมยั่งยืน |
:๒.๑.๔ กรุงเทพมหานครส่งเสริมให้มีการจัดการคุณภาพอากาศให้ได้มาตรฐาน% |
:๒.๑.๔.๑ บริหารจัดการเชิงพื้นที่ให้คุณภาพอากาศได้มาตรฐาน |